Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของสารสกัดเมล็ดกาแฟดิบต่อระดับฮอร์โมน adiponectin และดัชนีไขมันในผู้ป่วยไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ปกปิดสองทาง (randomized, double-blind, placebo-controlled clinical trial) ในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอกอฮอล์ (nonalcoholic fatty liver disease; NAFLD) อายุ 20-60 ปี จำนวน 44 คน สุ่มแบ่งกลุ่มให้รับประทานสารสกัดไฮโดร-แอลกอฮอล์จากเมล็ดกาแฟดิบ ขนาด 200 มก. วันละ 2 แคปซูล (ในหนึ่งแคปซูลมีสาร chlorogenic acid 100 มก. และมีคาเฟอีน <2%) หรือยาหลอก เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากการประเมินระดับเอนไซม์ในตับ ดัชนีไขมัน ระดับฮอร์โมน adiponection และการสะสมไขมันในตับในอาสาสมัครเปรียบเทียบก่อนและหลังการรับประทาน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมล็ดกาแฟดิบมีดัชนีมวลกายลดลง [95%CI = -0.57 (0.88-1.87), p < 0.001] ระดับคอเลสเตอรอลชนิด HDL เพิ่มขึ้น [95%CI = 7.06 (0.25-13.87), p < 0.05] ระดับคอเลสเตอรอลรวมและไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามผลการเปลี่ยนแปลงระดับคอเลสเตอรอลรวมและไตรกลีเซอร์ไรด์ไม่มีนัยสำคัญสถิติเมื่อควบคุมปัจจัยด้านดัชนีมวลกายและพลังงานที่อาสาสมัครได้รับในแต่ละวัน และในการศึกษาครั้งนี้ไม่พบผลของสารสกัดเมล็ดกาแฟดิบต่อการเปลี่ยนแปลงการสะสมไขมันในตับ ระดับเอนไซม์ และฮอร์โมน adiponectin จึงสรุปได้ว่าสารสกัดจากเมล็ดกาแฟดิบมีส่วนช่วยในการปรับปรุงดัชนีไขมันและดัชนีมวลกายในผู้ป่วย NAFLD และอาจมีประโยชน์ในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้

Complement Ther Med. 2020;49:102290.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

93

ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินของสารสกัดเมล็ดขี้กาเทศ
ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินของสารสกัดเมล็ดขี้กาเทศ สารสกัดชนิดต่างๆจากเมล็ดแก่ของขี้กาเทศ (Citrullus colocynthis (L.) Schrad.) กระตุ้นการหลั่งอินซูลินเมื่อทดลองให้เนื้อเยื่อตับอ่อนที่ตัดแยกจากตัวสัตว์ทดลอง และให้สารสกัดเข้าทางระบบหลอดเลือดแดงของตับอ่อน ( isolated perfused rat pancreas ) แฟรกชั่นสำคัญที่ให้ผลดังกล่าวประกอบด้วยกรดอะมิโนอิสระที่จำเป็นหลายชนิด (essential free amino acids) แฟรกชั่นนี้ให้ผลกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากต่อม islets of Lan...

1215

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิม
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิมศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิมในอาสาสมัครชายสุขภาพดีจำนวน 28 คน (อายุระหว่าง 18-24 ปี) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 14 คน) กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มน้ำเปล่า (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ให้ดื่มน้ำทับทิมวันละ 240 มล. นานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ทำการเก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครเพื่อวิเคราะห์ค่าชีวเคมีในเลือดและวิเคราะห์เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidative stress) ในช่วงก่อนและหลังดื่มน้ำทับทิมเพื่อเปรียบเทียบ โดยมีการทดสอบให้อาสาสมัครออกกำลังกาย...

1347

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของผักชีล้อม
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของผักชีล้อมศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร isorhamnetin, hyperoside และสารสกัดเอทานอลจากผักชีล้อม (Oenanthe javanica) โดยทำการทดสอบในหลอดทดลอง (in vitro) ด้วยเซลล์แมคโครฟาจ (macrophage) ของมนุษย์และหนูเม้าส์พบว่า สารสกัดเอทานอลผักชีล้อมมีผลลดการหลั่งไซโตไคน์ interleukin-1β (IL-1β) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์แมคโครฟาจ และยับยั้งการเกิดโครงสร้างเชิงซ้อน Asc pyroptosome ที่เกิดจากการจับกันของ caspase 1 กับ NOD-like receptors (NLRs) ได้แก่ NLR...

