Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของขิงและยา metoclopramide ในการป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนระหว่างและหลังการผ่าตัดคลอด

การศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง (spinal anesthesia) เพื่อผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง จำนวน 180 คน อายุ 18-40 ปี โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ 1 ได้รับยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน metoclopramide ขนาด 10 มก. โดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ และกลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาเม็ดขิง 2 เม็ด (ขนาดเทียบเท่ากับ 1 ก.) ครึ่งชั่วโมงก่อนได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง เปรียบเทียบผลโดยประเมินความถี่และความรุนแรงของอาการคลื่นไส้และอาเจียนระหว่างการผ่าตัด และที่ 2, 6, 12, และ 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม มีความถี่ของการคลื่นไส้ อาเจียน ระหว่างการผ่าตัด และที่ 2 และ 6 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด และความรุนแรงของการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ได้รับยา metoclopramide จะมีความดันโลหิต (systolic blood pressure) และค่าเฉลี่ยความดันความดันโลหิต (mean arterial pressure) ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับขิง สรุปได้ว่า ขิงมีผลช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องได้เหมือนกับยา metoclopramide

Obstet Gynecol Sci. 2020;63(2):173-80.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

231

รากอีเหนียวลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
รากอีเหนียวลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย การให้หนูขาวกินสารสกัดน้ำจากรากอีเหนียว ขนาด 3 มล./100 ก.นน. ทุกวัน นาน 30 วัน ก่อนที่จะถูกเหนี่ยวนำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายด้วย isoproterenol จะช่วยลดการเกิดภาวะดังกล่าวได้ โดยการไปลดเอนไซม์ creatinine phosphokinase, lactate dehydrogenase, alkaline phosphatase และ serum glutamate oxaloacetate transaminase ในกล้ามเนื้อหัวใจ เนื้อเยื่อตับ และซีรัม ลดคอเลสเตอรอลในเลือด LDL และเพิ่ม HDL โดยผ่านการทำงานชองเอนไซม์ 3-hydroxy 3-methyl glutaryl Co-enzyme (HMG CoA)...

1555

ผลของการรับประทานเนื้อผลมะขามต่อน้ำหนักตัวและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผลของการรับประทานเนื้อผลมะขามต่อน้ำหนักตัวและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดศึกษาผลของการรับประทานเนื้อผลมะขาม (Tamarindus indica) ต่อน้ำหนักตัวและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินจำนวน 40 คน ทั้งเพศชายและหญิง ทำการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ผู้ป่วยรับประทานเนื้อผลมะขามขนาด 10 ก. วันละ 2 ครั้ง พร้อมมื้ออาหาร นานติดต่อกัน 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มที่ 2 รับประทานอาหารปกติ (กลุ...

1534

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วง
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วงสารแอนโทไซยานินที่มีอยู่อย่างมากมายในหัวมันม่วง (purple sweet potato) สามารถจับกับโปรตีนในผลิตภัณฑ์อาหารด้วยพันธะ non-covalent หรือพันธะ covalent เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนได้ ซึ่งการจับกันนี้ สามารถเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษา การทดสอบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วงที่จับกับโปรตีน (protein-bound anthocyanin compounds of purple sweet potato (p-BAC-PSP, มีสารแอนโทไซยานิน 16.46 ± 3.36 มก.C3G/ก. และมีโปร...

973

ผลของสารสกัดจากใบฝรั่งต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเบาหวาน
ผลของสารสกัดจากใบฝรั่งต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเบาหวานการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ dipeptidyl-peptidase IV (DP-IV) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย ของสารในกลุ่ม flavonol glycosides ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเอทานอล/น้ำ (8/2) จากใบฝรั่ง (Psidium guajava  L.) ในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถยับยั้งเอนไซม์ DP-IV ได้ โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 380 มคก./มล. ซึ่งการยับยั้งเอนไซม์ DP-IV นี้ จะส่งผลให้เซลล์เกิดการหลั่งอินซูล...

