-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
สารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออสุจิ
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
สารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออสุจิ
การศึกษาความเป็นพิษต่ออสุจิของสารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอ (Carica papaya) โดยเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิจากอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดีจำนวน 35 คน จากนั้นนำมาบ่มในหลอดทดลองร่วมกับอาหารเลี้ยง human tubular fluid และ 1% bovine serum albumin ซึ่งมีสารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอความเข้มข้น 0, 0.025, 0.25, 2.5, 25, 250 และ 2,500 มคก./มล. ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง และวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของอสุจิด้วยเครื่อง Sperm Class Analyzer (SCA, version 4.1.0.1) พบว่าสารสกัดดังกล่าวไม่มีผลต่อ VSL, LIN, STR, BFC, ความสามารถในการปฏิสนธิกับเซลล์ไข่, และการเกิด acrosome-reaction (การที่อสุจิแทงทะลุเยื่อหุ้มของเซลล์ไข่) แต่ทำให้การรอดชีวิต (vitality), ผลรวมของการเคลื่อนตัว (total motility), PR, VCL, และ VAP ของอสุจิ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และที่ขนาดความเข้มข้นสูง (250 และ 2500 มคก./มล.) ยังทำให้การเคลื่อนไหวของหางอสุจิ (hyperactivation) ลดลงอย่างชัดเจน การทดสอบความเป็นพิษต่ออสุจิพบว่า สารสกัดทำให้ค่าศักย์ไฟฟ้าบริเวณเยื่อหุ้มไมโตคอนเดรีย (mitochodria membrane potential; MMP) ของอสุจิลดลง, เซลล์อสุจิที่มีการสร้าง reactive oxygen species (ROS) ภายในเซลล์ (intracellular ROS production) มีจำนวนเพิ่มขึ้น และเซลล์อสุจิที่ดีเอ็นเอเกิดความเสียหาย (DNA-fragmentation) มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเหล่านี้บ่งชี้ถึงการเกิดการตายของเซลล์ โดยความรุนแรงจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และคาดว่าสารที่เป็นพิษต่ออสุจิคือสาร benzyl isothiocyanate จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอมีความพิษต่ออสุจิ และอาจส่งผลต่อการสืบพันธุ์ ซึ่งน่าจะสามารถพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สำหรับการคุมกำเนิดในเพศชายได้
หมายเหตุ :
Progressive Motility (PR) = การเคลื่อนที่ไปด้านหน้าของตัวอสุจิ
Curvilinear Velocity (VCL) = ความเร็วในการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งของตัวอสุจิ
Straight Line Velocity (VSL) = ความเร็วของการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของตัวอสุจิ
Average-Path Velocity (VAP) = ความเร็วเฉลี่ยของการเคลื่อนที่จริงของตัวอสุจิ
Linearity (LIN) = VSL/VCL
Straightness (STR) = VSL/VAP
Beat Cross Frequency (BCF) = ความถี่ที่หัวอสุจิขยับผ่านผ่านเส้นทางเดินเฉลี่ย
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของสารสกัดอัลคาลอยด์จากต้นสบู่เลือด
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของสารสกัดอัลคาลอยด์จากต้นสบู่เลือดสารสกัดน้ำ (SA) สารสกัดสกัดไดคลอโรมีเทน (SD1 และ SD2) สาร dehydroroemerine, tetrahydroalmatine, xylopinine และ cepharanthine จากต้นสบู่เลือด เมื่อนำไปทดสอบในหลอดทดลองต่อการต้านเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium falciparum W2 พบว่าสาร dehydroroemerine, cepharanthine และ SD1 มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ P. falciparum W2 ได้ดีที่สุด ซึ่งค่าความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งได้ 50% (IC50) มีค่าเท่ากับ 0.36, 0.61 ไมโครโมล และ 0.7 มคก./มล. ตามลำดับ...
สารคาทีชินในชาช่วยป้องกันการเกิดภาวะความผิดปกติของผนังหลอดเลือด
สารคาทีชินในชาช่วยป้องกันการเกิดภาวะความผิดปกติของผนังหลอดเลือด และต้านการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งในผู้ที่สูบบุหรี่การศึกษาในผู้ชายที่สูบบุหรี่จำนวน 30 คน ที่มีประวัติในการสูบบุหรี่ 20 มวน/วัน นาน 1 ปี หรือมากกว่า และมีสุขภาพดีไม่เป็นโรคเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับเครื่องดื่มที่ไม่มีสารคาทีชิน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารคาทีชินในระดับกลาง (80 มก./วัน) กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารคาทีชินในระดับสูง (580 มก...
