-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
การศึกษาทางคลินิกผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่งต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมัน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
การศึกษาทางคลินิกผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่งต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมัน
การศึกษาผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่ง (Pisidium guajava L.; guava) ต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมันบนใบหน้า (anti sebum) โดยคัดเลือกสูตรโทนเนอร์พื้นฐานที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากการประเมินความชอบ (preference test) ด้วยค่าความพึงพอใจ 83.20 ± 1.85% มาพัฒนาเป็นตำรับโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมสารสกัดใบฝรั่ง 3% 4.5% และ 6% พบว่าผลิตภัณฑ์มีความคงตัวดีและไม่ก่ออาการระคายเคืองในอาสาสมัคร และการศึกษาทางคลินิก (split face, randomized, single blind placebo controlled) ถึงประสิทธิภาพของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่ง 6% ในอาสาสมัครจำนวน 21 คน ทั้งหญิงและชาย อายุ 20-35 ปี ให้ใช้โทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่งบริเวณใบหน้าและจมูกด้านหนึ่ง 2 ครั้ง/วัน ช่วงเช้าและเย็น เปรียบเทียบกับอีกด้านหนึ่ง แล้วประเมินผลต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมันในวันที่ 7, 14 และ 28 ของการทดสอบด้วยวิธี Sebutape® พบว่าโทนเนอร์ใบฝรั่งมีผลลดความมันบริเวณใบหน้า (13.10±3.67%) และบริเวณจมูก (21.43 ± 3.21%) ให้ผลดีกว่าโทนเนอร์ที่ไม่มีส่วนผสมของใบฝรั่ง โดยผลต่อบริเวณจมูกให้ผลตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของการทดสอบ (10.72± 3.51%) จากผลการทดสอบของการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้โทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของใบฝรั่งมีผลต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมันได้ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
J Cosmet Dermatol. 2019;18(6):1737-41.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
การยับยั้งเมลานินของดีปลี
การยับยั้งเมลานินของดีปลี สาร piperlonguminine จากสารสกัดผลดีปลีด้วยเมทานอล จะยั้บยั้งการเกิด เมลานินในเซลล์ meloanoma B16 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดเมลามิน a-melanocyte-stimulating hormone ความเข้มข้นของสาร 25, 12.5, 6.3 และ 3.1 ไมโครโมล ยับยั้งการเกิดเมลานินได้ 85.1 ฑ 4.9, 62.1 ฑ 6.1, 36.4 ฑ 4.6 และ 18.4 ฑ 5.1% ค่า IC50 = 9.6 ไมโครโมล ซึ่งให้ผลในการยับยั้งมากกว่า kojic acid (IC50 = 44.6 ไมโครโมล) ประมาณ 5 เท่า กลไกการออกฤทธิ์ของ piperlonguminine จะไปยับยั้งการสังเคราะห์เอนไซม์ tyrosinase ...
ผลของหัวผักกาดแดง
ผลของหัวผักกาดแดง (Beet root) ต่อเม็ดเลือดขาว (Neutrophils) จากผู้ที่มีภาวะอ้วนเม็ดเลือดขาวที่ได้มาจากผู้ที่มีภาวะอ้วนมีการสร้างสารอนุมูลอิสระ (ROS, reactive oxygen species) สูงกว่าเม็ดเลือดขาวจากคนปกติ ซึ่ง ROS ที่เกิดขึ้นนี้มีผลทำให้เซลล์ถูกทำลาย และทำให้ระดับของเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของร่างกายลดลง ส่งผลให้เกิดความผิดปรกติต่างๆ เช่น การอักเสบภายในร่างกาย จากการทดลองพบว่าผลิตภัณฑ์จากหัวผักกาดแดงไม่ว่าจะอยู่ในรูปหัวผักกาดแดงแผ่น หรือน้ำคั้น สามารถยับยั้งการเกิด Neutrophils oxidation m...
ผลของดอกกระเจี๊ยบต่อระดับไขมัน
ผลของดอกกระเจี๊ยบต่อระดับไขมัน อินซูลินในเลือด ในผู้ป่วยเมตาบอลิกซินโดรมการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย (double blind randomized controlled trial) ในผู้ป่วยกลุมอาการทางเมตาบอลิก หรือเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) จำนวน 40 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานผงของดอกกระเจี๊ยบแดง ขนาด 500 มก วันละ 1 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ ส่วนอีกกลุ่มให้รับประทานยาหลอก ในขนาดที่เท่ากัน และทำการวัดระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) ...