670

ฤทธิ์ในการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ของสาร
ฤทธิ์ในการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ของสาร EGCG จากชาเขียวPhytother Res 2010;24:1065-70. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

528

ผลของควันบุหรี่ต่อระบบบสืบพันธุ์
ผลของควันบุหรี่ต่อระบบบสืบพันธุ์การทดลองในหนูเม้าท์เพศผู้ อายุ 6-8 สัปดาห์ โดยให้ได้รับควันบุหรี่โดยตรง (Mainstream, MS) และแบบโดยอ้อม (Sidestream, SS) ขนาด 3 มวน/วัน หรือ 16 มวน/วัน เป็นเวลา 14 วัน พบว่าเมื่อเทียบกับหนูปกติ ในกลุ่ม SS การเคลื่อนที่ของตัวอสุจิลดลง ในขณะที่กลุ่ม MS เกิดการแตกของสายดีเอ็นเอในตัวอสุจิ และทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะของตัวอสุจิที่ผิดปกติ และหลังการผสมพันธุ์พบว่า ในกลุ่ม SS การปฏิสนธิลดลง ในขณะที่กลุ่ม MS มีการปฏิสนธิลดลงร่วมกับความผิดปกติของพัฒนาการในตัวอ่อน ซึ่งผลดังกล่าวแ...

63

ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดจากเทียนดำ
ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดจากเทียนดำ สาร 2-(2-methoxypropyl)-5-methyl-1,4-benzenediol ซึ่งเป็นสารชนิดใหม่และสารที่เคยพบมาแล้ว 2 ชนิด คือ thymol , carvacrol ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเมธานอลของเมล็ดเทียนดำ ( Nigella sativa Linn.)และอนุพันธ์อะเซททิเลตของสารทั้งสาม (acetylated derivatives) แสดงฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดที่เหนี่ยวนำด้วย arachidonic acid ซึ่งฤทธิ์ในการยับยั้งมากกว่า aspirin 30 เท่าBiol Pharm Bull 2001 ; 24(3) : 307-10 ...

1453

ประสิทธิผลทางคลินิคของฮ่อมในรูปแบบยาทาเฉพาะที่สำหรับโรคสะเก็ดเงินระยะปานกลาง
ประสิทธิผลทางคลินิคของฮ่อมในรูปแบบยาทาเฉพาะที่สำหรับโรคสะเก็ดเงินระยะปานกลางฤทธิ์ในการบรรเทาอาการโรคสะเก็ดเงินระยะปานกลางของฮ่อมหรือผงครามธรรมชาติ (Indigo naturalis) ซึ่งสกัดได้จากต้นฮ่อม (Baphicacanthus cusia Nees) ได้มีการศึกษาทางคลินิคแบบสุ่ม ชนิดปกปิดสองทาง และมีกลุ่มควบคุม (randomized, double-blind, placebo-controlled trial) ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินระยะปานกลาง จำนวน 24 คน โดยแบ่งให้ทาขี้ผึ้งที่ผสมผงคราม ความเข้มข้น 1 ส่วนต่อเนื้อขี้ผึ้ง 10 ส่วน จำนวน 16 คน และให้ทายาหลอก จำนวน 8 คน ทาบริเวณผ...

252

เทียนเยาวพานีหรือผักชีฝรั่งกับฤทธิ์ปกป้องตับในหนูที่เป็นเบาหวาน
เทียนเยาวพานีหรือผักชีฝรั่งกับฤทธิ์ปกป้องตับในหนูที่เป็นเบาหวาน ในตำรายาแผนโบราณทั่วโลกโดยเฉพาะตุรกีมีการใช้ใบเทียนเยาวพานีหรือผักชีฝรั่ง (parsley) รักษาโรคเบาหวาน จากการศึกษาทางพฤกษเคมีพบว่าเทียนเยาวพานีมีสารสำคัญคือ flavanoids, ascorbic acid, น้ำมันหอมระเหย, coumarines, phthalides, furanocoumarins และ sesquiterpenes เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในระยะยาวมักเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจรวมทั้งอวัยวะที่สำคัญ ในการศึกษานี้จึงนำสารสกัดใบแห้งด้วยน้ำร้อนของเที...