Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมองของสารสำคัญจากใบหม่อน

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ปกป้องเซลล์ของสารสำคัญในกลุ่ม prenylated flavonoids ซึ่งแยกได้จากใบหม่อน (Morus alba) ได้แก่ morachalcone D และ morachalcone E ในเซลล์สมองชนิด HT22 พบว่าสารทั้ง 2 ชนิดสามารถปกป้องเซลล์ HT22 จากการถูกทำลายด้วย glutamate และ erastin โดย morachalcone D มีประสิทธิภาพดีกว่า morachalcone E โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการสร้าง reactive oxygen species (ROS) การยับยั้งการลดลงของ glutathione และการยับยั้งการสะสมธาตุเหล็ก นอกจากนี้ morachalcone D ยังมีผลเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกลไกในการต้านอนุมูลอิสระได้แก่ GPx4, CAT, SOD2, Nrf2, HMOX1 และ SLC7A11 แสดงให้เห็นว่าสารสำคัญจากใบหม่อนโดยเฉพาะ morachalcone D มีประสิทธิภาพในการปกป้องเซลล์สมอง ซึ่งอาจนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบำรุงสมองได้

Food Chem. 2020;315:126236.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

214

ฤทธิ์เพิ่มความจำของชะเอมเทศ
ฤทธิ์เพิ่มความจำของชะเอมเทศการศึกษาผลของสารสกัดน้ำชะเอมเทศในหนูถีบจักร พบว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดในขนาด 75, 150 และ 300 มก./กก. เป็นเวลา 4 วัน กลุ่มที่ได้รับ 150 มก./กก. มีการเรียนรู้และความจำเพิ่มขึ้น และยังช่วยทำให้การเสียความทรงจำเนื่องจาก diazepam และ scopolamine หายไป ซึ่งฤทธิ์นี้อาจเนื่องมากจากฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การที่ยับยั้งฤทธิ์ของ scopolamine อาจเนื่องจากมีผลต่อ cholinergic transmission ในสมองหนูJ Ethnopharmacol 2004;91(2-3):361-5 ข้อมู...

178

ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของเมล็ดบัว
ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของเมล็ดบัว เมื่อนำสารสกัดเมล็ดบัวมาศึกษาฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี และยังพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของตับเนื่องจาก carbon tetrachloride และ อัฟลาทอกซิน B1 โดยมีผลทำให้ทั้งการทำลายเซลล์และระดับเอนไซม์ลดลง Phytomedicine 2003;10:165-9. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1132

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของใบกระเจี๊ยบแดง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของใบกระเจี๊ยบแดงการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในใบกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa ) ด้วยเทคนิค HPLC-MS พบว่าประกอบด้วยสารกลุ่ม polyphenols ได้แก่ neochlorogenic acid, chlorogenic acid, cryptochlorogenic acid, caffeoylshikimic acid, quercetin, quercetin glycoside, quercetin-rutinoside , kaempferol, kaempferol glycoside, kaempferol glycoside rhamnosyl รวมทั้งพบสาร 5-(hydroxymethyl)furfural หาปริมาณสารประกอบ phenolic ทั้งหมดอยู่ในช่วง 18.98±2.7 ถึง 29.9...

608

ผลของสารสกัดจากหญ้าฝรั่นกับการควบคุมน้ำหนัก
ผลของสารสกัดจากหญ้าฝรั่นกับการควบคุมน้ำหนักการศึกษาในอาสาสมัครเพศหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (ดรรชนีมวลกาย = 25 - 28 กก./ม2) อายุระหว่าง 25 - 45 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้รับประทานแคปซูลสารสกัดจากหญ้าฝรั่น (ปริมาณสารสกัดเท่ากับ 88.25 มก./แคปซูล) ขนาด 2 แคปซูล/วัน, เช้า - เย็น จำนวน 31 คน และกลุ่มที่ให้ยาหลอก จำนวน 29 คน ทดลองนาน 8 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากหญ้าฝรั่นจะมีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่ากลุ่มยาหลอกหลังจาก 8 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังลดความถี่ในการกินจุบจิบ (snacking frequency...