ส่วนประกอบและฤทธิ์ของสารสกัดลำต้นใต้ดินว่านพระฉิม
ส่วนประกอบและฤทธิ์ของสารสกัดลำต้นใต้ดินว่านพระฉิม การแยกสารสกัดลำต้นใต้ดินว่านพระฉิม (Euphorbia sessiliflora Roxb.) ได้สาร diterpene ชนิดใหม่คือ ent-12-hydroxy-12 [R]-abieta-8(14), 13(15)-dien-16, 12-olide ร่วมกับสารที่เคยพบแล้ว 3 กลุ่มคือ ent-abietadienosides, cycloartane triterpene และ ellagic acid-Beta-D-glucopyranoside เมื่อทำการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพพบว่าสาร ent-11Alpha-hydroxyabieta-8(14),13(15)-dien-16, 12Alpha-olide แสดงฤทธิ์ยับย...
เมล็ดกาแฟคั่วที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระชนิดละลายในไขมัน
เมล็ดกาแฟคั่วที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระชนิดละลายในไขมัน และ Chlorogenic acid lactones ช่วยปกป้องเซลล์สมองได้ดีกว่าเมล็ดกาแฟดิบการทดลองในหลอดทดลองพบว่าในเมล็ดกาแฟดิบ เมล็ดกาแฟคั่ว ทั้งแบบปกติและแบบสกัดคาเฟอีนนั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งชนิดละลายในน้ำและละลายในไขมัน โดยพบว่าเมล็ดกาแฟคั่วจะพบสารต้านอนุมูลอิสระชนิดละลายในไขมันมากกว่าเมล็ดกาแฟดิบถึง 30 เท่า ในการทดสอบฤทธิ์ป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ พบว่าการให้กาแฟทั้งที่มีและไม่มีคาเฟอีนแก่เซลล์สมองก่อนได้รับไฮโดรเจนเปอร์รอก...
ผลของสาร
ผลของสาร catechins จากชาเขียวต่อตับที่ผิดปกติจากการได้รับอาหารซึ่งเหนี่ยวนำให้หลอดเลือดแข็งตัวในหนูการทดสอบผลของสารในกลุ่ม catechins (GTC) ซึ่งมีสาร epigallocatechin gallate (EGCG) เป็นสารสำคัญจากชาเขียว (Camellia sinensis ) ในหนูแรทที่มีภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและตับผิดปกติจากการได้รับอาหารที่เหนี่ยวนำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว (atherogenic diet) เป็นเวลา 30 วัน ซึ่งทำให้หนูมีระดับค่าเฉลี่ยของสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น catalase, superoxide dismutase, glutathione peroxidase, glutathione-S-transferas...
ผลการรับประทานโสมแดงต่อภาวะความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผลการรับประทานโสมแดงต่อภาวะความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาผลของการรับประทานโสมแดงต่อความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในอาสาสมัครหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปี จำนวน 72 คน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม (กลุ่มละ 36 คน) กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานแคปซูลโสมแดง 500 มก. (ประกอบด้วยสารสกัด ginsenosides 10 มก.) ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มที่สองให้รับประทานยาหลอก (กลุ่มควบคุม) เมื่อครบ 12 สัปดาห์ทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวัดค่าชีวเคมีในเลือดที่...
ผลของมะกอกเปอร์เซียต่อฮอร์โมนเพศในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผลของมะกอกเปอร์เซียต่อฮอร์โมนเพศในหญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาแบบ double-blind randomized placebo-controlled trial ในอาสาสมัครเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน (menopause women) จำนวน 58 คน สุ่มแบ่งกลุ่มให้รับประทานผงแห้งจากผลมะกอกเปอร์เซีย (Elaeagnus angustifolia L.) ขนาด 15 ก./วัน หรือยาหลอก เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ผลจากการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศ ได้แก่ estradiol, progesterone, testosterone, follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) ไม่พบความแตกต่างของระดับฮอร์โมนทั้งก่อนและหลังการรับปร...
การศึกษาฤทธิ์ยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับจันทลีลาต่อการจับกลุ่มของเกร็ดเลือด
การศึกษาฤทธิ์ยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับจันทลีลาต่อการจับกลุ่มของเกร็ดเลือดการศึกษาวิจัยทางคลินิกโดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการได้รับยาในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 24 คน โดยเจาะเลือดเพื่อวัดระดับการจับกลุ่มของเกร็ดเลือดเป็นพื้นฐานก่อนการศึกษา สองสัปดาห์ต่อมา ให้อาสาสมัครรับประทานยาเม็ดอายุรเวทศิริราชตำรับจันทลีลา 750 มก./ครั้ง (เม็ดละ 250 มก. จำนวน 3 เม็ด) ทุก 8 ชม. 3 ครั้งติดต่อกัน แล้วเจาะเลือดเพื่อวัดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดที่เวลา 8 ชม. ภายหลังการรับประทานยาครั้งแรกด้วยเครื่องมือ aggregome...