-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ความเป็นพิษและฤทธิ์คุมกำเนิดเพศชายของรากมะละกอ
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ความเป็นพิษและฤทธิ์คุมกำเนิดเพศชายของรากมะละกอ
การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัด 80% เมทานอลจากรากมะละกอ (Carica papaya) โดยป้อนหนูแรทในขนาด 500 1,000 1,500 และ 2,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว จากนั้นเฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลานาน 24 และ 48 ชม. พบว่า สารสกัดทุกขนาดไม่ทำให้หนูตายแต่มีผลต่อพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า การเคลื่อนไหวช้าลง มีอาการเดินเซ และปัสสาวะเพิ่มขึ้น จากนั้นจึงนำสารสกัดเมทานอลมาแยกต่อด้วยเทคนิคทางโครมาโตกราฟี ทำให้ได้ส่วนสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ (petroleum ether fraction) ซึ่งการทดสอบเบื้องต้นพบว่ามีผลต่ออสุจิมากที่สุด และเมื่อนำมาแยกต่อจนได้ส่วนสกัดจำนวน 3 ชนิด คือ CPFE1, CPFE2 และ CPFM1 จึงนำไปทดสอบฤทธิ์คุมกำเนิดในหนูแรทเพศผู้ โดยให้หนูกินส่วนสกัดดังกล่าวในขนาด 75 มก./กก./วัน ติดต่อกันนาน 28 วัน จากนั้นจึงทำการเก็บตัวอย่างเลือด อสุจิ และชำแหละซากหนูในวันที่ 60 ของการศึกษา โดยเปรียบเทียบผลกับหนูกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำเปล่า ผลการตรวจวิเคราะห์ค่าชีวเคมีในเลือดพบว่า CPFE1 และ CPFM1 ทำให้ระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และ CPFE1 ทำให้ระดับ blood urea nitrogen (BUN) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อระดับของผลรวม bilirubin, alkaline phosphatase, alkaline amino transferase, gamma glutamyl transferase และ triglycerides อย่างชัดเจน (p>0.05) ผลการวิเคราะห์ลักษณะของอสุจิพบว่า CPFE1 และ CPFM1 ทำให้ปริมาณของอสุจิ อสุจิที่มีการเคลื่อนไหวปกติ และอสุจิที่มีรูปร่างปกติ มีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) รวมทั้งเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบของอัณฑะ (testiscular inflammation) ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อจากอวัยวะภายในพบว่า CPFE1 และ CPFM1 ทำให้เกิดภาวะเลือดคั่ง (hyperaemia) ในไตและหัวใจเล็กน้อย และทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ตับบางส่วน นอกจากนี้ CPFE1 ยังทำให้เกิดการตายของเซลล์บริเวณเยื่อบุผิว (germinal epithelium) ในอัณฑะ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อสุจิมีจำนวนลดลง และอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติมีจำนวนเพิ่มขึ้น จากผลการทดลองข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สารสกัด 80% เมทานอลจากรากมะละกอไม่ทำให้สัตว์ทดลองตาย แม้ให้ในขนาดสูง (2,000 มก./กก.) แต่ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทส่วนกลางและมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ในขณะที่ส่วนสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์และสารที่แยกได้โดยเฉพาะ CPFE1 และ CPFM1 ทำให้จำนวนอสุจิของสัตว์ทดลองลดลง และอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในแง่ของการใช้เพื่อการคุมกำเนิดในเพศชาย แต่ส่วนสกัดดังกล่าวทำให้ระดับ AST และ BUN เพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งในไตและหัวใจ และทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ตับ ซึ่งเหล่านี้อาจบ่งชี้ถึงความเป็นพิษต่อตับ ไต และหัวใจ ดังนั้นการนำมาใช้เพื่อรักษาโรคควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
Arab J Chem. 2019;12(7):1563-8.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ปกป้องผิวของสารโพลีฟีนอลจากแอปเปิ้ล
ฤทธิ์ปกป้องผิวของสารโพลีฟีนอลจากแอปเปิ้ลการศึกษาทางคลินิกแบบ randomized, double-blinded, placebo-controlled clinical trial ในอาสาสมัครเพศหญิงจำนวน 59 คน อายุ 20-39 ปี สุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยให้รับประทานยาเม็ดสารโพลีฟีนอลจากผลแอปเปิ้ล (มี procyanidins 63.8%) ขนาด 300 และ 600 มก. หรือยาหลอก เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการประเมินผลโดยวัดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณต้นแขนส่วนบนหลังการได้รับรังสี UV ได้แก่ อาการผื่นแดง ค่าความสว่างของผิว (L-value) และการเกิดเม็ดสี (melanin value) พบว่าการรับประทานสา...
เมล็ดลินินช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดของอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกิน
เมล็ดลินินช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดของอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกิน มีภาวะอ้วน และภาวะใกล้จะเป็นเบาหวานการศึกษาแบบ randomized, cross-over study ในอาสาสมัครชายหญิงที่มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนและมีภาวะใกล้จะเป็นเบาหวาน (pre-diabetes) คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ (100 - 125 มก./ดล.) แต่ยังไม่สูงถึงระดับที่จะเรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน (126 มก./ดล.) จำนวน 25 คน โดยให้รับประทานเมล็ดลินินบดในขนาด 13, 26 ก. ร่วมกับอาหารปกติ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับประทานเมล็ดลินินบด พบ...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาปวด และผลต่อระบบประสาทจากเหง้าของข่าเล็กสารสกัด 80% เอทานอลของเหง้าข่าเล็ก (Alpinia officinarum ) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังในหนูแรท โดยในกลุ่มที่ทดสอบการอักเสบแบบเฉียบพลัน หนูแรทจะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยการฉีดสาร carrageenan เข้าใต้ผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าด้านหลัง ในขณะที่หนูกลุ่มที่ทดสอบการอักเสบแบบเรื้อรัง หนูแรทจะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยการฉีด complete Freund's adjuvant (CFA) เข้าใต้ผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าด้านหลัง จาก...
ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมป้องกันความเป็นพิษต่อตับ
ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมป้องกันความเป็นพิษต่อตับการป้อนสารสกัดใบมะรุมด้วย 80% hydroalcoholic ให้หนูขาวเพศผู้ ขนาด 200 และ 800 มก. / น้ำหนักตัว 1 กก.เป็นเวลา 14 วัน ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดการทำลายตับด้วยการป้อนสาร acetaminophen ใน 40% sucrose buffer ขนาด 3 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กก.ในวันที่ 15 ของการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาพบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันความเป็นพิษต่อตับอย่างมีนัยสำคัญและช่วยลดระดับเอนไซม์ในตับ alanine aminotranferase (ALT), aspartate aminotranferase (AST) และ alkaline phos...
ฤทธิ์ลดการอักเสบและยับยั้งเอนไซม์
ฤทธิ์ลดการอักเสบและยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ของปัญจขันธ์การทดสอบฤทธิ์ลดการอักเสบและยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ของสารสกัดเมทานอล สารสกัดเอ็น-บิวทานอลจากส่วนเหนือดินและสารที่แยกได้จากปัญจขันธ์ ได้แก่ 3,5-dihydroxyfuran-2(5H)-one (1), rutin (2), kaempferol 3-O-rutinoside (3), (23S)-21β-O-methyl-3β,20ζ-dihydroxy-12-oxo-21,23-epoxydammar-24-ene-3-O-[α-L-rhamnopyranosyl(1→2)][β-D-glucopyranosyl(1→3)]-α-L-arabinopyranoside (4) และ 23β-H-3^...
น้ำบีทรูทช่วยป้องกันมะเร็งตับ
น้ำบีทรูทช่วยป้องกันมะเร็งตับการศึกษาฤทธิ์ปกป้องตับของบีทรูทในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้ตับถูกทำลายด้วยสารก่อมะเร็ง N-nitrosodiethylamine พบว่าการป้อนน้ำบีทรูทให้หนูแรทวันละ 100 มล. ติดต่อกัน 28 วัน ช่วยลดการทำงานของเอนไซม์ cytochrome P450 (CYP), CYP1A1/1A2 และ CYP2E1 ที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับสารก่อมะเร็ง และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ CYP2B รวมทั้งเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ NAD(P)H: quinone oxidoretuctase-1 (phase II enzyme เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย) นอกจากนี้น้ำบีทรูทยังช่วยลดคว...
ใยอาหารต้านอนุมูลอิสระจากองุ่นลดปัจจัยเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ
ใยอาหารต้านอนุมูลอิสระจากองุ่นลดปัจจัยเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจการศึกษาทางคลินิกแบบ randomized, controlled parallel-group trial ในคนไม่สูบบุหรี่จำนวน 43 คน อายุเฉลี่ย 33.7 ± 12.2 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน (เพศหญิง 22 คน เพศชาย 12 คน) โดย 21 คนมีระดับคอเลสเตอรอลสูงและ 13 คนมีระดับคอเลสเตอรอลในเกณฑ์ปกติ กลุ่มควบคุม จำนวน 9 คน (เพศหญิง 5 คน เพศชาย 4 คน) โดย 5 คนมีระดับคอเลสเตอรอลสูงและ 4 คนมีระดับคอเลสเตอรอลในเกณฑ์ปกติ ให้กลุ่มทดลองกินใยอาหารจากองุ่นขนาด 7.5 กรัม/วัน (ผลิตภัณฑ์จากธร...
ฤทธิ์คลายกังวลของน้ำมันหอมระเหยจากกระดังงาไทย
ฤทธิ์คลายกังวลของน้ำมันหอมระเหยจากกระดังงาไทยศึกษาฤทธิ์คลายกังวลของกระดังงาไทย (Cananga odorata) ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยในการศึกษาแบบเฉียบพลัน ให้หนูเม้าส์สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาไทยที่ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10% ตามลำดับ นาน 10 นาที จากนั้น 1 ชั่วโมงนำหนูไปทดสอบพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะเครียดและวิตกกังวลด้วยวิธี open field test (OF), elevated plus maze test (EPM) และ light and dark box test (LDB) ส่วนการศึกษาแบบเรื้อรัง ให้หนูเม้าส์สูดดมน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาที่ควา...
ผลของสารสกัดแปะก๊วยต่อการสร้างอนุมูลอิสระในหนูขาวภาวะขาดออกซิเจน
ผลของสารสกัดแปะก๊วยต่อการสร้างอนุมูลอิสระในหนูขาวภาวะขาดออกซิเจน เมื่อทดลองให้สารสกัดแปะก๊วย (Gingko biloba Linn.) ขนาด 25 และ 50 มก.ต่อกก. ในหนูขาวที่ถูกทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง นาน 21 วัน พบว่าสารสกัดแปะก๊วยมีผลลดอนุมูลอิสระของออกซิเจน ( Oxygenated free radical ) อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยสารสกัดในขนาด 50 มก.ต่อกก.ให้ผลมากกว่า สารสกัดแปะก๊วยไม่มีผลเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่มีผลต่อต้านออกซิเดชั่นซึ่งแสดงว่าสารสกัดแปะก๊วยนั้นเอ...