-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสของพืชสกุลหม่อน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสของพืชสกุลหม่อน
การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสของพืชสกุลหม่อน ได้แก่ หม่อน Morus alba var. alba และ Morus alba var. rosa และต้นเรดมัลเบอรี (Morus rubra L.) ทำการทดสอบในเซลล์เยื่อบุผิวปอดของมนุษย์ (human embryonic pulmonary epithelial cells: L-132 cell) ที่ได้รับเชื้อไวรัสร่วมกับสารสกัดน้ำหรือสารสกัดไฮโดรแอลกอฮอล์ (1:1) จากส่วนใบหรือส่วนเปลือกต้น ความเข้มข้น 200 มคก./มล. พบว่าสารสกัดจากหม่อนมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส ลดค่า viral titer และลดการเปลี่ยนแปลงเซลล์จากการได้รับไวรัส (cytopathogenic effects) โดยสารสกัดไฮโดรแอลกอฮอล์จากส่วนใบหม่อน มีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 229E (human coronavirus: HCoV 229E) ที่ความเข้มข้น 200 มคก./มล. สามารถยับยั้งค่า viral titer ได้ 100% ในขณะที่สารสกัดไฮโดรแอลกอฮอล์จากส่วนเปลือกต้นเรดมัลเบอรีมีความสามารถในการยับยั้งเชื้อก่อโรคโปลิโอ (human poliovirus 1: PV1) ได้ดีที่สุดที่ความเข้มข้น 200 มคก./มล. สามารถยับยั้งค่า viral titer ได้ 15% และผลการทดสอบฤทธิ์ของ kuwanon G สารสำคัญที่พบในใบหม่อนต่อการยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 229E พบว่าที่ความเข้มข้น 10 มคก./มล. มีผลลดการเปลี่ยนแปลงเซลล์จากการได้รับเชื้อไวรัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบเพียง 2% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ 80.56% การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าหม่อนอาจมีประโยชน์ในการนำมาพัฒนาเป็นยาต้านไวรัสได้
Molecules 2020;25:1876-89.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของสารสกัดเมล็ดคำฝอยต่อสารที่บ่งชี้การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีสุขภาพดี
ผลของสารสกัดเมล็ดคำฝอยต่อสารที่บ่งชี้การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีสุขภาพดีการศึกษาในอาสาสมัครผู้ชายที่มีสุขภาพดี จำนวน 20 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 37.3 ± 6.8 ปี ดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากับ 23.7 ± 3.7 กก./ม2 อาสาสมัครทุกคนรับประทานสารสกัดเมล็ดคำฝอยชนิดแคปซูลวันละ 2 ครั้งๆ ละ 5 แคปซูล โดยให้รับประทานภายหลังอาหารเช้า - เย็น 30 นาที ภายใน 1 วัน จะได้รับสารสกัดเมล็ดคำฝอยทั้งหมด 2.1 กรัม (210 มก./แคปซูล) ซึ่งเทียบเท่ากับอนุพันธ์ของสาร serotonin 290 มก./วัน นาน 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุดพ...
ฤทธิ์ป้องกันพิษจากแคดเมี่ยมของน้ำมันมะกอกและน้ำมันจากเมล็ดขี้กาเทศ
ฤทธิ์ป้องกันพิษจากแคดเมี่ยมของน้ำมันมะกอกและน้ำมันจากเมล็ดขี้กาเทศการศึกษาผลของน้ำมันมะกอก (Olea europaea L.) และน้ำมันจากเมล็ดขี้กาเทศ (Citrullus colocynthis (L.) Schrad) ในการปกป้องความเป็นพิษของแคดเมี่ยม โดยป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกอก หรือน้ำมันขี้กาเทศ ความเข้มข้น 4% (4 ก./100 ก. น้ำหนักอาหาร) ร่วมกับการป้อนน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของแคดเมี่ยม 50 มก./น้ำดื่ม 1 ล. ติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าทั้งน้ำมันมะกอก และน้ำมันขี้กาเทศช่วยลดปริมาณเอนไซม์ alanine aminotransferase และ ...
สาร
สาร Licorice Flavonoid Oil จากชะเอม มีผลในการลดน้ำหนัก โดยลดมวลของไขมันในกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินLicorice Flavonoid Oil (LFO) จากชะเอม (Glycyrrhiza glabra ) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม polyphenol แบบ medium chain triglycerides (MCT) เคยมีรายงานถึงฤทธิ์ในการลดไขมันในร่างกายโดยขึ้นกับขนาดที่ใช้ ในการทดลองทางคลินิกครั้งนี้เป็นแบบ lacebo-controlled, double-blind เป็นเวลา 12 สัปดาห์ โดยในอาสาสมัครน้ำหนักเกิน ที่มีดัชนีมวลรวมของร่างกาย (BMI) 24-30 จำนวน 103 คน ได้รับ LFO ขนาด 300 mg/วัน พบว่าใ...
