Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของขิงต่อระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การศึกษาในหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งตรวจสอบด้วยวิธีวัดความทนต่อน้ำตาล (Impaired glucose tolerance test: IGT) จำนวน 70 คน อายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ได้รับยาเม็ดขิง ขนาด 3 เม็ดต่อวัน หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น (เท่ากับ 1.5 ก./วัน) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาเม็ดขิงจะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting blood sugar) ระดับอินซูลิน และ Homeostasis Model Assessment (HOMA) index ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาวะ การดื้อต่ออินซูลินลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก แต่ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง (2-hour postprandial blood sugar) ในทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน แสดงว่าการรับประทานยาเม็ดขิง มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ระดับอินซูลิน และ HOMA index ในหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลดลงได้ แต่ไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง

BMC Complement Med Ther. 2020;20:116. doi: 10.1186/s12906-020-02908-5.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

853

สารสำคัญจากบอระเพ็ดกับภาวะเบาหวานในหนูเม้าส์
สารสำคัญจากบอระเพ็ดกับภาวะเบาหวานในหนูเม้าส์การทดสอบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสาร borapetoside C ซึ่งแยกได้จากบอระเพ็ด โดยการฉีดสารดังกล่าวขนาด 5 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ปกติที่ได้รับน้ำตาลกลูโคส 2 ก./กก. หนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 (T1DM) และหนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (T2DM) เปรียบเทียบผลกับการฉีดอินซูลิน 0.5 IU/กก. พบว่าสาร borapetoside C สามารถเพิ่มระดับของไกโคเจนในกล้ามเนื้อลายของหนูกลุ่ม T2DM ได้ดี แต่เพิ่มได้น้อยในหนูกลุ่ม T1DM และเมื่อทดสอบฉีดสาร borapetoside C ในข...

1258

ผลของการบริโภคชาเขียวต่อมะเร็งตับ
ผลของการบริโภคชาเขียวต่อมะเร็งตับการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ที่รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยการศึกษาในมนุษย์ จากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า (prospective cohort study) ทั้งหมด 9 การศึกษา ที่ทำการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคชาเขียวในประเทศจีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ในประชากรปกติ465,274 คน และประชากรที่เป็นมะเร็งตับ 3,694 คน ผลการศึกษาสรุปว่าการดื่มชาเขียวในปริมาณสูง (มากกว่า 1 แก้วต่อวัน) ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับอย่างนัยสำคัญ ด้วยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk: RR) 0.88, ค่าความเชื่อมั่...

1197

ฤทธิ์เพิ่มความจำและบรรเทาความเครียดของเสาวรสลิ้นงู
ฤทธิ์เพิ่มความจำและบรรเทาความเครียดของเสาวรสลิ้นงูการศึกษาฤทธิ์เพิ่มความจำและบรรเทาความเครียดของสารสกัด 60% เอทานอลจากเสาวรสลิ้นงู (Passiflora incarnate ; passionflower) ในหนูแรท โดยให้กินสารสกัดในขนาด 30, 100, 300 มก./กก. นน.ตัว/วัน ผ่านทางน้ำดื่ม เป็นเวลา 7 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบด้วย water maze และวัดระดับของกรดอะมิโน (amino acids), สารโมโนเอมีน (monoamines), และอนุพันธ์ต่างๆ ในสมองด้วย high performance liquid chromatography (HPLC) พบว่าหนูที่รับสารสกัดมีความวิตกกังวลลดลง มีความจำดีขึ้นเมื่...

1051

ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปสและลดความอ้วนของโกฐเขมา
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปสและลดความอ้วนของโกฐเขมาสารสกัดเอทานอลจากเหง้าโกฐเขมา (Atractylodes lancea ) และสาร atractylodin ที่แยกได้จากสารสกัด มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อน โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 9.06 มคก./มล. และ 39.12 ไมครโมล ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดเอทานอลมาศึกษาฤทธิ์ลดความอ้วนในหนูเม้าส์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคอ้วนด้วยอาหารไขมันสูง โดยให้สารสกัด ขนาด 250 และ 500 มก./กก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดที่ขนาด 500 มก./กก. จะมีผลปานกลางในการลดน้ำหนักตัวของหนูPlanta Med 2014;80:577-82. ...

