-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
สารสกัดดอกคาโมมายล์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระอันเนื่องมาจากการติดเชื้อพยาธิในลำไส้
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
สารสกัดดอกคาโมมายล์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระอันเนื่องมาจากการติดเชื้อพยาธิในลำไส้
ศึกษาฤทธิ์ฆ่าพยาธิ Heligmosomoides polygyrus ของสารสกัดเมทานอลจากดอกคาโมมายล์ (Matricaria recutita L.) ในจานเพาะเลี้ยงตัวอ่อนระยะที่ 3 เปรียบเทียบกับยาฆ่าพยาธิ albendazole (in vitro) และศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และฆ่าพยาธิของดอกคาโมมายล์ในหนูเม้าส์ที่ถูกทำให้ติดเชื้อพยาธิในลำไส้ด้วยการให้ตัวอ่อนระยะที่ 3 ของพยาธิ H. polygyrus ผ่านทางสารสวนกระเพาะอาหาร (in vivo) โดยป้อนสารสกัดเมทานอลดอกคาโมมายล์ขนาดวันละ 200 400 และ 800 มก./กก. ให้แก่หนูเม้าส์ในวันที่ 18-21 หลังจากการป้อนตัวอ่อนพยาธิ เปรียบเทียบกับการใช้ยา albendazole ขนาดวันละ 100 มก./กก. หลังจากป้อนสารสกัดดอกคาโมมายล์และยาฆ่าพยาธิ 7 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดหนูเพื่อวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมี ชำแหละซากหนูและเก็บตัวอย่างลำไส้เพื่อตรวจนับจำนวนพยาธิตัวเต็มวัย ผลจากการศึกษาพบว่า สารสกัดเมทานอลจากดอกคาโมมายล์มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิ H. polygyrus ทั้งในการศึกษาแบบในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง โดยขึ้นอยู่กับขนาดความเข้มข้น (dose-dependent) เช่นเดียวกับการใช้ยา albendazole และผลจากการวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมีในเลือดหนูพบว่า การป้อนสารสกัดเมทานอลดอกคาโมมายล์และยา albendazole ทุกขนาด มีผลลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบได้แก่ tumor necrosing factor-α (TNF-α), interleukin-6 (IL-6) และ interleukin-1β (IL-1β) นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเกิดนอนุมูลอิสระได้แก่ superoxide dismutase (SOD), catalase (CAT) และ glutathione peroxidase (GPx) และลดระดับ malondialdehyde (MDA) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงการเกิดปฏิกิริยาออกซิดชั่นของไขมันสาเหตุหนึ่งของการเกิดอนุมูลอิสระ ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดเมทานอลจากดอกคาโมมายล์มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิ H. polygyrus ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบอันมีสาเหตุเนื่องมาจากการติดเชื้อพยาธิชนิดดังกล่าวได้
Acta Parasitol. 2019;64:152-61.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของยางจากหยูเฮียง
ผลของยางจากหยูเฮียง (Mastic gum) ต่อเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pyloriการศึกษาผลของยางจากหยูเฮียง (Mastic gum) ต่อเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยทำการทดลองในผู้ป่วยจำนวน 52 คน ที่มีการทดสอบแล้วว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดดังกล่าว แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 13 คน กลุ่มที่หนึ่งให้รับประทานยางจากหยูเฮียงซึ่งบดเป็นผงอัดแคปซูลปริมาณ 350 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 14 วัน กลุ่มที่สอง รับประทานผงบดยางจากหยูเฮียง อัดแคปซูลปริม...
อันตรกิริยาของใบหม่อนกับยารักษาเบาหวาน
อันตรกิริยาของใบหม่อนกับยารักษาเบาหวาน metforminการศึกษาอันตริกิริยาของสารสกัดน้ำจากใบหม่อน (Morus alba L.) กับยารักษาเบาหวาน metformin ในหนูแรทที่เป็นเบาหวานจากการเหนี่ยวนำด้วย streptozotocin ทำการทดสอบด้วยการป้อนสารสกัดน้ำจากใบหม่อน ขนาด 600 มก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 3 สัปดาห์ จากนั้นป้อนยา metformin ขนาด 25-100 มก. ให้แก่หนูแรทเบาหวาน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดใบหม่อนในช่วง 3 สัปดาห์แรกมีผลลดระดับตาลลง 24% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำเปล่า และการป้อนยา metformin หลังการได้รับสารสกัดใบหม...
