Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ลดอาการเมาค้างของสารสกัดจากส่วนใบของลูกใต้ใบ

การศึกษาผลของสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบของต้นลูกใต้ใบ (Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn.) ในการป้องกันความเครียดออกซิเดชั่นและอาการเมาค้าง โดยทำการศึกษาแบบสุ่มไขว้สลับ (randomized placebo-controlled, crossover study) ในอาสาสมัคร 15 คน แบ่งกลุ่มให้รับประทานสารสกัดเอทานอลมาตรฐานจากส่วนใบของลูกใต้ใบ (PHYLLPROTM) วันละ 750 มก. เป็นเวลา 10 วัน ก่อนทำการทดสอบด้วยการให้ดื่มแอลกออฮล์ (วิสกี้) จนกว่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูงถึง 0.12% จากการตรวจสอบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดหลังการดื่ม 12 ชั่วโมง ไม่พบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากส่วนใบลูกใต้ใบ ในขณะที่กลุ่มยาหลอกยังคงพบระดับแอลกอฮฮล์ 0.05% เมื่อประเมินความรุนแรงอาการเมาค้าง (Hangover Severity Score: HSS) หลังการดื่ม 10 ชั่วโมง พบว่ากลุ่มสารสกัดจากส่วนใบลูกใต้ใบมีความรุนแรงของอาการเมาค้าง ได้แก่ อาการคลื่นเหียน ปวดศีรษะ ไม่อยากอาหาร อาการสั่น ท้องเสีย และเวียนศีรษะลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม รวมถึงลดอาการอ่อนแรงและความตึงเครียดของกล้ามเนื้อหลังการดื่มเมื่อประเมินด้วยแบบทดสอบคุณภาพชีวิต Profile-of-Mood-Scores (POMs) นอกจากนี้สารสกัดจากส่วนใบของลูกใต้ใบยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยลดระดับสารก่อการอักเสบ interleukin-8 (IL-8) และ IL-10 และปรับปรุงภูมิคุ้มกันของร่างกายผ่านการเพิ่ม IL-12p70 อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงไม่พบผลกระทบต่อระดับเอนไซม์ในตับ และไม่พบรายงานอาการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรับประทาน การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเอทานอลมาตรฐานจากส่วนใบของลูกใต้ใบสามารถใช้บรรเทาอาการเมาค้าง ป้องกันการอักเสบและการทำงานของตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้

Pharm Biol 2019;57(1):145

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1109

ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทของสารสำคัญจากฮอพส์
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทของสารสำคัญจากฮอพส์การทดสอบฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทของสาร xanthohumol (Xn) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม polyphenol chalcone จากฮอพส์ (Humulus lupulus L.) ในเซลล์เนื้องอกของหนูแรทชนิด PC12 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษด้วยสภาวะออกซิเดชั่น (oxidative-stress) จากการทดลองพบว่าสาร Xn มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และทำให้ยีนที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องเซลล์ (phase II cytoprotective genes) เช่น glutathione, heme oxygenase, NAD(P)H:quinone oxidoreductase, thioredoxin, และ thioredoxin reductas เพิ...

119

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของสารสกัดฝักคูน
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของสารสกัดฝักคูน การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดฝักคูนซึ่งได้จากวิธีชงในหนูถีบจักรพบว่า ขนาดที่ให้ผลในการเป็นยาระบายคือ 100-500 มก./กก./ครั้ง การทดสอบยังพบว่ามีผลต้าน การหดตัวของลำไส้หนูตะเภาที่ตัดแยกจากลำตัวซึ่งเหนี่ยวนำด้วยเฟนโตลามีน (phentolamine) ความเข้มข้น 10-8M การทดสอบความเป็นพิษพบว่า เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 6.6 ก./กก. เมื่อตรวจสอบชิ้นเนื้อของตับ ไตและลูกอัณฑะ ไม่พบความผิดปกติ แ...

408

ผลของ
ผลของ curcumin ในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและต้านอนุมูลอิสระในหนูที่อดนอนการศึกษาผลการป้องกันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระของสาร curcumin จากขมิ้นชันในหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำให้อดนอนนาน 72 ชม. โดยการเลี้ยงหนูในกรงพื้นเป็นตาข่ายเหล็กแขวนอยู่เหนือน้ำ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าเมื่อให้ curcumin ขนาด 10 และ 20 มก./กก. โดยการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนู จะมีผลป้องกันการลดลงของน้ำหนัก ทำให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ลดอาการกระวนกระวายของหนู เมื่อทดสอบด้วยวิธี mirror chamber, plu...

