Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของกระเจี๊ยบแดงต่อความดันโลหิต การทำงานของหลอดเลือด ระดับไขมัน ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และการอักเสบในผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease)

การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครเพศชายจำนวน 25 คน ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในระดับ 1%-10% (ประเมินด้วย QRISK®2) โดยถูกสุ่มให้ได้รับสารสกัดน้ำจากกลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบแดงในปริมาตร 250 มล. (อาสาสมัครจะได้รับปริมาณกระเจี๊ยบแดงเท่ากับ 7.5 ก. สารแอนโทไซยานินทั้งหมด 150 มก. และกรดแกลลิก 311 มก.) หรือได้รับน้ำเปล่า ในมื้อเช้าร่วมกับอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง การทดสอบมีระยะพัก (washout period) 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นสลับการทดสอบ ทำการวัดความดันโลหิตในช่วงเริ่มทำการทดสอบ และทุก ๆ ชั่วโมง จนถึง 4 ชั่วโมง และวัดการขยายตัวของหลอดเลือดต่อการไหลเวียนโลหิต (flow mediated dilatation; FMD) ของหลอดเลือดแดงแขน (branchial artery) ในช่วงเริ่มทำการทดสอบ ช่วง 2 และ 4 ชั่วโมงหลังจากดื่มสารสกัด ผลการทดสอบพบว่าการดื่มสารสกัดกระเจี๊ยบแดงมีผลเพิ่มค่าเปอร์เซ็นต์ FMD และปรับปรุงค่าของการต้านอนุมูลอิสระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อสภาวะความแข็งของหลอดเลือดแดง (arterial stiffness) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าต่าง ๆ เหล่านี้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ผลลดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว เพิ่มระดับไนตริกออกไซด์ในปัสสาวะและพลาสมา ลดระดับของกลูโคสในซีรั่มและระดับอินซูลินในพลาสมา ลดระดับของไตรเอซีลกลีเซอรอล (triacylglycerol) และ ซี-รีแอคทีฟ โปรตีน (C-reactive protein) ในซีรั่ม โดยพบค่าระดับความเข้มข้นสูงสุดในพลาสมาของ gallic acid, 4-O-methylgallic acid, 3-O-methylgallic acid และ hippuric acid อยู่ที่ 1-2 ชั่วโมง หลังได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดง จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าสารสกัดจากกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดงมีผลในการปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดได้ อาจมีผลช่วยลดลดภาวะการทำงานบกพร่องของหลอดเลือดและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

Nutrient 2019;11(2):pii:E341.doi:10.3390/nu11020341.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1361

ประสิทธิภาพของครีมไพลสกัดในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกาย
ประสิทธิภาพของครีมไพลสกัดในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกายการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและปกปิดสองทางเทียบกับกลุ่มยาหลอก (double-blind randomized controlled trial) ในอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดี จำนวน 30 ราย ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อภายหลังจากการออกกำลังกายนาน 24 ชั่วโมง (delayed onset muscle soreness; DOMS) โดยให้ยกน้ำหนักในท่า biceps curl โดยการยกน้ำหนักในขนาด 2- 40 กก. จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองซึ่งได้รับครีมมีส่วนประกอบของสารสกัดน้ำมันไพล 30...

319

ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของสารสกัดอัลคาลอยด์จากต้นสบู่เลือด
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของสารสกัดอัลคาลอยด์จากต้นสบู่เลือดสารสกัดน้ำ (SA) สารสกัดสกัดไดคลอโรมีเทน (SD1 และ SD2) สาร dehydroroemerine, tetrahydroalmatine, xylopinine และ cepharanthine จากต้นสบู่เลือด เมื่อนำไปทดสอบในหลอดทดลองต่อการต้านเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium falciparum   W2 พบว่าสาร dehydroroemerine, cepharanthine และ SD1 มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ P. falciparum   W2 ได้ดีที่สุด ซึ่งค่าความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งได้ 50% (IC50) มีค่าเท่ากับ 0.36, 0.61 ไมโครโมล และ 0.7 มคก./มล. ตามลำดับ...

1305

ฤทธิ์ต้านโรคสะเก็ดเงินจากมังคุด
ฤทธิ์ต้านโรคสะเก็ดเงินจากมังคุดการศึกษาฤทธิ์ต้านสะเก็ดเงินในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่ผิวหนังซึ่งมีลักษณะเหมือนโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis-like skin lesions) ด้วยยาอิมิควิโมด (Imiquimod) โดยให้หนูกินสาร isogarcinol (YDIS) ซึ่งแยกได้จากเปลือกมังคุด ในขนาด 100 มก./กก. วันละครั้ง นาน 7 วัน เปรียบเทียบกับการที่หนูได้รับยา cyclosporine A (CsA) ขนาด 50 มก./กก พบว่าการแบ่งตัวและการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบริเวณเซลล์ผิวหนังของหนูที่ได้รับ YDIS ลดลงอย่างชัดเจน การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับ interl...

