Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำมันไพลที่เตรียมโดยการทอดในน้ำมันมะพร้าว

การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำมันไพล (Phlai oil extract) ในหนูแรทซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่หูด้วย ethyl phenylpropiolate (EPP) โดยเตรียมสารสกัดน้ำมันไพลตามแบบวิธีดั้งเดิม คือ ทอดเหง้าไพลที่หั่นเป็นชิ้นบางๆ ในน้ำมันมะพร้าว ซึ่งใช้อุณหภูมิในการทอดแตกต่างกันสามระดับ คือ อุณหภูมิสูง: 240-260 °C, อุณหภูมิปานกลาง: 170-190 °C และอุณหภูมิต่ำ: 70-90 °C พบว่าสารสกัดน้ำมันไพลที่ใช้อุณหภูมิสูง ขนาด 20 มคล./หู จะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้สูงสุด โดยค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดในน้ำมันมะพร้าวซึ่งมีผลต้านการอักเสบได้ คือ 25% (ปริมาตร/ปริมาตร) มีรายงานว่าสาร (E)-4-(3´,4´-dimethoxyphenyl)but-3-en-2-ol (compound-D) และน้ำมันหอมระเหยเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบในเหง้าไพล ซึ่งจากการตรวจสอบด้วยวิธี Thin layer chromatography พบ compound-D ในสารสกัดน้ำมันไพลทั้ง 3 ชนิด เมื่อเทียบกับน้ำมันหอมระเหย พบว่าสารบางชนิดในน้ำมันหอมระเหยยังคงมีอยู่ในสารสกัดน้ำมันไพลที่ใช้อุณหภูมิต่ำ แต่จะไม่พบสารเหล่านี้ในสารสกัดที่ใช้อุณหภูมิปานกลางหรืออุณหภูมิสูง

Pharm Sci Asia. 2020;47(1):51-7.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1442

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดจากผิวถั่วดำ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดจากผิวถั่วดำผิวของถั่วดำ (Phaseolus vulgarisO-glucoside, petunidin-3-O-glucoside, และ malvidin-3-O-glucoside และจากการทดลองหาสภาวะเหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาสารกลุ่มนี้คือ ที่สภาวะความเป็นกรดที่ pH 2.5 อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีค่าครึ่งชีวิต 277 วัน นอกจากจะสามารถนำมาทำสีผสมอาหาร เช่นแต่งสีในเครื่องดื่มได้แล้ว ยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจอีกด้วย การทดสอบฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัด 24%เอทานอลจากผิวของถั่วดำพบว่า สารสกัดดังกล่าวที่ความเข้มข้น 1 มก./มล. สามารถยับยั้งการท...

1270

ฤทธิ์เสริมการรักษาของน้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบมอญต่ออาการปวดประจำเดือน
ฤทธิ์เสริมการรักษาของน้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบมอญต่ออาการปวดประจำเดือนการศึกษาทางคลินิกในผู้หญิงอายุ 19-30 จำนวน 100 คน ที่มีอาการปวดประจําเดือนชนิดปฐมภูมิ โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการฉีดยาต้านอักเสบและลดอาการปวด diclofenac sodium ขนาด 75 มก. เข้ากล้ามเนื้อ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยา diclofenac sodium ร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบมอญ (Rosa × damascena Herrm.) 2% ในสุคนธบำบัด (aromatherapy) หลังจากนั้น 10 และ 30 นาที ประเมินความรุนแรงของอาการปวดของทั้งสองกลุ่มด้วย ...

45

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของมะเดื่อชุมพร
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของมะเดื่อชุมพร สารสกัดใบมะเดื่อชุมพร ( Ficus racemosa Linn.)แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อทดลองในหนูขาว เมื่อให้สารสกัดความเข้มข้น 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว สามารถลดการอักเสบได้ 30.4 , 32.2 , 33.9 , 32.0 % ในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้ขาหลังอักเสบด้วย carragenin , serotonin , histamine และ dextran ตามลำดับ กลไกการลดการอักเสบเกิดจากการยับยั้ง histamine และ serotonin ผลการลดการอักเสบเรื้อรังเมื่อทดลองโดยการฝัง...