ผลของการกินสารสกัดแป๊ะก๊วยเป็นระยะเวลานานมีผลต่อตับและระบบไหลเวียนโลหิต
ผลของการกินสารสกัดแป๊ะก๊วยเป็นระยะเวลานานมีผลต่อตับและระบบไหลเวียนโลหิตเมื่อป้อนอาหารที่มีสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย 0.5% ให้กับหนูขาวที่มีอายุมากและมีความดันโลหิตสูง (Spontaneously Hypertensive Rat) เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า น้ำหนักตับต่อน้ำหนัก ตัว 100 กรัม เพิ่มขึ้นประมาณ 1.4 เท่า ขณะที่น้ำหนักตัวไม่เปลี่ยนแปลง ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับโปรตีนและอัลบูมินในเลือด,ระดับ AST (aspartate aminotransferase)ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง แต่ระดับ ALT (alanine aminotransferase) ในเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.2 เท่า, ...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดดอกทับทิม
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดดอกทับทิมเมื่อป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากดอกทับทิม ขนาด 400 มก./ก. แก่หนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin เป็นเวลา 45 วัน พบว่ามีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะของหนู ลด glycosylated hemoglobin เพิ่มระดับอินซูลินและฮีโมโกลบินรวมในเลือด สารสกัดยังมีผลเพิ่มระดับเอนไซม์ที่สลายกลูโคส คือ hexokinase, glucose-6-phosphate dehydrogenase และระดับไกลโคเจนในตับ แต่จะลดระดับเอนไซม์ที่สร้างกลูโคส คือ glucose-6-phosphatase และ glycogen phosphorylase นอกจากนี้ยังมี...
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของทางเดินหายใจของสารฟลาโวนอยด์จากเปลือกรากของหม่อน
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของทางเดินหายใจของสารฟลาโวนอยด์จากเปลือกรากของหม่อนเปลือกรากของหม่อนถูกนำมาใช้ทางการแพทย์พื้นบ้านในการยับยั้งการอักเสบ โดยเฉพาะใช้ในการรักษาอาการอักเสบของปอด เมื่อทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของฟลาโวนอยด์จากเปลือกรากของหม่อนในการยับยั้งการอักเสบของปอดเพื่อนำมาใช้ในการรักษาอาการอักเสบของทางเดินหายใจในทางคลินิค โดยทำการทดสอบในหนูเม้าส์ที่ทางเดินหายใจถูกกระตุ้นให้อักเสบด้วย lipopolysaccharide ทำการวัดระดับการสร้างโมเลกุลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในเซลล์เยื่อบุของปอดและแมคโครฟ...
ฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัดมะรุม
ฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัดมะรุมการศึกษาฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัด 80% เอทานอลจากใบ, เมล็ด และฝักมะรุม และสารที่แยกได้สารสกัด ได้แก่ ethyl-(EH-chromen-4-one; quercetin; kaempferol;β-sitosterol-3-O-glucoside; oleic acid; glucomoringin; 2,3,4-trihydroxybenzaldehyde และ stigmasterol ความเข้มข้น 7.81, 15.62 และ 31.25 มคก./มล. โดยทดสอบในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของหนู (RBL-2H3) ทำการประเมินผลต้านการแพ้ทั้งในระยะต้น (early phase) ซึ่งประเมินจากการยับยั้งการหลั่งของเอนไซม์ β-hexosaminidase และฮีสต...
ฤทธิ์ปกป้องตับจากภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการดื่มสุราของสารสกัดจากกระเทียม
ฤทธิ์ปกป้องตับจากภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการดื่มสุราของสารสกัดจากกระเทียมศึกษาฤทธิ์ปกป้องตับจากภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการดื่มสุราของสารสกัด S-allylmercaptocysteine (SAMC) จากกระเทียม โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศเมียจำนวน 28 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 7 ตัว) กลุ่มที่ 1 ให้เป็นกลุ่มควบคุม เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยอาหารที่มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง (ประกอบด้วยน้ำมันปลา 30%) เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ กลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารปกติ และฉีดสารสกั...
สารต้านเชื้อราชนิดใหม่จากใบ
สารต้านเชื้อราชนิดใหม่จากใบ Piper hispidum เมื่อแยกสารสกัด dichloromethane ของใบ Piper hispidum ได้สาร pyrrolidine amide ชนิดใหม่ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อรา Cladosporium sphaerospermumJ Nat Prod 1998; 61: 637-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...