1613

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านอักเสบ และต้านเบาหวานของสารสกัดเจียวกู่หลานการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสารโพลีแซคคาไรด์ที่สกัดจากเจียวกู่หลาน (Gynostemma pentaphyllum) โดยทดสอบการกำจัดอนุมูลอิสระในหลอดทดลองด้วยวิธี DPPH radical, hydroxyl radical, superoxide anion และ ABTS radical scavenging พบว่าเพิ่มสูงขึ้น ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารสกัดเจียวกู่หลาน และการทดสอบในหนูเม้าส์โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเจียวกู่หลานขนาด 200, 400 และ 800 มคก./กก./วัน ตามลำดับ เป็นเวลา 28 วัน เปรี...

808

ฮอพ
ฮอพ (Hops) ช่วยป้องกันความเสียหายจากโรคเส้นเลือดในสมองอุดตันการศึกษาฤทธิ์ปกป้องการทำงานของระบบประสาทและสมองของสารXanthohumol(สารฟลาโวนอยด์จากต้นฮอพ) ในหนูแรทที่เกิดอาการเส้นเลือดอุดตันในสมองพบว่าเมื่อฉีดสาร Xanthohumol ขนาด 0.2 และ 0.4 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้แก่หนูแรทที่เวลา 10 นาทีก่อนชักนำให้เส้นเลือดในสมองเกิดการอุดตัน สาร Xanthohumolจะช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ โดยลดบริเวณเนื้อสมองตายรวมทั้งยับยั้งการแสดงออกของhypoxia-inducible factor-1α, tumor necrosis factor-α, inducible ...

877

ฤทธิ์ปกป้องสมองของว่านพร้าว
ฤทธิ์ปกป้องสมองของว่านพร้าวการศึกษาฤทธิ์ปกป้องสมองของสารสกัด curculigoside (CCGS) จากว่านพร้าวในหลอดทดลอง (in vitro ) โดยทำการทดลองเลี้ยงเซลล์สมอง prefrontal cortex neurons ที่แยกได้จากหนูเม้าส์ ในอาหารเลี้ยงเซลล์ Neurobasal medium ที่มีสารสกัด CCGS อยู่ 0.1 1.0 10 และ 100 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ จากนั้นเติมสาร N -methyl-D-aspartate (NMDA) เพื่อเหนี่ยวนำให้เซลล์ถูกทำลาย วัดอัตราการอยู่รอดของเซลล์ด้วยวิธี MTT assay และตรวจสอบการตายของเซลล์โดยย้อมเซลล์ด้วยสาร propidium iodide และHoechst 33258 do...

1596

อันตรกิริยาระหว่างสารสกัดบอระเพ็ดกับยารักษาเบาหวาน
อันตรกิริยาระหว่างสารสกัดบอระเพ็ดกับยารักษาเบาหวาน metformin, sitagliptin และ glibenclamiการศึกษาอันตรกิริยาระหว่างสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นบอระเพ็ดกับยารักษาเบาหวาน 3 ชนิด ได้แก่ metformin, sitagliptin และ glibenclami ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ให้สารสกัด ขนาด 400 มก./กก. ร่วมกับยา metformin ขนาด 90 มก./กก. หรือยา sitagliptin ขนาด 10 มก./กก. หรือยา glibenclami 1 มก./กก. เป็นเวลา 28 วัน เปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับสารสกัดหรือยาเพียงอย่างเดียวและ...

1579

การประเมินประสิทธิภาพและความทนของตำรับครีมสมุนไพรในการป้องกันผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสี
การประเมินประสิทธิภาพและความทนของตำรับครีมสมุนไพรในการป้องกันผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสีการศึกษาผลตำรับครีมสมุนไพร (สูตรตำรับประกอบด้วยขี้ผึ้ง น้ำมันมะกอกฝรั่ง น้ำมันดอกดาวเรืองฝรั่ง น้ำมันเซนต์จอห์นเวิร์ต และวุ้นว่านหางจระเข้) ในการป้องกันผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสี ทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งศีรษะและลำคอที่ต้องได้รับการรักษาโดยการฉายรังสี 5-7 สัปดาห์ จำนวน 59 คน กำหนดให้ผู้ป่วยใช้ครีมสมุนไพรทาบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี วันละ 3-4 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการได้รับรังสีบำบัดและใช้ต่อเนื่อ...

1480

ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสารสำคัญจากกาแฟสำเร็จรูป
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสารสำคัญจากกาแฟสำเร็จรูป ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...