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดด้วยน้ำร้อนจากเมล็ดลูกซัด(Trigonella foenum graceum) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยการป้อนยา indomethacin ขนาด 20 มก./กก.) แบ่งหนูแรทเป็นกลุ่มต่าง ๆ คือ กลุ่มที่ป้อนสารสกัด ขนาด 200, 400 มก./กก. และกลุ่มที่ป้อนยา rantidine ขนาด 30 มก./กก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุมที่เป็นหนูปกติ และหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารแต่ไม่ได้รับสารสกัด พบว่าห...
ฤทธิ์ต้านปวดและแก้ไข้ของยาเม็ดฟ้าละลายโจร
ฤทธิ์ต้านปวดและแก้ไข้ของยาเม็ดฟ้าละลายโจรการศึกษาฤทธิ์ต้านอาการปวดและแก้ไข้ของยาเม็ดฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm. F.) Nees.) ที่เตรียมจากชั้นส่วนสกัดเอทิลอะซีเตทฟ้าทะลายโจร (AS201-01) ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอาการปวดในหนูเม้าส์ โดยแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 ได้รับยา diclofenac sodium ขนาด 40 มก./กก. และกลุ่มที่ 3-5 ป้อนด้วยยาเม็ดฟ้าทะลายโจรที่มีขนาดของสารแอนโดรกราโฟไลด์เท่ากับ 12.5, 25 และ 50 มก./กก. ตามลำดับ โดยป้อนที่เวลา 30 นาทีก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิ...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากใบมะรุม
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากใบมะรุมการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของส่วนสกัด 1, 2 และ 3 ที่แยกได้จากสารสกัดเอทานอลจากใบมะรุม โดยทดลองในเซลล์ค้ำจุนระบบประสาทไมโครเกลีย (microglia) ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารไลโปโพลีแซคคาไรด์ ความเข้มข้น 0.1 มคก./มล. พบว่าส่วนสกัดทั้ง 3 ส่วน ที่ความเข้มข้น 10-11, 10-10, 10-9, 10-8, และ 10-7 มก./มล. มีผลลดการหลั่งไนตริกออกไซด์ได้ 20 - 60% โดยส่วนสกัดที่ 3 จะให้ผลดีที่สุด แสดงว่าสารสกัดเอทานอลจากใบมะรุมอาจมีผลลดการอักเสบได้ 37th Congress on Science and Technology of Th...
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลของผลมะขามป้อม
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลของผลมะขามป้อม สารสกัดผลมะขามป้อมด้วยเมธานอลสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเฉียบพลันเนื่องจากแอสไพริน อัลกอฮอล์ ความเย็น และยังป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังโดยกรดน้ำส้ม โดยใช้สารสกัด 20 มก./กก.แก่หนูขาว วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน และ 10 วัน พบว่าได้ผลดี กระบวนการออกฤทธิ์ผ่านการลดปริมาณกรด ปริมาณเปปซิน แต่ปริมาณมิวซินเพิ่มขึ้น และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ J Ethnopharmacol 2002;82:1-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนัก...
คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ
คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ ผู้ป่วยโรคลมชักมักมีปัญหาการเรียนรู้และความจำ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากพยาธิสภาพของโรคเอง และจากยาที่ใช้รักษา การทดลองให้ยารักษาโรคลมชัก เฟนิโตอิน (phenytoin) แก่หนูถีบจักรในขนาด 25 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันนาน 14 วัน มีผลลดการเรียนรู้และความจำ แต่เมื่อให้สารสกัดอัลกอฮอล์จากพรมมิ (Bacopa monnieri Pennell) ร่วมด้วยทุกวันในขนาด 40 มก./กก. น้ำหนักตัว โดยให้ตลอดสัปดาห์ที่สองของการให้ยาเฟนิโตอิน...
ลูกซัดกับโรคพาร์กินสัน
ลูกซัดกับโรคพาร์กินสันการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองฝ่าย เทียบกับยาหลอก (Double-blind placebo-controlled clinical study) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดมาตรฐานของลูกซัด (Trigonella foenum-graecum Phytother Res 2014;28:172-8. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
สารสกัดเฮกเซนจากพญายอเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งมนุษย์แบบ
สารสกัดเฮกเซนจากพญายอเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งมนุษย์แบบ apoptosis ผ่านทางเอนไซม์ caspaseการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งมนุษย์ของสารสกัดเฮกเซน คลอโรฟอร์ม เอทิลอะซีเตต เมทานอล และน้ำจากใบและลำต้นของพญายอ (Clinacanthus nutans) โดยทดลองในเซลล์มะเร็งปอด (non-small cell lung cancer; A549) มะเร็งหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal carcinoma epithelioid cell; CNE1) และมะเร็งตับ (liver cancer; HepG2) พบว่าสารสกัดเฮกเซนและคลอโรฟอร์ม ความเข้มข้น 25-200 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของ...