-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเอทานอล:เอทิลอะซีเตท (6:4) จากเยื่อหุ้มเมล็ด สารสกัดน้ำจากเมล็ด และน้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ด โดยทดสอบในเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ 5 ชนิด ได้แก่ Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Micrococcus luteus, Klebsiella pneumonia และ Enterobacter aerogenes พบว่าสารสกัดเอทานอล:เอทิลอะซีเตท (6:4) สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียทั้ง 5 ชนิดได้ โดยมีค่าความเข้มข้นตํ่าสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) เท่ากับ 0.391-3.125 มก./มล. ขณะที่สารสกัดน้ำจากเมล็ดสามารถต้านเชื้อ S. aureus ได้เพียงอย่างเดียว (MIC 12.5 มก./มล.) และน้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ด ไม่มีผลในการต้านเชื้อทั้ง 5 ชนิด
JJEES. 2019;10(4):252-5.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของสารสกัดเมล็ดแตงกวาต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง
ผลของสารสกัดเมล็ดแตงกวาต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและปกปิดสองฝ่ายที่มีกลุ่มควบคุม (randomized double - blind placebo controlled clinical trial) ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงจำนวน 47 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 24 คน ได้รับสารสกัดเมล็ดแตงกวาแห้ง ขนาด 500 มก. จำนวน 1 แคปซูล โดยรับประทานพร้อมอาหาร วันละ 1 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 2 จำนวน 23 คน ให้รับประทานยาหลอก (placebo) พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมล...
ผลของสารสกัดยอด้วยน้ำต่อการอักเสบของหลอดอาหารและแผลในกระเพาะอาหารในหนูแรทเมื่อเทียบกับสาร
ผลของสารสกัดยอด้วยน้ำต่อการอักเสบของหลอดอาหารและแผลในกระเพาะอาหารในหนูแรทเมื่อเทียบกับสาร scopoletin ในลูกยอการศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่หลอดอาหารด้วยการผูกที่ตำแหน่ง pylorus ของกระเพาะอาหาร และผูกช่วงระหว่าง forestomach และ corpus ของกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารอย่างเฉียบพลันด้วยเอทานอล และ seratonin และเกิดแผลในกระเพาะอาหารชนิดเรื้อรังด้วยกรดน้ำส้ม แบ่งหนูแต่ละประเภทแรทออกป็น 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำขนาด 5 มล./กก.ทางสายยางสู่กระเพาะอาห...
สารหวานจากชะเอมไทย
สารหวานจากชะเอมไทย นักวิจัยไทยได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น สกัดแยกสารหวานจากต้นชะเอมไทย (Albizia myriophylla) ได้สารกลุ่มไตรเทอร์ปีน ซาโปนิน คือ albiziasaponin A-E ซึ่งเป็นสารใหม่ และ licorice saponin F3 และ yunzanoside B ซึ่งเคยมีรายงานการพบในพืชมาแล้ว เมื่อตรวจสอบความหวานพบว่า albiziasaponin B มีความหวานเป็น 600 เท่าของน้ำตาล J Nat Prod 2002,65:1638-42 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...
ฤทธิ์ฆ่าพยาธิตืดแคระจากผลมะขามเทศ
ฤทธิ์ฆ่าพยาธิตืดแคระจากผลมะขามเทศการทดสอบฤทธิ์ต้านพยาธิตืดแคระ (Hymenolepis nana) ในหลอดทดลองของสารสกัดเมทานอลของผลมะขามเทศ (Pithecellobium dulce (Roxb.)) และสารสำคัญที่แยกได้ คือสาร N-malonyl-(+)-tryptophan (NMT) พบว่าสารสกัดเมทานอลและสาร NMT มีประสิทธิภาพดีกว่ายาฆ่าพยาธิ praziquantel (PZQ) เมื่อให้ในขนาดที่เท่ากันคือ 20 มก./มล. โดยพยาธิที่ได้รับสารสกัดเมทานอลเกิดภาวะอัมพาตและตายใช้เวลา 10 และ 25 นาที ตามลำดับ และพยาธิที่ได้รับสาร NMT เกิดภาวะอัมพาตและตายใช้เวลา 5 และ 7 นาที ตามลำดับ ในขณะที่พย...
