-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ยับยั้งการดื้อยาต้านมะเร็งของสาร
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ยับยั้งการดื้อยาต้านมะเร็งของสาร β-sitosterol จากพืช
สาร β-sitosterol เป็นสารสำคัญที่สามารถพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ในน้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ผลไม้ต่างๆ และในพืชตระกูลเบอร์รี่ การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการดื้อยาต้านมะเร็งของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ชนิด HCT116 ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดดื้อยา (drug-resistant colorectal cancer; CRC) โดยการบ่มเซลล์มะเร็งร่วมกับสาร β-sitosterol และยาต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ oxaliplatin (OXA) พบว่าสาร β-sitosterol ออกฤทธิ์กระตุ้น p53 โดยรบกวนการจับกันของ p53 (tumor suppressor protein) และ murine double minute 2 (MDM2) ทำให้กระบวนการ translocation ของ p53 ไปยัง nucleus เพิ่มขึ้น และ nuclear factor-κB (NF-κB) pathway ถูกยับยั้ง ส่งผลให้การแสดงออกของ breast cancer resistance protein (BCRP) ลดลง (BCRP เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ขับยาออกจากเซลล์ซึ่งทำให้เกิดการดื้อยา) และการศึกษาในหนูเม้าส์ซึ่งถูกปลูกถ่ายเซลล์ HCT116 และได้รับสาร β-sitosterol ร่วมกับยา OXA พบว่า สาร β-sitosterol สามารถเสริมการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งของยา OXA เช่นกัน โดยทำให้ก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กลง จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สาร β-sitosterol จากพืชมีผลช่วยเสริมการออกฤทธิ์ของยาต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ oxaliplatin โดยมีกลไกในการยับยั้งการดื้อยาของเซลล์มะเร็งผ่าน p53/NF-κB/BCRP signaling
J Agric Food Chem. 2020;68:3850-8.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
กลไกในการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร
กลไกในการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร p-coumaric acidศึกษากลไกการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร p-coumaric acid ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม phenolic acid ที่พบได้มากในมะเขือเทศ เห็ด องุ่น และกาแฟ ในเซลล์ตับของมนุษย์ชนิด HepG2 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยกรดไขมัน palmitic acid (PA) ขนาด 1 มิลลิโมลาร์ โดยให้สาร p-coumaric acid ขนาด 5, 10, และ 20 ไมโครโมลาร์ (ขนาดของสาร p-coumaric acid ที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์คือ J Agric Food Chem. 2020;68:3742-9. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไ...
ผลของน้ำมะนาวในการกำจัดเชื้อมาลาเรีย
ผลของน้ำมะนาวในการกำจัดเชื้อมาลาเรียการศึกษาทางคลินิกในเด็กจำนวน 111 คน (ชาย 61 คน และหญิง 50 คน) อายุระหว่าง 5 เดือน ถึง 13 ปี ซึ่งมีอาการติดเชื้อมาลาเรียแบบไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยสุ่มให้ได้รับการรักษาด้วยยาต้านมาลาเรียที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ (ACT; ยา artemether + ยา camoquine) ร่วมกับการได้รับน้ำคั้นจากมะนาว (Citrus aurantifolia Swingle) วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 10 - 15 มล. หรือให้ได้รับยา ACT เพียงอย่างเดียว เป็นเวลา 3 วัน จากผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ทำให้เชื้อในร่างกายลดลง >7...
ฤทธิ์ปกป้องตับของลูกใต้ใบในหนูขาว
ฤทธิ์ปกป้องตับของลูกใต้ใบในหนูขาวการศึกษาในหนูขาวโดยแบ่งหนูขาวออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้กินสารละลายกลูโคส (Isocaloric glucose solution) กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารละลายเอทานอล (20% น้ำหนัก/ปริมาตร) ขนาด 5 ก./กก./วัน กลุ่มที่ 3 ได้รับสารสกัดใบของลูกใต้ใบด้วยเมทานอลขนาด 250 มก./กก./วัน ร่วมกับสารละลายกลูโคส กลุ่มที่ 4 และ 5 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบของลูกใต้ใบด้วยเมทานอลขนาด 250 และ 500 มก./กก./วัน ร่วมกับสารละลายเอทานอลขนาด 5 ก./กก./วัน ตามลำดับ นาน 4 สัปดาห์ (เอทา...
