-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านอาการอ่อนล้าของโสมเกาหลีในผู้ป่วยอาการอ่อนล้าเรื้อรัง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านอาการอ่อนล้าของโสมเกาหลีในผู้ป่วยอาการอ่อนล้าเรื้อรัง
การศึกษาแบบสุ่มปกปิดสองทางในผู้ป่วยโรคอ่อนล้าเรื้อรัง (chronic fatigue) จำนวน 50 คน อายุ 19-65 ปี สุ่มแบ่งผู้ป่วยให้ได้รับสารสกัดจากโสมเกาหลี ขนาด 3 ก./วัน หรือยาหลอก เป็นเวลา 6 สัปดาห์ จากนั้นทำการประเมินผลลัพธ์หลักของระดับอาการอ่อนล้าของผู้ป่วยโดยใช้ Visual Analogue Scale (VAS) ด้วยการให้คะแนน 0-100 ความรุนแรงของอาการอ่อนล้าที่มีผลต่อร่างกายและจิตใจในชีวิตประจำวัน ด้วยแบบสอบถาม fatigue severity scale (FSS), Chalder fatigue severity questionnaire (CFSQ) และ stress response inventory (SRI) และประเมินผลลัพธ์รองด้านอาการซึมเศร้า การนอนหลับ และคุณภาพชีวิตด้วยแบบประเมิน Beck depression inventory (BDI), insomnia severity index (ISI) และ five-level EuroQol-5 Dimension (EQ-5D 5 L) ตามลำดับ ร่วมกับการตรวจวัดสารชีวเคมีในเลือด ได้แก่ derivatives of reactive oxygen metabolites (d-ROMs), thiobarbituric acid reactive species (TBARS), biological antioxidant potential (BAP), and superoxide dismutase (SOD) และระดับคอติซอลในน้ำลาย ผลการศึกษาพบว่าระดับความอ่อนล้าในอาสาสมัครลดลงทั้งในสองกลุ่มแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และไม่พบการเปลี่ยนแปลงในการประเมินผลลัพธ์ด้านอื่นๆ ในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์กลุ่มย่อยตามอายุของผู้ป่วย พบว่าค่า VAS ในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากโสมเกาหลีให้ผลดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปี จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าฤทธิ์ต้านอาการอ่อนล้าของโสมเกาหลีเกี่ยวข้องกับอายุของผู้ป่วย โดยให้ผลดีในผู้ป่วยวัยกลางคนที่มีอาการอ่อนล้าเรื้อรังแบบปานกลาง
Comp Ther Med. 2020;48:102246ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารของกรดน้ำ
ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารของกรดน้ำสารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดินของกรดน้ำ ขนาด 0.5 และ 1 ก./กก. มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อทดลองโดยการป้อนให้หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลด้วย 75% เอทานอล และ indomethacin การป้อนสารสกัดน้ำ ขนาด 0.5-2 ก./กก. ไม่มีผลต่อการบีบตัวของลำไส้เล็กหนูถีบจักร เมื่อให้สารสกัดน้ำ ขนาด 0.01-1 ก./กก. และส่วนสกัดด้วยบิวทานอล ขนาด 320 มก./กก. โดยการฉีดเข้าลำไส้เล็กส่วนต้นของหนูขาว และให้สารสกัดน้ำ ขนาด 0.5-1 ก./กก. โดยการฉีดเข้าลำไส้เล็กส่วนต้นของหนูถีบจักร พบว่ามีผลยับย...
ฤทธิ์ต้านไวรัสของสารสกัดจากต้นกล้วย
ฤทธิ์ต้านไวรัสของสารสกัดจากต้นกล้วยการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเฮกเซน อะซีโตน เอทานอล และน้ำ จากส่วนใบ ลำต้นเทียม และลำต้นใต้ดินของกล้วย (Musa spp.) สายพันธุ์ต่างๆ จำนวน 10 สายพันธุ์ ได้แก่ กล้วยหอมทอง, กล้วยตานี, กล้วยหิน, กล้วยเทพรส, กล้วยน้ำว้าค่อม, Cachaco, Pelipita, Fougamou, Petite Naine, Giant Cavendish และ Mbwazirume ต่อการต้านเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ เชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) เชื้อไวรัสไข้เหลือง (yellow fever virus) และเชื้อไวรัสมือเท้าปาก (enterovi...
การศึกษาทางคลินิกของฤทธิ์บรรเทาปวดจากผลกุหลาบ
การศึกษาทางคลินิกของฤทธิ์บรรเทาปวดจากผลกุหลาบการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดสองฝ่าย เทียบกับยาหลอก และทดลองให้ยาแบบสลับกลุ่มกัน (Randomized, double-blinded, placebo-controlled, crossover trial) เพื่อทดสอบฤทธิ์บรรเทาปวดบริเวณเข่าและสะโพก ของสารมาตรฐานที่เตรียมได้จากส่วนเมล็ดและเปลือกผลของกุหลาบพันธุ์ Rosa canina L (rose- hip powder; RHP) โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคกระดูกและข้ออักเสบจำนวน 30 คน ในระยะแรก (Phase 1) ผู้ป่วยจะรับประทานแคปซูลที่บรรจุ RHP ขนาด 0.5 ก. จำนวน 5 แคปซูล หรือยาหลอกที่ขนาดเดียว...