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Cytochrome P450 ชนิด CYP3A4 และ CYP1A2 ของมะตูมการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Cytochrome P450 ชนิด CYP3A4 และ CYP1A2 ของสารสกัดเมทานอล สารสำคัญในกลุ่ม furanocoumarins (marmelosin, marmesinin) และสารแอลคาลอยด์ (aegeline) ที่แยกได้จากส่วนผลของมะตูม [Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb.] ในไมโครโซม (microsome) จากตับมนุษย์ พบว่าสารสกัดเมทานอลของผลมะตูมสามารถยับยั้ง CYP3A4 แบบแข่งขัน (Competitive inhibition) โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ได้ 50% (IC50) เท่ากับ 5 มค...
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบของเห็ดออรินจิ
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบของเห็ดออรินจิการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease; IBD) ของเห็ดออรินจิ (Pleurotus eryngii) ในหนูเม้าส์ โดยหนูจะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในลำไส้ใหญ่ด้วย dextran-sodium-sulfate (DSS) จากนั้นจะได้รับอาหารมาตรฐาน AIN-93G ที่มีส่วนผสมของผงเห็ดออรินจิขนาด 0, 1.5%, หรือ 3% w/w (เทียบเท่าคนหนัก 60 กก.รับประทานเห็ดแห้งน้ำหนัก 5-15 ก./วัน) พบว่าผงเห็ดออรินจิสามารถบรรเทาการอักเสบในลำไส้ใหญ่ได้ โดยสามารถลด disease index, เพิ่มความยาวของลำ...
การอาเจียนเป็นเลือดที่มีสาเหตุมาจากสารสกัดมะระเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
การอาเจียนเป็นเลือดที่มีสาเหตุมาจากสารสกัดมะระเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารมีรายงานจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศอินเดียว่าพบผู้ป่วยชายอายุ 40 ปี รับประทานน้ำมะระเข้มข้นที่ทำเองที่บ้านประมาณ 500 ซีซี ก่อนที่จะมีการเจาะเลือดไปตรวจ ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณแถวกระบังลมหรือลิ้นปี่ และอาเจียนเป็นเลือดประมาณ 200 - 300 ซีซี ภายในครึ่งชั่วโมงหลังจากที่รับประทานน้ำมะระเข้มข้นเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยไม่ได้เพิ่มเติมสารใดๆ ลงไปในขณะที่เตรียมน้ำมะระเข้มข้น ไม่มีประวัติการใช้แอลกอฮอล์ ยาระงับปว...
ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสาร
ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสาร eugenol และ nerolidol จากสนแผงEugenol และ nerolidol ที่แยกได้จากต้นสนแผง มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Microsporum gypseum ในหลอดทดลอง โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อได้ (MIC) เปรียบเทียบกับยา econazole เท่ากับ 0.01-0.03%, 0.5-2% และ 0.0004-0.0016% ตามลำดับ เมื่อนำสารทั้ง 2 ที่ความเข้มข้น 10% มาเตรียมเป็นยาทาที่ผิวหนังของหนูตะเภาที่ติดเชื้อรา M. gypseum โดยทาทุกวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่ายาเตรียมจากสารทั้ง 2 ให้ผลในการรักษาเชื้อราในสัปดาห์แรกของการรักษา โดยจะลดขนาดแผ...
สารสกัดจากใบยูคาลิปต่อการบรรเทาการทำลายตับที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย
สารสกัดจากใบยูคาลิปต่อการบรรเทาการทำลายตับที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharideการศึกษาผลของสารสกัดเอทานอลจากใบยูคาลิปที่มีปริมาณ hydrolyzable tannins สูงต่อหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้ตับถูกทำลายด้วย lipopolysaccharide (LPS) โดยให้หนูกินอาหารที่ผสม 1% ของสารสกัด hydrolyzable tannins จากใบยูคาลิป เป็นเวลา 10 วัน แล้วฉีด LPS เข้าทางช่องท้องหนู หลังจากนั้น 6 ชั่วโมง ทำการตรวจวัดระดับเอ็นไซม์ alanine aminotransferase (ALT), aspartate aminotransferase (AST) และการแสดงออกของ inducible nitric oxide synthase...