1181

ฤทธิ์ป้องกันภาวะเกล็ดเลือดต่ำของใบมะละกอ
ฤทธิ์ป้องกันภาวะเกล็ดเลือดต่ำของใบมะละกอการศึกษาฤทธิ์ป้องกันเกล็ดเลือดต่ำของใบมะละกอ (Carica papaya L.) ในหนูแรทที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenic) จากการได้รับยาบูซัลแฟน (Busulfan) พบว่าเมื่อป้อนส่วนสกัดอัลคาลอยด์ด้วยปีโตรเลียมอีเธอร์ หรือส่วนสกัดอัลคาลอยด์ด้วยเอธิลอะซีเตทจากใบมะละกอ ขนาด 200 มก./กก.น้ำหนักตัว หรือสาร carpaine ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ที่แยกได้จากสารสกัดใบมะละกอ ขนาด 20 มก./กก.น้ำหนักตัว ติดต่อกัน 20 วัน สามารถป้องกันการเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำในหนูแรทที่ได้รับยาบูซัลแฟนได้ โดยหน...

489

ผลของการดื่มกาแฟต่อการยับยั้งการรวมตัวของเกร็ดเลือดและการรวมตัวของฟีนอล
ผลของการดื่มกาแฟต่อการยับยั้งการรวมตัวของเกร็ดเลือดและการรวมตัวของฟีนอลการศึกษาแบบ cross-over ในอาสาสมัคร 10 คน (ชาย 5 คน หญิง 5 คน) อายุ 24-35 ปี โดยให้อาสาสมัครดื่มกาแฟ 200 มิลลิตรที่มีปริมาณ caffeine 180 มิลลิกรัม หรือรับประทานแคปซูลที่มีสาร caffeine 180 มิลลิกรัม ร่วมกับน้ำ 200 มิลลิตร แล้วทำการเปรียบเทียบการรวมตัวเกร็ดเลือดก่อนดื่ม และหลังดื่มกาแฟเป็นเวลา 30 และ 60 นาที พบว่าการดื่มกาแฟลดการรวมตัวของเกร็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นด้วยคอลลาเจนและกรด arachidonic และยังยับยั้งไม่ให้คอลลาเจนไปกระตุ้นกา...

1330

ฤทธิ์ต้านเชื้อสิวของเปลือกอบเชยและน้ำผึ้ง
ฤทธิ์ต้านเชื้อสิวของเปลือกอบเชยและน้ำผึ้งการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อก่อสิวของสารสกัดเอทานอลจากเปลือกต้นอบเชยและน้ำผึ้ง พบความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดเปลือกต้นอบเชยที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) ต่อเชื้อ Propionibacterium acnes และ Staphylococcus epidermidis คือ 256 ไมโครกรัม/มล. และ 1,024 ไมโครกรัม/มล. ตามลำดับ และค่า MIC ของน้ำผึ้งต่อเชื้อทั้งสองชนิด คือ ความเข้มข้น 50% โดยปริมาตร และความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิด (MBCs) ของสารสกัดจากเปลือกต้นอบเชยและน้ำ...

1668

การศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของแคลลัสและสารสกัดใบรางจืด
การศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของแคลลัสและสารสกัดใบรางจืดการศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ (glucose uptake) ของสารสกัดเมทานอลจากแคลลัสเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (callus culture) ของใบรางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) และสารสกัดใบรางจืดด้วยน้ำเดือด เมทานอล และ 80% เมทานอล ทำการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ด้วยการบ่มเซลล์กล้ามเนื้อของหนูแรท (rat skeleton muscle: L6 cell) ร่วมกับสารสกัดจากใบรางจืด ความเข้มข้น 100-400 มคก./มล. เป็นเวลา 2...

1493

ผลของสารสำคัญจากหญ้าหวานต่อการทำงานของ
ผลของสารสำคัญจากหญ้าหวานต่อการทำงานของ cytochrome p450 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1109

ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทของสารสำคัญจากฮอพส์
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทของสารสำคัญจากฮอพส์การทดสอบฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทของสาร xanthohumol (Xn) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม polyphenol chalcone จากฮอพส์ (Humulus lupulus L.) ในเซลล์เนื้องอกของหนูแรทชนิด PC12 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษด้วยสภาวะออกซิเดชั่น (oxidative-stress) จากการทดลองพบว่าสาร Xn มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และทำให้ยีนที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องเซลล์ (phase II cytoprotective genes) เช่น glutathione, heme oxygenase, NAD(P)H:quinone oxidoreductase, thioredoxin, และ thioredoxin reductas เพิ...