-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารของเมล็ดอะโวคาโด
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารของเมล็ดอะโวคาโด
การศึกษาฤทธิ์ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดจากเมล็ดอะโวคาโด (Persea americana Mill.) โดยป้อนหนูเมาส์ด้วยสารสกัดเอธิลอะซีเตทจากเมล็ดอะโวคาโดขนาด 10, 35 และ 75 มก./กก.น้ำหนักตัว ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยการป้อนยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) ขนาด 40 มก./กก.น้ำหนักตัว พบว่าสารสกัดจากเมล็ดอะโวคาโดลดการเกิดความเครียดออกซิเดชั่น (oxidative stress) โดยลดการออกซิเดชั่นของไขมัน (lipid peroxidation) ลง 90% และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ superoxide dismutase ขึ้น 4.25 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาอินโดเมทาซินเพียงอย่างเดียว รวมถึงออกฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลและลดขนาดของแผลได้ 92% ซึ่งให้ผลดีกว่ากลุ่มควบคุมบวกที่ได้รับยารักษาโรคกระเพาะอาหารแลนโซพราโซล (lansoprazole) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าสารสำคัญในสารสกัดดังกล่าว คือ (−)-epicatechin และ (+)-catechin และสารประกอบฟีนอลิกอื่นๆ เช่น caffeoylquinic acid, flavonoids, phenylpropanoids และ tannins ซึ่งต่างมีส่วนช่วยในการยับยั้งกระบวนการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร จากการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่าเมล็ดอะโวคาโดสามารถนำไปใช้ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้
Food Res Int. 2019;119:751-60.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของแมงลักคา
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของแมงลักคา การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดเอทานอลของต้นแมงลักคา พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เหนี่ยวนำด้วย carageenan เมื่อป้อนให้หนูในขนาด 400 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับยาต้านอักเสบ Ibuprofen ขนาด 100 มก./กก. และยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย Indian Drug 2002;39(11):574-7 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วง
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วงสารแอนโทไซยานินที่มีอยู่อย่างมากมายในหัวมันม่วง (purple sweet potato) สามารถจับกับโปรตีนในผลิตภัณฑ์อาหารด้วยพันธะ non-covalent หรือพันธะ covalent เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนได้ ซึ่งการจับกันนี้ สามารถเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษา การทดสอบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วงที่จับกับโปรตีน (protein-bound anthocyanin compounds of purple sweet potato (p-BAC-PSP, มีสารแอนโทไซยานิน 16.46 ± 3.36 มก.C3G/ก. และมีโปร...
ผลของสารสกัดจากหญ้าฝรั่นกับการควบคุมน้ำหนัก
ผลของสารสกัดจากหญ้าฝรั่นกับการควบคุมน้ำหนักการศึกษาในอาสาสมัครเพศหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (ดรรชนีมวลกาย = 25 - 28 กก./ม2) อายุระหว่าง 25 - 45 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้รับประทานแคปซูลสารสกัดจากหญ้าฝรั่น (ปริมาณสารสกัดเท่ากับ 88.25 มก./แคปซูล) ขนาด 2 แคปซูล/วัน, เช้า - เย็น จำนวน 31 คน และกลุ่มที่ให้ยาหลอก จำนวน 29 คน ทดลองนาน 8 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากหญ้าฝรั่นจะมีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่ากลุ่มยาหลอกหลังจาก 8 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังลดความถี่ในการกินจุบจิบ (snacking frequency...
ฤทธิ์บำรุงสมองของเมล็ดเทียนดำ
ฤทธิ์บำรุงสมองของเมล็ดเทียนดำการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานยาแคปซูลที่บรรจุเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa L.) ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง และกลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอกในขนาดเดียวกัน ใช้เวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่รับประทานเทียนดำจะมีความจำและการทำงานของสมองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก และที่ขนาดดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออวัยวะภายใน แสดงให้เห็นว่าเทียนดำมีฤทธิ์เพิ่มความจำให้กับผู้สูงอายุและน่าจะนำมาพัฒนาเ...
