Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วง

สารแอนโทไซยานินที่มีอยู่อย่างมากมายในหัวมันม่วง (purple sweet potato) สามารถจับกับโปรตีนในผลิตภัณฑ์อาหารด้วยพันธะ non-covalent หรือพันธะ covalent เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนได้ ซึ่งการจับกันนี้ สามารถเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษา การทดสอบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วงที่จับกับโปรตีน (protein-bound anthocyanin compounds of purple sweet potato (p-BAC-PSP, มีสารแอนโทไซยานิน 16.46 ± 3.36 มก.C3G/ก. และมีโปรตีน 62.50 ± 0.09%) และสารแอนโทไซยานินอิสระ (free anthocyanin compounds of purple sweet potato; FAC-PSP, มีสารแอนโทไซยานิน 40.74 ± 2.88 มก.C3G/ก.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดเบาหวานด้วยอาหารไขมันสูง โดยหนูจะได้รับ p-BAC-PSP ขนาด 500 มก./กก. หรือ FAC-PSP ขนาด 200 มก./กก. (เพื่อให้มีปริมาณของสารแอนโทไซยานินใกล้เคียงกัน) พบว่า p-BAC-PSP และ FAC-PSP สามารถบรรเทาความผิดปกติที่เกิดจากเบาหวานได้ โดยทำให้ความสามารถในการทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) และการเผาผลาญไขมัน (lipid metabolism) ดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้การเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) และการถูกทำลายของตับ ลดลงด้วย การศึกษากลไกการออกฤทธิ์พบว่า p-BAC-PSP และ FAC-PSP เหนี่ยวนำให้การแสดงออกของ AMP-activated protein kinase ในตับเพิ่มขึ้น การทำงานของ glucose transporter type 2, ระดับโปรตีนของ glucokinase, และการทำงานของ insulin receptor α ดีขึ้นอย่างชัดเจน (p < 0.05) ยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคส (glycolysis) ได้แก่ phosphofructokinase และ pyruvate kinase เพิ่มจำนวนขึ้น ส่วนยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส (gluconeogenic) ได้แก่ glucose-6-phosphatase และ phosphoenolpyruvate carboxykinase ลดจำนวนลง โดย p-BAC-PSP และ FAC-PSP มีประสิทธิภาพในการลดน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกัน ซึ่งคาดว่าเกิดจากการออกฤทธิ์ของสารแอนโทไซยานิน แต่ p-BAC-PSP มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบจึงทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สารแอนโทไซยานินจากมันม่วงอาจนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการลดน้ำตาลในเลือดของคนทั่วไป ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน และผู้ป่วยเบาหวานได้

J Agric Food Chem. 2020;68(6):1596-608.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

705

ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของสาร
ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของสาร (-) Epicatechin จากชาเขียวในเซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร (-) Epicatechin จากชาเขียวในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วย และคัดแยกเอาเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) มาวิเคราะห์หาค่าดัชนีชี้วัด (biomarker) ของการเกิดภาวะเครียด หรือเกิดสารต้านอนุมูลอิสระขึ้น ได้แก่ malondialdehyde (MDA), reduce glutathione (GSH), membrane sulfhydryl (-SH) group และปริมาณของโปรตีนคาร์บอนิล (carbonyl content)...

491

สารต้านอาการซึมเศร้าจากชะเอมจีน
สารต้านอาการซึมเศร้าจากชะเอมจีนการทดลอง Forced Swimming Test (FST) และ Tail Suspension Test (TST) ในหนูเม้าส์ ซึ่งเป็นการทดลองที่ใช้ในการประเมินฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้าของสารทดสอบ โดยใช้สาร liquiritin และ isoliquiritin จากชะเอมจีน (Glycyrrhiza uralensis  ) ขนาด 10, 20 และ 40 มก./กก. พบว่าที่ขนาดดังกล่าวสามารถทำให้หนูมีการเคลื่อนไหวได้หลังการให้เป็นเวลา 30 นาที ซึ่งฤทธิ์ของสารทั้ง 2 ไม่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีการกระตุ้นสารสื่อประสาทชนิด monoamine ในบริเวณสมองหนู โดยเพิ่ม...

580

ผลของสาร
ผลของสาร catechins จากชาเขียวต่อตับที่ผิดปกติจากการได้รับอาหารซึ่งเหนี่ยวนำให้หลอดเลือดแข็งตัวในหนูการทดสอบผลของสารในกลุ่ม catechins (GTC) ซึ่งมีสาร epigallocatechin gallate (EGCG) เป็นสารสำคัญจากชาเขียว (Camellia sinensis  ) ในหนูแรทที่มีภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและตับผิดปกติจากการได้รับอาหารที่เหนี่ยวนำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว (atherogenic diet) เป็นเวลา 30 วัน ซึ่งทำให้หนูมีระดับค่าเฉลี่ยของสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น catalase, superoxide dismutase, glutathione peroxidase, glutathione-S-transferas...