622

ผลของคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ
ผลของคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ (Semen)สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของน้ำเชื้อและปริมาณการบริโภคคาเฟอีนในชายชาวเดนมาร์ค 2554 คน ในปี ค.ศ. 2001-2005 โดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ และขอเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคคาเฟอีนปริมาณขนาดปานกลาง (101-800 มิลลิกรัมต่อวัน) และบริโภคเครื่องดื่มโคล่าไม่เกิน 14 ขวดต่อสัปดาห์ (ขวดขนาด 0.5 ลิตร) เปรียบเทียบกับผู้ที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณน้อย (ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน)...

1396

ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดสองทาง มีกลุ่มควบคุมเป็นยามาตรฐานและยาหลอก (A randomized double-blinded active and placebo controlled clinical trial) เพื่อทดสอบฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ (Pimpinella anisumJ Evid Based Complementary Altern Med 2017;22(1):41-6. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ...

10

สารต้านเชื้อราชนิดใหม่จากใบ
สารต้านเชื้อราชนิดใหม่จากใบ Piper hispidum เมื่อแยกสารสกัด dichloromethane ของใบ Piper hispidum ได้สาร pyrrolidine amide ชนิดใหม่ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อรา Cladosporium sphaerospermumJ Nat Prod 1998; 61: 637-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1611

ฤทธิ์ต้านความแก่จากแสงแดดของผิวหนังจากสารสกัดสะระแหน่เกาหลีในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากผิวหนังมนุษย์ที่ถูกรังสียูวีบี
ฤทธิ์ต้านความแก่จากแสงแดดของผิวหนังจากสารสกัดสะระแหน่เกาหลีในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากผิวหนังมนุษย์ที่ถูกรังสียูวีบีการทดสอบฤทธิ์ต้านความแก่จากแสงแดดของผิวหนังจากสารสกัดน้ำของส่วนเหนือดินของสะระแหน่เกาหลี (Agastache rugosa Kuntze) ในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (fibroblasts) จากผิวหนังมนุษย์ที่ถูกรังสียูวีบี (UVB) พบว่าสารสกัดสะระแหน่เกาหลีมีฤทธิ์ลดการสร้างอนุมูลอิสระที่เพิ่มสูงขึ้นและกระตุ้นการแสดงออกของ mRNA ของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการส่งสัญญาณ mitogen-activated protein kinase/activator protein-1 อย่าง...

1071

ฤทธิ์ปกป้องสมองของสารจากไหมข้าวโพด
ฤทธิ์ปกป้องสมองของสารจากไหมข้าวโพดการทดสอบฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมองของสาร maysin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม flavone glycoside ที่แยกได้จากยอดเกสรตัวเมียของข้าวโพด (Zea mays L.) หรือที่เรียกว่าไหมข้าวโพด (corn silk) ในเซลล์สมองของมนุษย์ (human neuroblastoma) ชนิด SK-N-MC ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ apoptosis ด้วยสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O22O2 ได้ อีกทั้งยังเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ และลดการหลั่งสาร lactate dehydrogenase (LDH) ซึ่งสารดังกล่าวจะเกิดการหลั่งเมื่อเซลล์ถูกทำลาย สาร maysin สามารถลดระดับข...

1380

การศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากใบชาขาว
การศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากใบชาขาวการศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัด 70% เอทานอลจากใบชาขาว [Camellia sinensis (L.) Kuntze] ในหนูเม้าส์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมหนึ่งกลุ่มและกลุ่มทดลองสามกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มมีหนูทั้งหมด 10 ตัว เป็นหนูเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 5 ตัว โดยทำการป้อนสารสกัดจากใบชาขาวขนาด 1,250, 2,500 และ 5,000 มก./กก. แก่หนูในกลุ่มทดลองเพียงครั้งเดียว สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นภายใน 4 และ 24 ชั่วโมงแรกหลังการป้อนสารสกัด ซึ่งไม่พบหนูทดลองแสดงความผิดปกติหรือตาย เมื่อติดตามพฤติกรรม น้ำหนักต...