ฤทธิ์ของสาร
ฤทธิ์ของสาร Isoflavanquinone จากมะกล่ำตาหนู สาร Isoflavanquinone ที่แยกได้จากสารสกัดส่วนเหนือดินของมะกล่ำตาหนูด้วยคลอโรฟอร์มคือ abruquinone B และ abruquinone G สาร abruquinone B มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่เป็นสาเหตุของวัณโรค ด้วยความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ = 12.5 มคก./มล. ต้านเชื้อ Plasmodium fulciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรียด้วย IC50 = 1.5 มคก./มล. และเป็นพิษต่อเซลล์ KB และ BC cell lines ส่วนสาร abruquinone G มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Herpes simpl...
ผลของการบริโภคเชอร์รีเปรี้ยวต่อความจำ
ผลของการบริโภคเชอร์รีเปรี้ยวต่อความจำการศึกษาทางคลินิกแบบเฉียบพลัน มียาหลอก ปกปิดสองทาง ไขว้กลุ่ม และสุ่มแบบจตุรัสลาติน (An acute placebo-controlled, double-blinded, cross-over, randomized Latin-square design study) เพื่อทดสอบผลของการรับประทานเชอร์รีเปรี้ยว (Prunus cerasus*น้ำคั้นจากผลเชอร์รีเปรี้ยวชนิดเข้มข้นขนาด 60 มล. ประกอบด้วยสาร cyanidin-3-glucoside 68.0 ± 0.26 มก./ล. โดยมีปริมาณของสารประกอบฟีนอลิกเฉลี่ยเทียบเท่ากับสาร gallic acid (mean gallic acid equivalent) 160.75 ± 0.55 ม...
ฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา
ฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา Acanthamoeba ของน้ำมันหอมระเหยจากพืชการศึกษาฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา Acanthamoeba sp. ของน้ำมันหอมระเหยจากพืช 10 ชนิด ได้แก่ดีปลี (Piper retrofractum), พริกไทย (Piper nigrum), ช้าพลู (Piper sarmentosum), มะกรูด (Citrus hystrix), ส้มเขียวหวาน (Citrus reticulata), แก้ว (Murraya paniculata), เร่วน้อย (Amomum uliginosum), ขมิ้น (Curcuma longa), ขมิ้นอ้อย (Curcuma zedoaria), กระชาย (Kaempferia pandurata) ที่ความเข้มข้น 50 มก./มล. พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากดีปลี พริกไทย มะกรูด ขมิ้น และกระช...
ผลของควันบุหรี่ต่อระบบบสืบพันธุ์
ผลของควันบุหรี่ต่อระบบบสืบพันธุ์การทดลองในหนูเม้าท์เพศผู้ อายุ 6-8 สัปดาห์ โดยให้ได้รับควันบุหรี่โดยตรง (Mainstream, MS) และแบบโดยอ้อม (Sidestream, SS) ขนาด 3 มวน/วัน หรือ 16 มวน/วัน เป็นเวลา 14 วัน พบว่าเมื่อเทียบกับหนูปกติ ในกลุ่ม SS การเคลื่อนที่ของตัวอสุจิลดลง ในขณะที่กลุ่ม MS เกิดการแตกของสายดีเอ็นเอในตัวอสุจิ และทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะของตัวอสุจิที่ผิดปกติ และหลังการผสมพันธุ์พบว่า ในกลุ่ม SS การปฏิสนธิลดลง ในขณะที่กลุ่ม MS มีการปฏิสนธิลดลงร่วมกับความผิดปกติของพัฒนาการในตัวอ่อน ซึ่งผลดังกล่าวแ...
สาร
สาร xanthorrhizol จากว่านชักมดลูกยับยั้งเชื้อราฉวยโอกาสสาร xanthorrhizol จากว่านชักมดลูก (Curcuma xanthorrhizol ) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราฉวยโอกาส ได้แก่ Aspergillus flavus, A. fumigatus, A. niger, Fusarium oxysporum, Rhizopus oryzae และ Trichophyton mentagrophytes ด้วยความเข้มข้นของสารต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อราได้ (MIC) เท่ากับ 2, 2, 2, 4, 1 และ 1 มคก./มล. ตามลำดับ และความเข้มข้นของสารต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อราได้ (MFC) เท่ากับ 4, 4, 4, 8, 2 และ 2 มคก./มล.ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับย...