-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของสารสกัดข่าตาแดงต่อคุณภาพของอสุจิในชายที่ประสบปัญหามีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของสารสกัดข่าตาแดงต่อคุณภาพของอสุจิในชายที่ประสบปัญหามีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
การศึกษาทางคลินิกแบบไปข้างหน้า ปกปิดสองทาง และมีการสุ่ม (A prospective double‐blinded randomised clinical trial) ในอาสาสมัครเพศชายที่ประสบปัญหามีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ จำนวน 76 คน โดยสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 38 คน กลุ่มที่ 1 รับประทานสารสกัด 70% เอทานอลจากเหง้าข่าตาแดง (Alpinia officinarum Hance) ขนาด 300 มก./วัน และกลุ่มที่ 2 รับประทานยาหลอก ทำการศึกษาเป็นเวลานาน 3 เดือน เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากข่าตาแดงมีความเข้มข้นของอสุจิและจำนวนเซลล์อสุจิที่มีรูปร่างสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยความเข้มข้นของอสุจิเพิ่มจาก 52 ± 24 ล้านเซลล์/มล. เป็น 71 ± 23 ล้านเซลล์/มล. และจำนวนเซลล์อสุจิที่มีรูปร่างสมบูรณ์เพิ่มขึ้นจาก 14.34 ± 9.16% เป็น 19 ± 14.89% แสดงให้เห็นว่าข่าตาแดงมีประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนเซลล์อสุจิที่มีรูปร่างสมบูรณ์และช่วยเพิ่มความเข้มข้นของอสุจิในชายที่ประสบปัญหามีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุได้
Andrologia 2019;51:e13172ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ควบคุมน้ำตาลของน้ำมันงาขาว
ฤทธิ์ควบคุมน้ำตาลของน้ำมันงาขาวการทดสอบฤทธิ์ควบคุมน้ำตาลของน้ำมันงาขาว (Sesamum indicum L.) โดยแบ่งหนูแรทออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มควบคุมให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 คือหนูแรทที่เป็นเบาหวานจากการเหนี่ยวนำด้วย streptozotocin แล้วให้กินอาหารปกติ หรือให้กินอาหารที่ส่วนผสมของน้ำมันงาขาวความเข้มข้น 12% ตามลำดับ ผลการเจาะเลือดเปรียบเทียบก่อนการทดลองไม่พบความแตกต่างของระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินของหนูกลุ่มที่ 2 และ 3 แต่เมื่อครบ 60 วัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูกลุ่มที่ได้รับน้ำมันงามีค...
ครีมว่านหางจระเข้ทดลองทางคลินิก
ครีมว่านหางจระเข้ทดลองทางคลินิก Phase 3 ในคนไข้มะเร็งเต้านมที่ได้รับการฉายรังสี จากการทดลองทางคลินิก phase 3 ของครีมว่านหางจระเข้ในการลดอาการข้างเคียงที่ผิวหนังจากรังสี เช่น erythema, อาการปวด, อาการคัน, การเกิดการหลุดลอกของผิวหนัง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการฉายรังสีหลังการผ่าตัดจำนวน 225 ราย ทำการทดสอบแบบสุ่มเทียบกับ aqueous cream โดยให้ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มทาครีมวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับการฉายรังสีเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากการศึกษาพบว่า aqueous cream ให้ผลลดอาก...
ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบของหญ้าต้อมต๋อก
ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบของหญ้าต้อมต๋อก สารสกัดผลด้วยอัลกอฮอล์ (95%) ของหญ้าต้อมต๋อก (Solanum nigrum L.) เมื่อนำไปทดสอบในหนูซึ่งได้รับคาร์บอนเตทตระคลอไรด์ ซึ่งทำลายตับ พบว่าในขนาด 250 มก./กก. สามารถป้องกันตับอักเสบได้ โดยประเมินจากค่า aspartate amino transferase (AST), alanine amino transferase (ALT), alkaline phosphatase (ALP) และ bilirubin ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ(Biol Pharm Bull 2003;26(11):1618-9) ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้...
ฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของหลอดเลือดของน้ำมันรำข้าว
ฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของหลอดเลือดของน้ำมันรำข้าวศึกษาฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของน้ำมันรำข้าวจากข้าวสายพันธุ์ Njavara ของอินเดีย โดยผสมน้ำมันรำข้าวขนาด 100 มก./กก. ลงในอาหารที่มีไขมันสูง (high fat diet) แล้วป้อนให้กับหนูแรท นานติดต่อกัน 60 วัน เปรียบเทียบกับการกับการป้อนด้วยอาหารที่มีไขมันสูงเพียงอย่างเดียวพบว่า หนูแรทกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงผสมกับน้ำมันรำข้าวมีค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ คอเลสเตอรอลรวม และ LDL-C ในเลือดลดลง และค่า HDL-C เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสู...
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทจากสารสกัดจากหญ้าคา
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทจากสารสกัดจากหญ้าคา สารสกัดเมทานอลจากรากหญ้าคา ได้แก่ 5-hydroxy-2-(2-phenylethyl) chromone, 5-hydroxy-2-[2-(2-hydroxyphenyl) ethyl] chromone, flidersiachromone และ hydroxy-2-styrylchromone ความเข้มข้น 10 mM (ไมโครโมล) เมื่อนำไปทดสอบกับเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษด้วยสาร glutamate พบว่าสาร 5-hydroxy-2(2-phenylethy) chromone และ 5-hydroxy-2-[2-(2-hyroxyphenyl) ethyl] chromone สามารถป้องกันการเกิดพิษต่อเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทได้ J Nat Prod 2006...
Phytosterols
Phytosterols จากวุ้นว่านหางจระเข้กับฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด วุ้นว่านหางจระเข้ และสาร phytosterol ที่แยกได้จากวุ้นว่านหางจระเข้ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิด type 2 ได้ โดยพบว่าการป้อนวุ้นว่านหางจระเข้ขนาด 20, 30 และ 50 mg/ตัว/วัน จะลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ 88, 58 และ 54% ตามลำดับ ในวันที่ 29 ของการทดลอง ส่วนสกัดด้วยคลอโรฟอร์ม : เมทานอล (2:1) (T1) จากวุ้นว่านหางจระเข้ขนาด 25 ไมโครกรัม/ตัว/วัน สาร phytosterol จากส่วนสกัดวุ้นว่านหางจระเข้ ได้แก่ lophenol, 24...
กลไกการออกฤทธิ์ต้านไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ของเห็ดหลินจือ
กลไกการออกฤทธิ์ต้านไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ของเห็ดหลินจือ สาร APBP ซึ่งเป็นโพลีแซคคาไรด์ชนิดมีโปรตีนที่เป็นกรด ( acidic protein bound polysaccharide) สกัดได้จากหมวกเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum (Fr.) Karst.)J Ethnopharmacol 2000;72:475-81 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ปกป้องเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของใบหม่อน
ฤทธิ์ปกป้องเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของใบหม่อนการศึกษาฤทธิ์ของใบหม่อน (Morus alba L.) ต่อมวลของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน (pancreatic β-cell mass) ของหนูเม้าส์เบาหวาน (obese/type 2 diabetes mellitus mouse) ในการศึกษาแบ่งสัตว์ทดลองเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (ป้อนด้วยอาหารปกติ) และกลุ่มทดลองที่ป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของใบหม่อนแห้ง 5% โดยน้ำหนัก โดยเริ่มป้อนที่อายุ 7 สัปดาห์ไปจนถึง 10, 15 และ 20 สัปดาห์ ตามลำดับ จากนั้นทำการประเมินความทนต่อน้ำตาลของสัตว์ทดลองเมี่ออายุครบ 10, 15 และ 20 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำ...
สารสำคัญจากโสมกับผลต่อการเสริมสร้างกระดูก
สารสำคัญจากโสมกับผลต่อการเสริมสร้างกระดูกการทดสอบฤทธิ์ต้านภาวะกระดูกพรุนของสาร ginsenoside (Rd) ซึ่งเป็นสารสำคัญจากโสม (Panax ginseng ) พบว่าสารดังกล่าวกระตุ้นกระบวนการ differentiation และ mineralization ในเซลล์กระดูก MC3T3-E1 ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างกระดูก ที่แสดงให้เห็นด้วยกลไกการเพิ่มปริมาณของตัวบ่งชี้การเกิด differentiation เช่น เอนไซม์ alkaline phosphatase (ALP) และยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูก (osteogenic genes) รวมทั้งทำให้การติดสีย้อม von Kossa/Alizarin ...