-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
สารเคอร์คูมินและวิตามินอีช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
สารเคอร์คูมินและวิตามินอีช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน
การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ปกปิดสามทาง (triple-blind randomized controlled clinical trial) ในอาสาสมัครผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน จำนวน 93 คน อายุเฉลี่ย 51.7 ปี โดยสุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับแคปซูลสารสกัดเคอร์คูมิน ขนาด 500 มก. กลุ่มที่ 2 ได้รับยาเม็ดวิตามินอี ขนาด 200 หน่วยสากล และกลุ่มที่ 3 ได้รับยาหลอก รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ อาสาสมัครจะได้รับการประเมินอาการร้อนวูบวาบ และอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะหลังหมดประจำเดือนโดยใช้แบบประเมินต่างๆ ได้แก่ แบบประเมินความวิตกกังวล (Spielberger STAI) พฤติกรรมทางเพศ (Female Sexual Function Index: FSFI) และอาการในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (the Greene Climacteric Scale) ผลการศึกษาพบว่าการรับประทานสารเคอร์คูมิน มีผลลดอาการร้อนวูบวาบได้อย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 ของการศึกษา และเมื่อครบกำหนด 8 สัปดาห์ ทั้งกลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คูมินและวิตามินอีต่างมีอาการร้อนวูบวาบลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (เคอร์คูมิน difference=−10.7, 95% confidence interval=−3.6 to−17.9, P=0.001) และวิตามินอี (−8.7, −0.6 to −15.0, P=0.029) อย่างไรก็ตามไม่พบผลของการเปลี่ยนแปลงในด้านความวิตกกังวล พฤติกรรมทางเพศ และอาการหลังหมดประจำเดือนอื่นๆ ในอาสาสมัครทั้ง 3 กลุ่ม ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารเคอร์คูมินและวิตามินอีช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยทองได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีผลต่ออาการวิตกกังวล พฤติกรรมทางเพศ และอาการอื่นๆ หลังหมดประจำเดือน
Complement Ther Med. 2020;48:102267.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ในพิษงูจากสารสกัดเมล็ดมะม่วง
ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ในพิษงูจากสารสกัดเมล็ดมะม่วงการศึกษาฤทธิ์ต้านเอนไซม์ในพิษงูจากสารสกัดเอทานอลของเม็ดมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นด้วยเอทานอล โดยทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดต่อการทำงานของเอนไซม์ phospholipase A2 (PLA22 และเลือกจับตำแหน่ง binding pocket ของเอนไซม์ LAAO จากพิษของงูกะปะและงูเห่า ทำให้เอนไซม์ไม่สามารถทำงานได้ ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเมล็ดมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งพิษงูได้ Molecules. 2009; 14(4): 1404-22 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : ส...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูของพรมมิ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูของพรมมิ สารสกัดแอลกอฮอล์ของพรมมิ (Bacopa monniera Wettst. SCROPHULARIACEAE)ในขนาดความเข้มข้น 50 มก./กก. และ 100 มก./กก. (ฉีดเข้าช่องท้อง) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างเฉียบพลันเทียบเท่าสารมาตรฐานแอสไพริน (ขนาดยาที่เท่ากัน) ในการทดลองฉีดสารที่ทำให้อักเสบ carrageenan ที่อุ้งเท้า ของหนูถีบจักร โดยกลไกการออกฤทธิ์จะผ่านกระบวนการการยับยั้งสารโปสตาแกนดิน J Ethnopharmacology 2006; 104: 286-289 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลส...
ฤทธิ์ปกป้องตับของน้ำลูกยอ
ฤทธิ์ปกป้องตับของน้ำลูกยอการศึกษาฤทธิ์ปกป้องความเป็นพิษต่อตับจากการดื่มสุราเป็นระยะเวลานานของน้ำลูกยอ โดยแบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ป้อนด้วยน้ำเปล่า กลุ่มที่ 2 ป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ร่วมกับน้ำเปล่า กลุ่มที่ 3 - 5 ป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ร่วมกับน้ำลูกยอขนาด 5, 10 และ 15 มล./กก. น้ำหนักตัว ตามลำดับ ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าน้ำลูกยอช่วยลดระดับเอ็นไซม์ aspartate aminotransferase, alanine aminotransferase ลดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด และไขมันสะสมในตับ และเพิ่มกา...
ฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของอบเชยจีน
ฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของอบเชยจีนศึกษาฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดฉียบพลันของสารสกัด cinnamic aldehyde (CA) และ cinnamic acid (CD) จากอบเชยจีน (Cinnamomum cassia ) โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศผู้ 9 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 และ 2 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ กลุ่มที่ 2-4 ป้อนสารสกัด CA ขนาดวันละ 22.5, 45 และ 90 มก./กก./ตัว ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 - 7 ป้อนสารสกัด CD ขนาดวันละ 37.5, 75 และ 150 มก./กก./ตัว ตามลำดับ กลุ่มที่ 8 ป้อนยา propranolol ขนาดวันละ 30 มก./กก/ตัว เมื่อเลี้ยง...
ผลของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อหนูท้องอ่อนๆ
ผลของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อหนูท้องอ่อนๆ เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำของเมล็ดน้อยหน่าในขนาด 300 และ 600 มก./กก . ให้หนูขาวในระยะตั้งท้องได้ 1-5 วัน พบว่าไม่มีผลต่อ corpora lutea, การฝังตัว และตัวอ่อน และไม่มีผลต่อเยื่อบุมุดลูก แสดงว่าไม่มีผลต่อหนูซึ่งตั้งท้องได้ 1-5 วัน Phytomedicine 2002;9(7):667-72. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ของแป๊ะตำปึง
ฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ของแป๊ะตำปึงการทดสอบฤทธิ์ต้านการเกิดเซลล์มะเร็งในลำไส้ใหญ่ (aberrant crypt foci; ACF) จากการเหนี่ยวนำด้วยสาร azoxymethane (AOM) ในหนูแรทเพศผู้ ของสารสกัด 95% เอทานอลจากส่วนใบแป๊ะตำปึง (Gynura procumbens ) โดยการแบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) ได้รับการฉีดน้ำเกลือ (sterile normal saline) ขนาด 15 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนังสัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และได้รับการป้อน 10% Tween 20 (น้ำกระสายยา) ขนาด 5 มล./กก. วันละครั้ง เป็นเวลา 10 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ได...
ถั่วเหลืองช่วยลดความดันโลหิตในสตรี
ถั่วเหลืองช่วยลดความดันโลหิตในสตรี การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานอาหารจากถั่วเหลือง และความดันโลหิตหลังจากรับประทานถั่วเหลืองมาแล้ว 2-3 ปี ในสตรีอายุ 40-70 ปี ที่รับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ จำนวน 45,694 ราย ไม่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดและหัวใจ พบว่าการรับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองมีความสัมพันธ์ตรงข้ามกับทั้งความดันโลหิตตัวบน และความดันโลหิตตัวล่าง ในสตรีที่รับประทานโปรตีนจากถั่วเหลือง ณ 25 ก./วัน จะมีค่าความดันโลหิตตัวบนและความดันโลหิตตัวล่างลดลง 1....
ขมิ้นชัน:
ขมิ้นชัน: ฤทธิ์ทางชีววิทยาใหม่ Curcumin I,II และ III ซึ่งแยกได้จากเหง้า(rhizome) ของขมิ้นชันแสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ topoisomerase I และ II ar-turmerone เป็น sesquiterpene ketone ในน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ฆ่ายุง (mosquitocidal) ส่วนสารสกัดเฮกเซนจากใบขมิ้นชันให้สาร labda-8 (17), 12-diene-15,16-dial มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราชนิด Candida albicansJ Nat Prod 1998;61: 542-5 ข้อมูลอ้างอิงจาก ...
ผลของสารสกัดใบทุเรียนเทศต่อภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง
ผลของสารสกัดใบทุเรียนเทศต่อภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกปฐมภูมิ (primary tumor resection) อายุ 30-80 ปี (อายุเฉลี่ย 50.2 ปี) จำนวน 28 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลส่วนสกัดที่ละลายได้ในเอทานอลที่แยกจากสารสกัดน้ำจากใบทุเรียนเทศ (ประกอบด้วยสาร acetogenin 0.36% w/w) ขนาด 300 มก./วัน หลังอาหารเช้าติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ในระหว่างการศึกษาประเมินภาว...