ผลของสาร
ผลของสาร phytoestrogen ในการสังเคราะห์และย่อยไขมัน daidzin, coumestrol และ zealenone เป็น phytoestrogen ที่พบในพืช ซึ่งมีผลต่อร่างกายหลายอย่าง พบว่าเมื่อทำสารทั้ง 3 นี้ และ estradiol ในขนาด 0.01, 0.1 และ 1 nM ไปทดสอบการเปลี่ยน glucose ไปเป็นไขมัน พบว่าสารทั้ง 4 มีผล ซึ่งผลของ daidzein และ coumestrol เนื่องมาจากการยับยั้งการย่อยแป้ง เมื่อนำมาทดลองกับการย่อยไขมัน พบว่า daidzein จะช่วยเร่งการย่อยไขมัน แต่ผลในเซลล์ที่กระตุ้นโดย epinephrine มีทั้งกระตุ้นและยับยั้งขึ้นกับขนาดที่ใช้ zea...
ผลของ
ผลของ exogenous ATP ของมะระ (Momordica charantia Linn.) ต่อการชักนำให้เกิดการยับยั้งการขนส่งน้ำตาล D-glucose, สาร L-tyrosine และของเหลวผ่านผนังลำไส้ของหนูขาวมะระ (Momordica charantia ) เป็นผักพื้นบ้านที่ทราบโดยทั่วกันว่ามีฤทธิ์ต้านเบาหวาน ฤทธิ์ช่วยระบาย และมีฤทธิ์ต้านเชื้อ งานวิจัยซึ่งศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดน้ำจากผลของมะระเกี่ยวกับการขนส่งน้ำตาล D-glucose, L-tyrosine และของเหลวผ่านผนังของลำไส้ของหนูขาว พบว่าการให้ ATP ร่วมกับการให้สารสกัดของมะระ จะทำให้ฤทธิ์ในการยับยั้งการขนส่ง D-glucose, L-...
ฤทธิ์ต้านพิษงูของสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ย
ฤทธิ์ต้านพิษงูของสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยในประเทศไนจีเรียมีการจ่ายเมล็ดของหมามุ่ยเพื่อใช้เป็นยาต้านพิษงูกัด ซึ่งมีการอ้างอิงว่าการกินหมามุ่ยเพียง 2 เมล็ด ก็สามารถออกฤทธิ์ต้านพิษงูไปได้นานถึง 1 ปี และการศึกษาฤทธิ์ต้านพิษงูของหมามุ่ย (Mucuna pruriens ) พบว่าสาร gpMucB ซึ่งเป็นโปรตีนในตระกูล Kunitz-type trypsin inhibitor ที่แยกได้จากสารสกัดน้ำของเมล็ดหมามุ่ย เป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ยับยั้งพิษงูPhytomedicine 2011;18: 887 - 95 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำน...
การแพ้ผักหวานบ้านแบบอนาไฟแลคติก
การแพ้ผักหวานบ้านแบบอนาไฟแลคติก (anaphylactic)ในผู้ป่วยที่แพ้ยางพารารายงานนี้เป็นรายงานฉบับแรกที่กล่าวถึงการเกิดภาวะอนาไฟแลคติกจากการรับประทานผักหวานบ้านในผู้ที่แพ้ยางพารา ซึ่งเป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 47 ปี อาชีพพยาบาลที่มีประวัติแพ้ถุงมือยางมา 6 ปี โดยมีอาการเป็นผื่นลมพิษทุกครั้งที่ใช้ถุงมือยางมาเป็นเวลา 5 ปี และมีอาการคันตา น้ำตาไหล ตาแดง แต่จะไม่เจ็บตา มาเป็นเวลา 3 ปี และมีประวัติเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในตอนเป็นเด็ก และหายไปเมื่อโตขึ้น หลังจากผู้ป่วยรับประทานผักหวานบ้านไป 30 นาที เกิดอาการ...
การได้รับโปรตีนจากถั่วเหลืองเข้มข้น
การได้รับโปรตีนจากถั่วเหลืองเข้มข้น มีผลลดระดับของ High-density lipoprotein cholesterol (HDL-C) ในเลือดการทดลองในหนูขาวอายุ 8 สัปดาห์ ซึ่งได้รับอาหารไขมันต่ำและไม่มี cholesterol โดยแบ่งหนูขาวเป็น4 กลุ่ม และให้ได้รับอาหาร 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีแหล่งของพลังงานจากโปรตีน 21% เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ 1 เป็นหนูที่ไม่ถูกตัดรังไข่ ได้รับโปรตีนจาก casein ขนาด 227 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 เป็นหนูที่ถูกตัดรังไข่ ได้รับโปรตีนจาก casein ขนาด 227 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กลุ่มที่ ...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำมันไพลที่เตรียมโดยการทอดในน้ำมันมะพร้าว
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำมันไพลที่เตรียมโดยการทอดในน้ำมันมะพร้าวการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำมันไพล (Phlai oil extract) ในหนูแรทซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่หูด้วย ethyl phenylpropiolate (EPP) โดยเตรียมสารสกัดน้ำมันไพลตามแบบวิธีดั้งเดิม คือ ทอดเหง้าไพลที่หั่นเป็นชิ้นบางๆ ในน้ำมันมะพร้าว ซึ่งใช้อุณหภูมิในการทอดแตกต่างกันสามระดับ คือ อุณหภูมิสูง: 240-260 °C, อุณหภูมิปานกลาง: 170-190 °C และอุณหภูมิต่ำ: 70-90 °C พบว่าสารสกัดน้ำมันไพลที่ใช้อุณหภูมิสูง ขนาด 20 มคล./หู...