792

ฤทธิ์ต้านเอนไซม์
ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ อีลาสเตส ไฮยาลูโรนิเดส และเมทริก เมตาโลโปรติเนสของสารสกัดจากดอกดาวเรืองใหญ่สารสกัดเมทานอล ส่วนสกัดของเอทิลอะซิเตด เอ็น-บิวทานอล และน้ำของดอกดาวเรืองใหญ่ มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (hyaluronidase) อีลาสเตส (elastase) และเมทริก เมตาโลโปรติเนส (MMP-1) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนในชั้นผิวหนังทำให้ผิวแห้ง เหี่ยว การยืดหยุ่นของผิวหนังไม่ดี จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า สารสกัดเมทานอลจากดอกดาวเรืองใหญ่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส และอีลาสเตส โดยที่ IC50 (ความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ต้า...

174

ฤทธิ์กดประสาทของ
ฤทธิ์กดประสาทของ barakol Barakol ซึ่งสกัดได้จากใบขี้เหล็ก มีฤทธิ์ยับยั้งประสาทส่วนกลาง ทำให้ลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ทำให้หลับมากขึ้น และเมื่อทดสอบหากระบวนการออกฤทธิ์ พบว่าไม่ได้เกิดผ่าน GABA หรือ glycine และ barakol ไม่มีฤทธิ์ต้านการซึม และมีฤทธิ์ลดการหลั่ง dopamine จึงเป็นไปได้ว่าฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางเนื่องมาจากการลดการหลั่ง dopamine นั่นเอง J Ethnopharmacol 2002;83:87-94 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสต...

912

ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของสาร capsaicinการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร capsaicin ซึ่งเป็นสารสำคัญที่อยู่ในพืชตระกูลพริก โดยการเหนี่ยวนำให้เซลล์ THP-1 (human acute monocytic leukemia cell) macrophages เกิดการแสดงออกของยีน macrophage inflammatory protein 1 (MIP-1) และ interleukin 8 (IL-8) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ โดยการให้เซลล์ได้รับ palmitate (กรดไขมันอิสระชนิดหนึ่ง) แล้วเปรียบเทียบผลระหว่างการที่เซลล์ได้รับและไม่ได้รับสาร capsaicin พบว่าสาร capsaicin สามารถยับยั้งการแสดงออกของยีน MIP-1 แล...

1436

ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดจากใบกระท่อม
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดจากใบกระท่อมการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเมทานอลจากใบกระท่อม (Mitragyna speciosa) ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูแรทโดยใช้แบบจำลองที่ชักนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ การทำให้เกิดความเครียดด้วยการแช่น้ำ (water immersion restraint stress), แอลกอฮอล์ และ acetylsalicylic acid และการชักนำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน (reflux esophagitis) ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดขนาด 200 และ 400 มก./กก. สามารถลดขนาดของแผลในกระเพาะอาหาร (ulcer Index) ที่เกิดจาก...

392

ผลยับยั้งการสร้าง
ผลยับยั้งการสร้าง melanin ของสาร macelignan จากจันทน์เทศสาร macelignan ที่แยกได้จากเหง้าจันทน์เทศ ความเข้มข้น 10 - 50 μM มีผลยับยั้งการสร้าง melanin และยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ได้ เมื่อทดสอบในเซลล์ melan-a melanocytes ของหนู โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งฤทธิ์ได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 13 และ 30 μM ตามลำดับ และให้ผลดีกว่าสาร arbutin นอกจากนี้ยังมีผลลดการแสดงออกของ tyrosinase, tyrosinase-related protein-1 (TRP-1) และ tyrosinase-related protein-2 (TRP-2)Biol Pharm Bull 2008;31(5):986-9 ...