-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัดมะรุม
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัดมะรุม
การศึกษาฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัด 80% เอทานอลจากใบ, เมล็ด และฝักมะรุม และสารที่แยกได้สารสกัด ได้แก่ ethyl-(EH-chromen-4-one; quercetin; kaempferol;β-sitosterol-3-O-glucoside; oleic acid; glucomoringin; 2,3,4-trihydroxybenzaldehyde และ stigmasterol ความเข้มข้น 7.81, 15.62 และ 31.25 มคก./มล. โดยทดสอบในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของหนู (RBL-2H3) ทำการประเมินผลต้านการแพ้ทั้งในระยะต้น (early phase) ซึ่งประเมินจากการยับยั้งการหลั่งของเอนไซม์ β-hexosaminidase และฮีสตามิน (histamine) และระยะหลัง (late phase) ซึ่งประเมินจากการยับยั้งการหลั่งของ interleukin-4 (IL-4) และ tumour necrosis factor (TNF-α) พบว่าสารสกัดทั้ง 3 ชนิด มีฤทธิ์ต้านการแพ้ได้ โดยสารสกัดจากใบจะมีฤทธิ์ดีสุดในการยับยั้งการหลั่งของเอนไซม์ β-hexosaminidase, IL-4 และ TNF-α และสารสกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์ดีสุดในยับยั้งการหลั่งของฮีสตามีน ในส่วนของสารที่แยกได้พบว่า สาร glucomoringin มีฤทธิ์ดีสุดในการยับยั้งเอนไซม์ β-hexosaminidase และ TNF-α ขณะที่สาร quercetin มีฤทธิ์ดีสุดในยับยั้งฮีสตามิน และสาร β-sitosterol-3-O-glucoside มีฤทธิ์ดีสุดในยับยั้ง IL-4 แสดงว่าสารสกัดจากมะรุมและสารสำคัญที่แยกได้จากสารสกัด มีฤทธิ์ต้านการแพ้ได้ทั้งในระยะต้นและระยะหลังของการแพ้
BMC Complement Altern Med. 2019;19(1):361. doi: 10.1186/s12906-019-2776-1.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราในหนอนไหมของสมุนไพรไทย
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราในหนอนไหมของสมุนไพรไทยผ้าไหมเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากธรรมชาติที่สำคัญทางภาคเหนือของไทยซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพและความสวยงาม แต่ตัวหนอนไหมซึ่งให้เส้นใยไหมมักประสบปัญหาการติดเชื้อจุลชีพในฤดูฝนและฤดูร้อน ทำให้ผ้าไหมมีคุณภาพต่ำลง เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมมีการใช้ฟอร์มาลีนในการทำลายเชื้อจุลชีพ แต่อาจส่งผลเสียต่อมนุษย์และสัตว์ เกิดความเป็นพิษและปนเปื้อนในตัวหนอนไหมซึ่งเมื่อนำมารับประทานอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ จึงมีการทดสอบฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อราของสมุนไพรไทย 11 ชนิดได้แก่ กะเพรา สะร...
ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของโกโก้
ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของโกโก้ ศึกษาฤทธิ์ลดความดันโลหิตของโกโก้ (ช็อกโกแลต) ที่มีสารฟลาโวนอยด์สูง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ ระยะที่ 1 ที่มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท และน้อยกว่า 160/100 มม.ปรอท โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มๆ ละ 10 คน โดยทั้ง 2 กลุ่ม ภายใน 7 วันแรก ให้รับประทานอาหารที่ปราศจากช็อกโกแลต จากนั้นกลุ่มที่ 1 ให้รับประทานช็อกโกแลตดำขนาด 100 ก./วัน ซึ่งมีสารฟาโวนอยด์เท่ากับ 88 มก. และกลุ่มที่ 2 ให้รับประทานช็อกโกแลตขาวขนาด 90 ก./วัน นาน 15 วัน ...
การศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของแคลลัสและสารสกัดใบรางจืด
การศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของแคลลัสและสารสกัดใบรางจืดการศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ (glucose uptake) ของสารสกัดเมทานอลจากแคลลัสเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (callus culture) ของใบรางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) และสารสกัดใบรางจืดด้วยน้ำเดือด เมทานอล และ 80% เมทานอล ทำการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ด้วยการบ่มเซลล์กล้ามเนื้อของหนูแรท (rat skeleton muscle: L6 cell) ร่วมกับสารสกัดจากใบรางจืด ความเข้มข้น 100-400 มคก./มล. เป็นเวลา 2...