1151

ฤทธิ์ปกป้องตับของสารสำคัญจากเป่ยเช่า
ฤทธิ์ปกป้องตับของสารสำคัญจากเป่ยเช่าการศึกษาฤทธิ์ปกป้องตับของสาร paeoniflorin ซึ่งเป็นสารสำคัญที่แยกได้จากเป่ยเช่า (Paeonia lactiflora Pall.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic fatty liver disease; NAFLD) ซึ่งหนูจะมีลักษณะอ้วน ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ และมีไขมันในตับสูง โดยแบ่งหนูเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูปกติ กลุ่มที่ 2 เป็นหนูปกติที่ได้รับสาร paeoniflorin ผสมในอาหาร 0.05% กลุ่มที่ 3 เป็นหนูที่ได้รับอาหารไขมันสูง และกลุ่มที่ 4 เป็น...

115

ผลของชาเขียวต่อการรักษาโรคอ้วน
ผลของชาเขียวต่อการรักษาโรคอ้วน โรคอ้วนเป็นโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลระหว่างการได้รับพลังงานและการใช้พลังงาน ซึ่งมีสาเหตุต่างๆ ได้แก่ กรรมพันธุ์ การเผาผลาญพลังงาน ระบบต่อมไร้ท่อผิดปกติหรือผลรวมๆ หรืออาจจะเกิดจากรับประทานมากเกินไป การรักษาโรคอ้วนโดยวิธีการจำกัดปริมาณอาหาไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงมีการศึกษาเพื่อหายารักษา ผู้วิจัยกลุ่มนี้ได้ทดลองนำเอา สารสกัดชาเขียวด้วยเอทานอล (80%) ซึ่งมี catechin อยู่ 25% (คำนวณ...

831

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของรากสามสิบในการยับยั้งการย่อย
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของรากสามสิบในการยับยั้งการย่อย การดูดซึมคาร์ไฮเดรต และเพิ่มการทำงานของอินซูลินการศึกษาในหนูแรทของสารสกัดรากด้วยเอทานอลต้นรากสามสิบ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเฉียบพลัน และช่วงยาวต่อเนื่อง โดยการศึกษาในระยะเฉียบพลันป้อนสารสกัดเอทานอลต้นรากสามสิบขนาด 1.25 กรัม/กก. ให้กับหนูแรทที่ไม่เป็นเบาหวาน และหนูแรทที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และ ชนิดที่ 2 พบว่าไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ช่วยให้ทนต่อการเพิ่มขึ้นของกลูโคส (glucose tolerance) ในนาทีที่ 30 ดีขึ้น และการศึกษาช่วงยาวต่อเนื่อง...

632

สารสกัดจากดอกบัวหลวงช่วยลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในหนูที่เป็นเบาหวาน
สารสกัดจากดอกบัวหลวงช่วยลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในหนูที่เป็นเบาหวานการทดลองป้อนสารสกัด 90% เอทานอลจากดอกบัวหลวง ขนาด 250 มก./กก. น้ำหนักตัวให้หนูแรทที่ถูกชักนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin โดยป้อนติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลในเลือดหลังจบการทดลองพบว่า การป้อนสารสกัด 90% เอทานอลจากดอกบัวหลวงช่วยลดน้ำตาลในเลือดของหนูแรทที่เป็นเบาหวานลง 51.41 ± 1.44% นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลินได้อย่างมีนัยสำคัญ และให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกับหนูแรทที่ป้อน...

749

ฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังของสารสกัดอบเชยจีน
ฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังของสารสกัดอบเชยจีนศึกษาฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิหนังของอบเชยจีน ในหนูเมาส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการผื่นแพ้ที่ผิวหนังด้วยการทา DfE ointment ซึ่งเป็นแอนติเจนของไรฝุ่นบ้าน (House dust mite) 2 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 3 สัปดาห์ ในครั้งที่ 4 ของการทา DfE ointment (วันที่ 11 ของการทดลอง) เริ่มทาสารสกัดเอทานอลจากเปลือกของต้นอบเชยจีน และทาสารสกัดอบเชยจีนให้หนูต่อเนื่องไปทุกวัน วันละครั้ง เป็นเวลา 23 วัน สังเกตอาการผื่นภูมิแพ้ที่ผิวหนังของหนูและทำการบันทึกผล ผลการศึกษาพบว่...