-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านภาวะอ้วนของสารสกัดพลูคาวในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยอาหารที่มีไขมันสูง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านภาวะอ้วนของสารสกัดพลูคาวในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยอาหารที่มีไขมันสูง
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดน้ำจากใบพลูคาวในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนด้วยอาหารที่มีไขมันสูง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับอาหารหนูมาตรฐาน กลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูง และกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงซึ่งผสมสารสกัดพลูคาว 1% เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ประเมินผลโดยวัดน้ำหนักตัว ปริมาณการกินอาหาร น้ำหนักของเนื้อเยื่อไขมัน ระดับน้ำตาล อินซูลิน ภาวะดื้ออินซูลิน ไขมัน และเลปติน พบว่าสารสกัดพลูคาวมีผลลดน้ำหนักตัวของหนู เมื่อเทียบกับหนูซึ่งกินอาหารไขมันสูงที่ไม่ได้รับสารสกัด แต่ไม่มีผลต่อปริมาณการกินอาหาร นอกจากนี้สารสกัดยังมีผลลดน้ำหนักของเนื้อเยื่อไขมัน ระดับน้ำตาลในเลือด ภาวะดื้ออินซูลิน คอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันชนิด LDL และเลปติน แต่ไม่มีผลต่อระดับอินซูลิน สรุปได้ว่าสารสกัดพลูคาวมีผลลดภาวะอ้วนในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยอาหารที่มีไขมันสูงได้
Srinagarind Med J. 2019;34(5):461-7.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของขี้ผึ้งสารสกัดเทียนกิ่งในการรักษาแผลฝีเย็บ
ผลของขี้ผึ้งสารสกัดเทียนกิ่งในการรักษาแผลฝีเย็บการศึกษาในหญิงหลังคลอดบุตรซึ่งมีแผลฝีเย็บ จำนวน 160 คน อายุ 18 - 40 ปี แบ่งออกเป็น กลุ่มที่ให้ทาแผลด้วยขี้ผึ้งซึ่งมีส่วนผสมของสารสกัด 70% เอทานอลจากใบเทียนกิ่ง 5% กลุ่มที่ให้ทาขี้ผึ้งซึ่งมีส่วน ผสมของสารสกัด 70% เอทานอลจากเมล็ด Persian oak (Quercus persica) 2% กลุ่มที่ทายาหลอก และกลุ่มควบคุม โดยให้ทาแผล เป็นเวลา 14 วัน ประเมินผลการรักษาด้วยแบบประเมินลักษณะแผลฝีเย็บหลังคลอด (REEDA scale) และแบบประเมินความปวด Visual Analog Scale (VAS) ก่อนเริ่มการศึกษ...
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียจากขี้หล็ก
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียจากขี้หล็กพบสารในกลุ่ม alkaloids 3 ชนิด cassiarins C-E (1-3) และสาร chromone, 10,11-dihydroanhydrobarakol (4) ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเมทานอลของดอกขี้เหล็กแห้ง มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum 3D7 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคไข้มาลาเรียJ Nat Prod 2009;72:1899-901 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของกระเทียม
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของกระเทียมมีการศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัด 80% เอทานอลจากกระเทียมในหนูขาวปกติ และหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย Streptozotocin โดยการป้อนสารสกัดให้หนูในขนาด 0.1, 0.25 และ 0.5 ก./กก./วัน นาน 14 วัน เปรียบเทียบกับยา glibenclamide (600 มคก./กก./วัน) พบว่าสารสกัดกระเทียมจะทำให้ระดับ glucose, cholesterol, triglyceride, urea กรด uric, creatinine, AST และ ALT ในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานลดลง แต่ระดับ insulin เพิ่มขึ้น ขณะที่ในหนูปกติจะไม่มีผล โดยสารสกัดกระเทียมที่ขนาด 0.5 ...