1407

กลไกการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายของสารสำคัญจากชา
กลไกการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายของสารสำคัญจากชาการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดทางเดียว มียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม และมีการไขว้กลุ่ม (A randomized, single-blinded, placebo controlled, season-matched crossover trials) เพื่อศึกษาผลของสาร catechin และสาร caffeine จากชา (Camellia sinensis (L.) Kuntze) ต่อ brown adipose tissue (BAT) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อสะสมไขมันที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายแบบไม่สั่น (nonshivering thermogenesis) โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลแบบเฉียบพ...

334

สาร
สาร isoflavones จากถั่วเหลืองสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลรวม และคอเลสเตอรอลชนิด LDL ได้เป็นการศึกษาชนิด meta-analysis ที่รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย ชนิด clinical randomized controlled trials 11 การทดลอง ตั้งแต่ปีคศ.1990-2006 ซึ่งจากรวบรวมข้อมูลทั้งหมด สรุปได้ว่าสาร isoflavones จากถั่วเหลืองสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลรวมได้ 3.9 มก./ดล. หรือ 1.77% และสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL ได้ 5 มก./ดล. หรือ 3.58% แต่ไม่มีผลต่อระดับของคอเลสเตอรอลชนิด HDL และไตรกลีเซอไรด์ ในขณะที่โปรตีนจากถั่วเหลืองที่ไม่...

690

การศึกษาฤทธิ์ยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับจันทลีลาต่อการจับกลุ่มของเกร็ดเลือด
การศึกษาฤทธิ์ยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับจันทลีลาต่อการจับกลุ่มของเกร็ดเลือดการศึกษาวิจัยทางคลินิกโดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการได้รับยาในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 24 คน โดยเจาะเลือดเพื่อวัดระดับการจับกลุ่มของเกร็ดเลือดเป็นพื้นฐานก่อนการศึกษา สองสัปดาห์ต่อมา ให้อาสาสมัครรับประทานยาเม็ดอายุรเวทศิริราชตำรับจันทลีลา 750 มก./ครั้ง (เม็ดละ 250 มก. จำนวน 3 เม็ด) ทุก 8 ชม. 3 ครั้งติดต่อกัน แล้วเจาะเลือดเพื่อวัดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดที่เวลา 8 ชม. ภายหลังการรับประทานยาครั้งแรกด้วยเครื่องมือ aggregome...

1299

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ (coffee silverskin extract; CSE*) พันธุ์อาราบิก้า (Coffea arabica*CSE มี CGA และ CF เป็นส่วนประกอบอยู่ 11.18 มก./ก. และ 30.26 มก./ก. ตามลำดับ Food Res Int 2016;89:1015-22. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

283

ผลของสารสกัดกระเทียมแก่ต่อกระบวนการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในหนูทดลอง
ผลของสารสกัดกระเทียมแก่ต่อกระบวนการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในหนูทดลองการทดลองให้สารสกัดจากระเทียมแก่ (สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 20%เป็นเวลา 20 เดือน แล้วนำมาระเหยภายใต้ความดันต่ำเพื่อเพิ่มความเข้มข้น สารสกัดเทียม 1 มก. เท่ากับกระเทียมแห้ง 1 ก.) ผสมในอาหารความเข้มข้น 2%กับหนูทดลองที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมให้มีกระบวนการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เป็นเวลา 4 เดือน พบว่าสารสกัดจากกระเทียมมีผลลดกระบวนการเกิดโรคอัลไซเมอร์ คือลดการเกิด amyloid และการอักเสบในสมอง รวมถึงลดการเกิด tau phosphorylation ได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกั...

1364

องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อรา
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อรา Candida ของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดมะละกอการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดมะละกอ (Carica papaya Linn.) พบว่าสารเคมีหลัก คือ benzyl isothiocyanate ซึ่งพบได้ถึง 99.36% และเมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา พบว่าสามารถต้านเชื้อรา Candida ได้แก่ C. albicans, C. glabrata, C. krusei, C. parapsilosis และ C. tropical เมื่อทดสอบด้วยวิธี disc diffusion และ broth dilution โดยพบว่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ inhibition zone อยู่ในช่วง 14.2-33.2 มม. สาร benz...