การวิเคราะห์สารสกัดจากกะเม็ง
การวิเคราะห์สารสกัดจากกะเม็ง และฤทธิ์ต้านเนื้องอกการวิเคราะห์สารสกัดส่วนที่อยู่เหนือดินของกะเม็งด้วย น้ำ 30%เอทานอล 60%เอทานอล และ 90%เอทานอล ด้วยวิธีโครมาโตรกราฟี่ (Thin-layer chromatography) และนำมาวิเคราะห์ต่อจนสามารถแยกได้ว่า ต้นกะเม็งมีสาร wedelolacton, eclalbasaponin I, luteolin และ luteolin-7-O -glucoside และเมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ต้านเนื้องอกพบว่า ส่วนสกัดกะเม็งด้วย 30%เอทานอล และสาร eclalbasaponin I มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์ของเซลล์มะเร็งตับ โดยมีค่าตวามเข้มข้นครึ่งหนึ่งในการยับยั้งเซ...
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดสาร acrylamide ในขนมปังของสาร EGCG จากชาเขียวการศึกษาผลของการเติมสาร (-)-epigallocatechin gallate (EGCG) ที่สกัดได้จากชาเขียว (green tea) ต่อการเกิดสาร acrylamide ในระหว่างกระบวนการอบขนมปัง โดยเติม EGCG ในขนาด 3.3, 6.6 และ 9.9 ก./กก. ลงในสูตรการทำขนมปังขาว แล้ววิเคราะห์การเกิดสาร acrylamide ด้วย liquid chromatography-mass spectrometry (LC-MS) พบว่า EGCG สามารถลดการเกิด acrylamide ได้ 30.2%, 34.3% และ 37.4% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเติม EGCG และทำให้ความชื้นข...
ลดน้ำตาลในเลือดด้วย
ลดน้ำตาลในเลือดด้วย iridoid glucoside จากคนทีเขมาการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ของสาร iridoid glucoside จากต้นคนทีเขมากับยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบัน glibenclamide ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำเป็นเบาหวานด้วย streptozotocin พบว่าหนูแรทที่ได้รับ iridoid glucoside ขนาด 50 มก./กก.น้ำหนักตัว ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน มีปริมาณน้ำตาลและ glycosylated hemoglobin ลดลง ปริมาณอินซูลินและฮีโมโกลบินในเลือดก็เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่า iridoid glucoside มีผลเพิ่มปริมาณเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายน้ำตาลและการสร้างไ...
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสารสำคัญจากเห็ดฟาง
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสารสำคัญจากเห็ดฟางการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสาร VGPI-a จากเห็ดฟาง (Volvariella volvacea) ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ (macromolecular polysaccharide) และเป็นสารในกลุ่ม α- glucan ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 1435.6 kDa ในเซลล์ macrophage ชนิด RAW264.7 โดยบ่มเซลล์ดังกล่าวร่วมกับ VGPI-a ขนาด 31.25, 125 และ 500 มคก./มล. เป็นเวลานาน 24 ชม. พบว่า สาร VGPI-a ทุกขนาดไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อ macrophage และมีผลเหนี่ยวนำให้ macrophage กระตุ้นการสร้างและการแสดงออกของ nitric oxi...
ฤทธิ์ปกป้องตับของสาร
ฤทธิ์ปกป้องตับของสาร curcuminการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง heme oxygenase-1(HO-1)/carbon monoxide (CO) system และ lipid peroxidation ต่อการทำงานของตับและเอนไซม์ nitric oxide synthase-2 (NOS-2) โดยฉีดสาร curcumin เข้าทางช่องท้องของหนูแรทในขนาด 100 มก./กก. เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนที่หนูจะได้รับสาร D-galactosamine และ lipopolysaccharide เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ พบว่าสาร curcumin ทำให้ระดับของเอนไซม์ alanine aminotransferase (ALT) และ aspartate aminotransferase (AST) ในเลือดลดลง ซึ่ง ALT และ ...
ฤทธิ์ต้านการเกิดอะไมลอยด์ของสารสำคัญจากเมล็ดกาแฟ
ฤทธิ์ต้านการเกิดอะไมลอยด์ของสารสำคัญจากเมล็ดกาแฟการแยกสารสำคัญและพิสูจน์โครงสร้างด้วยเทคนิค NMR spectroscopy และ atomic force microscopy รวมทั้งศึกษาฤทธิ์ต้านการเกิดอะไมลอยด์ของสารสำคัญจากสาสกัดเมล็ดกาแฟชนิดยังไม่คั่ว (green coffee) และชนิดคั่วแล้ว (roasted coffee) พบว่า สารที่ออกฤทธิ์คือ 5-O-caffeoylquinic acid และ melanoidins ตามลำดับ และการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าสารทั้ง 2 ชนิดสามารถยับยั้งการเกิดอะไมลอยด์เบต้า (amyloid beta; Aβ) และปกป้องเซลล์ของระบบประสาทของมนุษย์ชนิด SH-SY5Y ได้ นอกจากนี...