Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ Candida ของน้ำมันหอมระเหยร่วมกับ chlorhexidine

การทดสอบประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราของยา chlorhexidine ร่วมกับน้ำมันหอมระเหย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำมันอบเชย (Cinnamomum zeylanicum L.) น้ำมันกานพลู (Eugenia caryophyllata L.) และน้ำมันตะไคร้ (Cymbopogon citratus (DC) Stapf) โดยทดสอบกับเชื้อ Candida 3 ชนิด ได้แก่ Candida albicans ATCC 10231, C. krusei (STCK 1) และ C. tropicalis (STCT 1) และไบโอฟิล์ม (biofilm) ของเชื้อ C. albicans ด้วยวิธี broth microdilution และ chequerboard assays พบว่าการใช้ chlorhexidine ร่วมกับน้ำมันกานพลู น้ำมันอบเชย หรือน้ำมันตะไคร้ จะออกฤทธิ์ร่วมกันแบบเสริมฤทธิ์กัน (synergistic effect) ในการต้านเชื้อ C. albicans โดยมีค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพร่วม (fractional inhibitory concentration index: FICI) เท่ากับ 0.5, 0.375 และ 0.312 ตามลำดับ เช่นเดียวกับการใช้ chlorhexidine ร่วมกับน้ำมันตะไคร้ที่จะเสริมฤทธิ์กันในการต้านเชื้อ C. tropicalis (FICI = 0.5) และ chlorhexidine ร่วมกับน้ำมันหอมระเหยทั้ง 3 ชนิด จะออกฤทธิ์แบบเพิ่มฤทธิ์กัน (additive effects) ต่อเชื้อ C. tropicalis และ C. krusei ส่วนการทดสอบในไบโอฟิล์ม (biofilm) ของเชื้อ C. albicans พบว่า chlorhexidine จะออกฤทธิ์ร่วมกับน้ำมันกานพลูและน้ำมันอบเชยแบบเสริมฤทธิ์กัน (FICI 0.50 และ 0.375, ตามลำดับ) ขณะที่น้ำมันตะไคร้และ chlorhexidine ออกฤทธิ์แบบเพิ่มฤทธิ์กัน (FICI = 1.062) สรุปได้ว่าการใช้ chlorhexidine ร่วมกับน้ำมันกานพลูและน้ำมันอบเชย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคเชื้อราในช่องปากได้

Songklanakarin J Sci Technol 2019;41(1):144-50.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1424

ผลของความร้อนในการสกัดกระเจี๊ยบแดงต่อสารสำคัญและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
ผลของความร้อนในการสกัดกระเจี๊ยบแดงต่อสารสำคัญและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidaseการเปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ของสารสกัดกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa Linn.) ที่ได้จากการสกัดผงกระเจี๊ยบแดงแห้ง 2 กรัม ด้วยน้ำกลั่น 200 มล. โดยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ 1. วิธีต้ม (ต้มผงกระเจี๊ยบแดงในน้ำเดือดนาน 5 นาที) 2. วิธีชง (เติมน้ำเดือดลงในผงกระเจี๊ยบแดง แช่ทิ้งไว้ 5 นาที) และ 3. วิธีหมัก (หมักผงกระเจี๊ยบแดงในน้ำโดยกวนน้ำที่ความเร็ว 100 รอบ/นาที นาน 5 นาที และเก็บไว้ที่อุณหภ...

162

ฤทธิ์กดประสาทของ
ฤทธิ์กดประสาทของ barakol Barakol ซึ่งสกัดได้จากใบขี้เหล็ก มีฤทธิ์ยับยั้งประสาทส่วนกลาง ทำให้ลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ทำให้หลับมากขึ้น และเมื่อทดสอบหากระบวนการออกฤทธิ์ พบว่าไม่ได้เกิดผ่าน GABA หรือ glycine และ barakol ไม่มีฤทธิ์ต้านการซึม และมีฤทธิ์ลดการหลั่ง dopamine จึงเป็นไปได้ว่าฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางเนื่องมาจากการลดการหลั่ง dopamine นั่นเอง J Ethnopharmacol 2002;83:87-94 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสต...

305

สารสกัดจากหญ้าใต้ใบสามารถต้านเชื้อไวรัส
สารสกัดจากหญ้าใต้ใบสามารถต้านเชื้อไวรัส Herpes simplex   Type 1 และ 2สารสกัด geraniin และ 1,3,4,6-tetra-O- galloyl-β-D-glucose (1346TOGDG) จากต้นหญ้าใต้ใบ เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส Herpes simplex   type I และ II (HSV I, II) ในหลอดทดลอง พบว่าสารสกัด geraniin และ 1346TOGDG สามารถต้านเชื้อ HSV type I และ II ได้ โดยค่าความเข้มข้นในการยับยั้งเชื้อ HSV type I และ II ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) ของ geraniin และ 1346TOGDG มีค่าเท่ากับ 35.0±4.2, 18.4±2.0 และ 19.2±...