สาร
สาร diallyl sulfone จากกระเทียมป้องกันการกลายพันธุ์เมื่อป้อนสาร diallyl sulfone (DASO22Carcinogenesis 2007;28(80):1824-30 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลของเอเซียติโคไซด์ในกระบวนการหายของแผล
ผลของเอเซียติโคไซด์ในกระบวนการหายของแผล เอเซียติโคไซด์ ( asiaticoside ) เป็นสารที่แสดงฤทธิ์ของบัวบก ( Centella asiatica (L.)Urban ) ที่ช่วยให้แผลหายเร็ว การศึกษาผลของเอเซียติโคไซด์ต่อระดับของสารต้านออกซิเดชั่นชนิดต่างๆในแผล พบว่าเมื่อทาเอเซียติโคไซด์เข้มข้น 2 % บนแผลของหนูขาววันละ 2 ครั้งนาน 7 วัน ระดับของเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ดีสมิวเทส ( superoxide dismutase ) คาทาเลส ( catalase ) กลูตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส ( glutathione peroxidase ) ไวตา...
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของสาร capsaicinการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร capsaicin ซึ่งเป็นสารสำคัญที่อยู่ในพืชตระกูลพริก โดยการเหนี่ยวนำให้เซลล์ THP-1 (human acute monocytic leukemia cell) macrophages เกิดการแสดงออกของยีน macrophage inflammatory protein 1 (MIP-1) และ interleukin 8 (IL-8) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ โดยการให้เซลล์ได้รับ palmitate (กรดไขมันอิสระชนิดหนึ่ง) แล้วเปรียบเทียบผลระหว่างการที่เซลล์ได้รับและไม่ได้รับสาร capsaicin พบว่าสาร capsaicin สามารถยับยั้งการแสดงออกของยีน MIP-1 แล...
ผลของสารสกัดโสมแดงต่อปฏิกิริยาการแพ้อาหารของหนูเม้าส์
ผลของสารสกัดโสมแดงต่อปฏิกิริยาการแพ้อาหารของหนูเม้าส์การทดสอบฤทธิ์ต้านการแพ้อาหารของสารสกัดจากรากโสมแดง (Panax ginseng C.A. Meyer) ในหนูเม้าส์ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการแพ้โดยการฉีดสาร ova-albumin เข้าทางช่องท้องในขนาด 3 มคก. ร่วมกับ alum 2 มก. ในวันที่ 16 และ 30 จากนั้นจึงให้กิน OVA 15 มก./กก. ในวันที่ 37 (ova-albumin (OVA)-evoked allergic reaction) โดยให้หนูกินสารสกัดจากโสมแดงวันละ 2 ครั้ง ในขนาด 20 หรือ 60 มก./กก. เป็นเวลา 37 วัน พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ Immunoglobul...
สารสกัดจากใบมะตูมช่วยปกป้องสมองและฟื้นฟูความจำ
สารสกัดจากใบมะตูมช่วยปกป้องสมองและฟื้นฟูความจำศึกษาฤทธิ์ปกป้องสมองและฟื้นฟูความจำของสารสกัดเอทานอลจากใบมะตูม (Aegle marmelosLife Sci. 2019;221:196-203. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลต่อการเพิ่มภูมิต้านทานของสารสกัดจากใบกะเพราในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี
ผลต่อการเพิ่มภูมิต้านทานของสารสกัดจากใบกะเพราในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีการศึกษาแบบข้ามกลุ่มแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย (double blind crossover) ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 18 - 60 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่1 รับประทานสารสกัด 70% เอทานอลของใบกะเพราชนิดแคปซูล ขนาด 300 มก./วัน ในขณะท้องว่าง นาน 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 รับประทานยาหลอกซึ่งเป็นน้ำเชื่อมที่มีลักษณะและขนาดเท่ากัน จากนั้นทำการสลับกลุ่มโดยมีช่วงหยุดพัก 3 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอลของใบกะ...