-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
การใช้ผงมะนาวเป็นอาหารเสริมเพื่อบรรเทาอาการของโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
การใช้ผงมะนาวเป็นอาหารเสริมเพื่อบรรเทาอาการของโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
ศึกษาผลของการใช้ผงมะนาว (Citrus aurantifolia) เป็นอาหารเสริมเพื่อช่วยบรรเทาอาการผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (urolithiasis) จำนวน 74 คน ทั้งเพศชายและหญิง โดยทำการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม และปกปิด 2 ทาง (randomized and double-blind clinical trial)แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (36 คน, อายุเฉลี่ย 46.4±10.5 ปี) ให้รับประทานผงมะนาวเป็นอาหารเสริมวันละ 5 ก. [ประกอบด้วย ซิเตรต/กรดซิตริก 63 มิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq) และโพแทสเซียม 21 mEq] นานติดต่อกัน 6 เดือน ส่วนกลุ่มที่ 2 (38 คน, อายุเฉลี่ย 46.2±9.0 ปี) ได้รับยาหลอก (placebo) ผลจากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงมะนาวเป็นอาหารเสริมทำให้ค่า pH ของปัสสาวะเพิ่มขึ้น การขับซิเตรตและโพแทสเซียมออกมากับปัสสาวะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลลดระดับแคลเซียมและออกซาเลตในปัสสาวะ และลดปริมาณโปรตีนคาร์บอนิลในเลือด ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงการตกผลึกของสารก่อนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และเพิ่มค่าการต้านอนุมูลอิสระในปัสสาวะ(urinary total antioxidant status) และการรับประทานผงมะนาวยังทำให้ค่าดัชนีภาวะอิ่มตัวยิ่งยวดของปัสสาวะ (urinary supersaturation index) ซึ่งบ่งชี้ถึงการเกิดโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะมีค่าลดลง และไม่พบรายงานการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ แสดงให้เห็นว่า การรับประทานผงมะนาวเป็นอาหารเสริมสามารถยับยั้งการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะรวมทั้งป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำได้
Nephrology. 2019;24(8):791-7.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินของสายน้ำผึ้ง
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินของสายน้ำผึ้ง (Lonicera japonica )การศึกษาแยกสาร sweroside จากต้นสายน้ำผึ้ง และทดสอบในเซลล์ melan-a พบว่า sweroside 300 ไมโครโมล มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานิน โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ และมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์รวมทั้งโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน ได้แก่ tyrosinase, tyrosinase-related protein-1 (TRP-1) และ TRP-2 ผ่านกลไกกระตุ้นกระบวนการ phosphorylation ของ Akt และ ERK โดยขึ้นอยู่กับขนาดของสาร นอกจากนี้จากการทดสอบในปลาม้าลาย (in viv...
อันตรกิริยาระหว่างฟ้าทะลายโจรกับยาต้านการอักเสบนาโปรเซน
อันตรกิริยาระหว่างฟ้าทะลายโจรกับยาต้านการอักเสบนาโปรเซน (naproxen)การศึกษาอันตรกิริยาระหว่างฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Nees) กับยานาโปรเซน (naproxen) ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบของข้อ โดยป้อนสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร (ที่มีปริมาณ andrographolide ≈30% w/w) ขนาด 200 มก./กก. หรือป้อนสาร andrographolide สารสำคัญที่พบในฟ้าทะลายโจร ขนาด 60 มก./กก. ร่วมกับยานาโปรเซน ขนาด 7.5 มก./กก. ให้แก่หนูแรทติดต่อกัน 7 วัน พบว่าเมื่อป้อนฟ้าทะลายโจรร่วมกับยานาโปรเซน ทั้งสารสกัดฟ้าทะลายโจรและสาร andrographoli...
สารสกัดจากเมล็ดคนทีเขมาช่วยรักษาอาการข้ออักเสบ
สารสกัดจากเมล็ดคนทีเขมาช่วยรักษาอาการข้ออักเสบการศึกษาฤทธิ์รักษาข้ออักเสบของสารสกัดมาตรฐาน 80% เอทานอลจากเมล็ดคนทีเขมา (Vitex negundo Phytomedicine 2014;21:838-46 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
การใช้ผงมะนาวเป็นอาหารเสริมเพื่อบรรเทาอาการของโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
การใช้ผงมะนาวเป็นอาหารเสริมเพื่อบรรเทาอาการของโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะศึกษาผลของการใช้ผงมะนาว (Citrus aurantifolia) เป็นอาหารเสริมเพื่อช่วยบรรเทาอาการผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (urolithiasis) จำนวน 74 คน ทั้งเพศชายและหญิง โดยทำการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม และปกปิด 2 ทาง (randomized and double-blind clinical trial)แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (36 คน, อายุเฉลี่ย 46.4±10.5 ปี) ให้รับประทานผงมะนาวเป็นอาหารเสริมวันละ 5 ก. [ประกอบด้วย ซิเตรต/กรดซิตริก...
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียจากขี้หล็ก
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียจากขี้หล็กพบสารในกลุ่ม alkaloids 3 ชนิด cassiarins C-E (1-3) และสาร chromone, 10,11-dihydroanhydrobarakol (4) ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเมทานอลของดอกขี้เหล็กแห้ง มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum 3D7 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคไข้มาลาเรียJ Nat Prod 2009;72:1899-901 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารจากการถูกทำลายด้วยยาแอสไพรินของตังเซียมและคำฝอย
ฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารจากการถูกทำลายด้วยยาแอสไพรินของตังเซียมและคำฝอยการศึกษาฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารจากการถูกทำลายด้วยยาแอสไพริน (ASA) ของตำรับสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของรากตังเซียมและดอกแห้งของคำฝอย (Salvia miltiorrhiza-Carthamus tinctorius , Danhong injection; DHI*) ในหนูแรท และศึกษาผลต่อการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX), การหลั่งสารเมือกในกระเพาะอาหาร, การทำงานของเอนไซม์เปปซิน, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และระดับของ reactive oxygen species (ROS) พบว่าการให้ DHI ขนาด 4.16 มล./กก. ร่วมกับ ASA 10...
ฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมะม่วง
ฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมะม่วงการศึกษาฤทธิ์บรรเทาปวดของเปลือกต้นมะม่วง (Mangifera indica L.) ในหนูแรทที่เกิดความเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน และบรรเทาอาการปวดจากการตอบสนองในระยะยาว (long-term secondary machano-hyperalgesia) จากการกระตุ้นด้วยการฉีดฟอร์มาลีน 5% ผลการศึกษาพบว่า เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมะม่วง (MSBE) วันละ 125, 250 และ 500 มก./กก.น้ำหนักตัว หรือป้อน MSBE ขนาด 250 มก./กก.น้ำหนักตัว ร่วมกับการฉีด ascorbic acid ขนาด 1 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้หนูแรท ติดต่อกัน 7 วันก่อนการฉีดฟอ...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิม
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิมศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิมในอาสาสมัครชายสุขภาพดีจำนวน 28 คน (อายุระหว่าง 18-24 ปี) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 14 คน) กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มน้ำเปล่า (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ให้ดื่มน้ำทับทิมวันละ 240 มล. นานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ทำการเก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครเพื่อวิเคราะห์ค่าชีวเคมีในเลือดและวิเคราะห์เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidative stress) ในช่วงก่อนและหลังดื่มน้ำทับทิมเพื่อเปรียบเทียบ โดยมีการทดสอบให้อาสาสมัครออกกำลังกาย...
ฤทธิ์ขจัดรังแคของตะไคร้หอม
ฤทธิ์ขจัดรังแคของตะไคร้หอม (Cymbopogon flexuosus )การศึกษาผลของน้ำมันตะไคร้หอมซึ่งมีฤทธิ์ต้านยีสต์ที่เจริญได้ดีบนไขมัน (lipophilic yeasts) และเป็นสาเหตุของการเกิดรังแค โดยศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครคนไทย 30 คน อายุ 20-60 ปี ที่มีอาการของการเกิดรังแคอยู่ที่ระดับ 3 เมื่อวัดด้วย D-Squame® scale โดยแบ่งอาสามัครออกเป็น 3 กลุ่ม ให้ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผม (Hair Tonic) ที่ผสมน้ำมันตะไคร้หอม 5, 10 และ 15% ตามลำดับ วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ประเมินผลการขจัดรังแคในวันที่ 7 และ 14 ของการทดสอบ ผลการ...