1585

ผลของมะกอกเปอร์เซียต่อฮอร์โมนเพศในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผลของมะกอกเปอร์เซียต่อฮอร์โมนเพศในหญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาแบบ double-blind randomized placebo-controlled trial ในอาสาสมัครเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน (menopause women) จำนวน 58 คน สุ่มแบ่งกลุ่มให้รับประทานผงแห้งจากผลมะกอกเปอร์เซีย (Elaeagnus angustifolia L.) ขนาด 15 ก./วัน หรือยาหลอก เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ผลจากการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศ ได้แก่ estradiol, progesterone, testosterone, follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) ไม่พบความแตกต่างของระดับฮอร์โมนทั้งก่อนและหลังการรับปร...

1053

ผลลดไขมันในเลือดของส้มแขกในหญิงที่เป็นโรคอ้วน
ผลลดไขมันในเลือดของส้มแขกในหญิงที่เป็นโรคอ้วนการศึกษาในหญิงที่เป็นโรคอ้วน (ค่าดัชนีมวลกาย >25 กก./ตร.ม.) อายุ 25-60 ปี จำนวน 43 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดส้มแขก (Garcinia cambogia ) ขนาด 3 แคปซูล/วัน (ในแต่ละแคปซูลบรรจุสารสกัดส้มแขก 800 มก./แคปซูล ซึ่งมีปริมาณของ hydroxycitric acid อยู่ 50%) โดยรับประทานครั้งละ 1 แคปซูล ก่อนอาหารเช้า กลางวัน และเย็น 30 นาที เป็นเวลา 60 วัน และกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดส้มแขก จะมีระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลง แต่ไม่มีผลต่อระดับไขมันตั...

189

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารจากไพล
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารจากไพล นักวิทยาศาสตร์ไทยพบว่าสาร (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl)butadiene (DMPBD) ซึ่งแยกได้จากไพล ยับยั้งการอักเสบที่เหนี่ยวนำด้วย ethyl phenylpropiolate, arachidonic acid และ 12-O-tetradecanoyl phorbol-13-acetate ในการทดลองใช้หูหนู และยังยับยั้งในการทดลองในอุ้งเท้าหนูอีกด้วย J Ethnopharmacol 2003;87:143-8 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1468

การสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดฝรั่งช่วยให้มีความรู้สึกดีระหว่างรอคอย
การสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดฝรั่งช่วยให้มีความรู้สึกดีระหว่างรอคอยการศึกษาแบบกลุ่มย่อย (pilot study) ในอาสาสมัครที่เป็นผู้ป่วยและญาติ ที่มารับบริการ ณ ศูนย์บำบัดสุขภาพจิต ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 57 คน เป็นหญิง 50 คน อายุระหว่าง 23 - 70 ปี โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 อยู่ในห้องที่ให้สูดดมน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดฝรั่ง (bergamot) กลุ่มที่ 2 อยู่ในห้องที่สูดดมด้วยน้ำเปล่า นาน 15 นาที จากนั้นทำการทดสอบสุขภาพจิตโดยใช้แบบสอบถามการประเมินตนเอง (Positive and Negative Affect Schedu...

1186

ผลลดความดันโลหิตสูงของเครื่องดื่มที่ผสมสารสกัดจากเมล็ดองุ่น
ผลลดความดันโลหิตสูงของเครื่องดื่มที่ผสมสารสกัดจากเมล็ดองุ่นการศึกษาแบบสุ่มโดยปกปิดทั้งสองฝ่ายในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อย ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) อยู่ระหว่าง 120 - 139 มม.ปรอท และความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว(diastolic blood pressure) อยู่ระหว่าง 80 - 89 มม.ปรอท อายุ 25 - 65 ปี จำนวน 29 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานยาหลอก กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานน้ำผลไม้ซึ่งผสมสารสกัดจากเมล็ดองุ่น ขนาด 300 มก./วัน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง เช้า-เย็น นาน 6 ...

1566

การศึกษาทางคลินิกผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่งต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมัน
การศึกษาทางคลินิกผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่งต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมันการศึกษาผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่ง (Pisidium guajava L.; guava) ต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมันบนใบหน้า (anti sebum) โดยคัดเลือกสูตรโทนเนอร์พื้นฐานที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากการประเมินความชอบ (preference test) ด้วยค่าความพึงพอใจ 83.20 ± 1.85% มาพัฒนาเป็นตำรับโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมสารสกัดใบฝรั่ง 3% 4.5% และ 6% พบว่าผลิตภัณฑ์มีความคงตัวดีและไม่ก่ออาการระคายเคืองในอาสาสมัคร และการศึกษาทาง...