1056

ฤทธิ์ลดไขมันของสาร
ฤทธิ์ลดไขมันของสาร zerumbone จากกระทือ (Zingiber zerumbet )ศึกษาฤทธิ์ลดไขมันของสาร zerumbone จากเหง้ากระทือ (Zingiber zerumbet Food Chem Toxicol 2014; 69: 132-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

213

ฤทธิ์ขับปัสสาวะของดอกผักคราดหัวแหวน
ฤทธิ์ขับปัสสาวะของดอกผักคราดหัวแหวน ในประเทศศรีลังกามีการใช้ดอกผักคราดหัวแหวนในการขับปัสสาวะ นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทดลองนำสารสกัดด้วยน้ำเย็น มาทดลองในขนาด 500, 1000, 1500 มก./กก. เปรียบเทียบกับน้ำ และยาขับปัสสาวะ furosemide (13 มก./กก.) พบว่ามีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และออกฤทธิ์ภายใน 1 ช.ม. และฤทธิ์อยู่นาน 5 ช.ม. ลักษณะการขับปัสสาวะในชั่วโมงแรกคล้ายผลของ furosenide และยังเพิ่ม Na+ และ K+ ในปัสสาวะ กระบวนการออกฤทธิ์อาจผ่าน ADH releaseJ Ethnopharmacol 2004;91(2-3):317-20 ข้อมูล...

386

ชาเขียวป้องกันอนุมูลอิสระในคนที่ออกกำลังกายแบบเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ชาเขียวป้องกันอนุมูลอิสระในคนที่ออกกำลังกายแบบเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อผลการศึกษาพบว่าในกลุ่มควบคุม การออกกำลังกายไม่มีผลต่อระดับ lipid hydroperoxide, lipid peroxidation และความสามารถต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant capacity) ถึงแม้ว่าจะไปลดระดับ glutathione การออกกำลังกายจะเพิ่มระดับ creatine kinase, aspartate aminotransferase และ xanthine oxidase แต่ไม่มีผลต่อ hypoxanthine และ uric acid ในกลุ่มที่ดื่มชาเขียวจะพบว่า หลังออกกำลังกายระดับ lipid hydroperoxide ลดลง และเพิ่ม polyphenols, glutath...

166

ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของผักเสี้ยนผี
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของผักเสี้ยนผี เมื่อนำสารสกัดเมทานอลของผักเสี้ยนผีทั้งต้น ไปทดสอบในหนูขาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านการบีบตัว และขับเคลื่อนของเสียออกจากร่างกายอย่างแรง จึงเป็นไปได้ว่าสารสกัดผักเสียนผีมีฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียได้จริงตามที่มีการใช้ในยาแผนโบราณ Phytomedicine 2002;9:739-2 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

713

ผลของสารสกัดยอด้วยน้ำต่อการอักเสบของหลอดอาหารและแผลในกระเพาะอาหารในหนูแรทเมื่อเทียบกับสาร
ผลของสารสกัดยอด้วยน้ำต่อการอักเสบของหลอดอาหารและแผลในกระเพาะอาหารในหนูแรทเมื่อเทียบกับสาร scopoletin ในลูกยอการศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่หลอดอาหารด้วยการผูกที่ตำแหน่ง pylorus ของกระเพาะอาหาร และผูกช่วงระหว่าง forestomach และ corpus ของกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารอย่างเฉียบพลันด้วยเอทานอล และ seratonin และเกิดแผลในกระเพาะอาหารชนิดเรื้อรังด้วยกรดน้ำส้ม แบ่งหนูแต่ละประเภทแรทออกป็น 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำขนาด 5 มล./กก.ทางสายยางสู่กระเพาะอาห...

492

เปลือกมะม่วง
เปลือกมะม่วง แตงไทย แตงโม มีฤทธิ์ต้านภาวะ hypothyroidismการทดสอบฤทธิ์ในการควบคุม lipid peroxidation ในเนื้อเยื่อ หน้าที่ของ thyroid การเผาผลาญไขมันและน้ำตาลกลูโคสในหนูแรทพบว่า สารสกัดเมทานอลจากเปลือกของมะม่วง แตงไทย และแตงโม ขนาด 200, 100 และ 100 มก./กก. เมื่อให้หนูแรทกินเป็นเวลา 10 วัน มีผลยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในเนื้อเยื่อตับ ไต และหัวใจ เพิ่มระดับของ triiodothyronine (T3) และ thyroxin (T4) ในเลือด และเมื่อให้สารสกัดทั้ง 3 ร่วมการยา propylthiouracil (PTU) ซึ่งเป็นยาที่มีผลทำให้เกิ...