การหาปริมาณสาร
การหาปริมาณสาร glycyrrhetic acid ในเลือดโดยใช้วิธี LC-ESI-MSสาร glycyrrhizin เป็นสารสำคัญในชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) ซึ่งมีการขายในท้องตลาดอยู่ในรูปยาแคปซูล ใช้รักษาโรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ และการอักเสบ สารนี้เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็นสาร glycyrrhetic acid ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการหาปริมาณสาร glycyrrhetic acid ในเลือดโดยใช้วิธี LC-ESI-MS ทำได้โดยการสกัดเลือดของอาสาสมัครด้วยเอทิลอะซิเตรทและแยกโดยใช้ column C18 ที่มีระบบนำพาคือ 10 mmol/l am...
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของเห็ด
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของเห็ด Coprinus comatus , เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum ) และ Grifola frondosa ในสาร Vanadiumการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของเห็ด Coprinus comatus  , เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum ) และเห็ด Grifola frondosa ซึ่งหมักแล้วจะมีสาร Vanadium อยู่ในปริมาณสูง โดยทำการทดสอบใน 3 รูปแบบ การทดลองที่1 เหนี่ยวนำหนูเม้าส์ให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นด้วยการฉีดสาร alloxan ขนาด 75 มก./กก. เข้าเส้นเลือด แล้วป้อนเห็ดที่ได้จากการหมักทั...
ผลของการรับประทานสารสกัด
ผลของการรับประทานสารสกัด asiaticoside จากบัวบกในภาวะเป็นโรคไตการศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด asiaticoside จากบัวบกในภาวะเป็นโรคไตในหนูแรท โดยแบ่งหนูแรท 62 ตัว เป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้เป็นหนูปกติกลุ่มควบคุมจำนวน 12 ตัว (กลุ่ม A) กลุ่มที่ 2 เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเป็นโรคไตด้วยการฉีด adriamycin ขนาด 6 มก. / กก. เข้าทางเส้นเลือดดำที่หางจำนวน 50 ตัว จากนั้น 7 สัปดาห์ ทำการเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะเพื่อตรวจวัดค่าทางชีวเคมี (biochemical analysis) และแบ่งหนูกลุ่มที่ 2 ออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว...
ผลของชาและวิตามินซี
ผลของชาและวิตามินซี (Ascorbic acid) ต่อการดูดซึมธาตุเหล็กการศึกษาทางคลินิกแบบ crossover ในหญิงชาวอินเดียจำนวน 40 คน อายุระหว่าง 18 - 35 ปี แบ่งเป็น 2 การทดลอง โดยแต่ละการทดลองมี 20 คน ซึ่งเป็นคนที่มีอาการของโลหิตจางชนิดขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) 10 คน และหญิงปกติ 10 คนการทดลองที่ 1 (Tea study) วันที่ 1 อาสาสมัครจะได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็ก (57FeSO4) + น้ำเปล่า 300 มล. วันที่ 2 ได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็ก (58FeSO4) + น้ำเปล่า 150 มล. + น้ำชา 150 มล. วันที่ 15 ได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็ก (...
สารสกัด
สารสกัด ginsenosides จากโสมลดการสะสมไขมันในเซลล์ 3T3-L1 adipocytesการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัด ginsenosides ต่อการสะสมไขมันในเซลล์ 3T3-L1 adipocytes โดยย่อยสารสกัด ginsenosides ด้วยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเทียมและน้ำย่อยลำไส้เทียม ในหลอดทดลอง โดยการการบ่มผงสกัดโสมขนาด 100 มิลลิกรัมกับน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารเทียมขนาด 10 มิลลิลิตร เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และบ่มต่อด้วยน้ำย่อยจากลำไส้เทียมขนาด 10 มิลลิลิตร เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ตามลำดับ ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส หลังการบ่มพบว่าสารสกัด ginsenosides ชนิดมีขั้ว ได้...
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชค
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชคการศึกษาความเป็นพิษของใบอาร์ติโชค (Cynara scolymus L.) ต่อตัวอ่อนในครรภ์ของหนูแรท ด้วยการป้อนผงแห้งของสารสกัดน้ำจากใบอาร์ติโชค ขนาด 1, 2 และ 4 ก./น้ำหนักตัว 1 กก. ให้แก่หนูแรทเพศเมียตั้งแต่มีอายุครรภ์ 6 วันต่อเนื่องถึงอายุครรภ์ 19 วัน ซึ่งพบว่าสารสกัดน้ำจากอาร์ติโช๊คไม่มีผลต่ออัตราการกินอาหาร เปอร์เซนต์การสูญเสียศักยภาพในการฝังตัวของตัวอ่อนทั้งก่อนและหลังกระบวนการฝังตัว (preimplantation loss and postimplantation loss) น้ำหนักรก และค่าชีวเคมีอื่นๆ...