ผลของข้าวกล้องงอกต่อระดับไขมันในเลือด
ผลของข้าวกล้องงอกต่อระดับไขมันในเลือดศึกษาผลต่อระดับไขมันในเลือดของข้าวชนิดต่างๆ ในกระต่าย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารปกติ อาหารที่มีไขมันสูง (0.5% คอเลสเตอรอล) อาหารไขมันสูงผสมกับผงข้าวขาว 19.8% อาหารไขมันสูงผสมกับผงข้าวกล้อง 19% อาหารไขมันสูงผสมกับผงข้าวกล้องงอก 19.5% และอาหารไขมันสูงผสมกับยา Simvastatin (ขนาด 10 มก./กก.) เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับข้าวกล้องงอก จะมีระดับคอเลสเตอรอลรวม low-density lipoprotein (LDL) อัตราส่วนของ low density lipoprotein ต่อ high density lipopro...
การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่
การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็กหมายเหตุ*เบาหวานชนิดที่ 1 คือ ภาวะที่เบต้าเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่สามารถสร้างอินซูลินซึ่งมีหน้าที่พาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้เพียงพอ น้ำตาลจึงอยู่ในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องได้รับอินซูลินด้วยการฉีดหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลิน**Human leukocyte antigen (HLA) เป็นแอนติเจนที่พบได้บนผิวเซลล์ของเม็ดเลือดขาวและเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกาย มีความเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้เกิดการตอบส...
สารสกัด
สารสกัด และ สาร citral ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์จากตะไคร้ มีฤทธิ์รักษาอาการท้องเสียเมื่อทดสอบในหนูถีบจักรโดยการป้อน castor oil (น้ำมันระหุ่ง) ให้ท้องเสีย ป้อน MgSO4 ให้กระตุ้นการหลั่งสารและการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และทำ charcoal meal test เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวของลำไส้ เมื่อป้อนสารสกัดขนาด 800 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้หนูถีบจักรพบว่าลดปริมาณอุจจาระได้ 53.44% นอกจากนี้ ที่ขนาดเดียวกัน ยังยับยั้งการหลั่งของเหลวในลำไส้ซึ่งเหนี่ยวนำด้วย MgSO4 และลดการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ เมื่อทดสอ...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และต้านเอสโตรเจนของเห็ดขลำหมาเห็ดขลำหมา (Mycoamaranthus cambodgensis (Pat.) Trappe, S. Lumyong, P. Lumyong, Sanmee & Zhu L. Yang) เป็นเห็ดป่ากินได้ที่พบในป่าผลัดใบของประเทศไทย และมีการนำมาใช้เป็นยาพื้น บ้านสำหรับการฟื้นตัวหลังคลอด การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด 50% เอทานอลจากดอกเห็ด(fruiting bodies) ด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay (DPPH assay) และวิธี Ferric reducing anti-oxidant power (FRAP) พบว่าสารสกัดเห็ดขลำหมามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง ...
ฤทธิ์ลดระดับกรดยูริกของสารเควอซิติน
ฤทธิ์ลดระดับกรดยูริกของสารเควอซิตินBr J Nutr 2016;115(5):800-6 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลของอาหารเสริมจากชาเขียวต่อความไวของอินซูลินในหนู
ผลของอาหารเสริมจากชาเขียวต่อความไวของอินซูลินในหนู Sprague-Dawley การทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของชาเขียวต่อความทนต่อกลูโคส์ (glucose tolerance) และความไวของอินซูลิน (insulin sensitivity) ในหนู การทดลองที่ 1 ใช้หนู Sprague-Dawley เพศผู้น้ำหนัก 200-250 กรัม ในกลุ่มควบคุมจะได้รับอาหารมาตรฐานและน้ำกลั่น Deionized ในขณะที่กลุ่มทดลองจะได้รับอาหารมาตรฐานและชาเขียวแทน (ผงชาเขียวที่ทำให้แห้งด้วยความเย็น 0.5 กรัม ละลายในน้ำกลั่น Deionized 100 มิลลิลิตร) หลังจากนั้น 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับข...
รากอัญชันต้านโรคหอบหืดและอาการแพ้ทางผิวหนัง
รากอัญชันต้านโรคหอบหืดและอาการแพ้ทางผิวหนังการศึกษาฤทธิ์ต้านโรคหอบหืด และการแพ้ทางผิวหนัง (passive cutaneous anaphylaxis) ของสารสกัดเอทานอลรากอัญชัน โดยศึกษาฤทธิ์ต้านหอบหืดด้วยการฉีดสารสกัดเอทานอลรากอัญชันให้แก่หนูเมาส์เข้าทางช่องท้อง ขนาด 100 125 และ 150 มก./กก. หลังจากนั้น 30 นาที ฉีดนมสุกที่เย็นแล้วเข้าทางใต้ผิวหนังขนาด 4 มล./กก. เพื่อกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด leucocyte และ eosinophil ซึ่งเป็นสื่อกลาง (mediator) ของการเกิดอาการหอบหืด และทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดกระบวนการ degranulation ของ mast ...