Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

รายงานอันตรกิริยาระหว่างเกรปฟรุตกับยากดภูมิคุ้มกัน tacrolimus

รายงานผู้ป่วยหญิงอายุ 61 ปี น้ำหนัก 62 กก. ผ่านการผ่าตัดปลูกถ่ายไต (renal transplantation) ในปี 2003 และในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2017 พบว่าผู้ป่วยเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงขนาดเล็กและหลอดเลือดฝอย (thrombotic microangiopathy; TMA) และได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน tacrolimus ในช่วงแรกพบว่าสามารถควบคุมความเข้มข้นของยาในเลือดได้ดี แต่ในวันที่ 9 ของการรักษาพบว่าระดับความเข้มข้นของยา tacrolimus เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2 เท่า ทั้งๆ ที่ไม่ได้เปลี่ยนขนาดของยาที่ให้แก่ผู้ป่วย คณะผู้รักษาได้สอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่อาจจะมีผลต่อการรักษาเพื่อหาสาเหตุ และพบว่าผู้ป่วยได้รับประทานเกรปฟรุต (grapefruit) ในช่วงระหว่างรักษาตัว จึงสันนิษฐานว่าการเปลี่ยนแปลงความเข้นข้นของยา tacrolimus ในเลือดของผู้ป่วย อาจมีสาเหตุจากการรับประทานเกรปฟรุต ซึ่งมีรายงานว่าการรับประทานเกรปฟรุตทำให้เกิดอันตรกิริยากับยาหลายชนิด และมีผลยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 จึงอาจมีผลต่อการเมตาบอลิสม (metabolism) และค่าชีวปริมาณออกฤทธิ์ (bioavailability) ของยา tacrolimus ดังกล่าว อย่างไรก็ตามรายงานผู้ป่วยรายนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่อาจจะมีความเป็นไปได้ จึงควรมีการศึกษาเพื่อยืนยันผลเพิ่มเติมต่อไป แต่ควรระมัดระวังการรับประทานเกรปฟรุตในระหว่างการใช้ยา tacrolimus ต่อไปจนกว่าผลการศึกษาจะชัดเจน



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1331

ฤทธิ์ต่อสุขภาพของลำไส้และระดับไขมันของน้ำพรุนเข้มข้น
ฤทธิ์ต่อสุขภาพของลำไส้และระดับไขมันของน้ำพรุนเข้มข้นการศึกษาฤทธิ์ของพรุน (ผลัม) (Prunus domestica Linn) ในอาสาสมัครที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง จำนวน 60 คน ที่สุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ให้รับยาหลอก (น้ำพรุน 50 มล.) หรือรับประทานน้ำพรุนเข้มข้น (prune essence concemtration) ขนาด 50 มล. หรือ 100 มล. ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ พบว่าน้ำพรุนเข้มข้นทั้งสองขนาดมีผลเพิ่มเชื้อแบคทีเรีย Bifidobacterium spp. และ Lactobacillus spp. ซึ่งเป็นเชื้อชนิดดีในลำไส้ และลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ดี ได้แก่ Clostridium perfringen...

917

ผลการรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือนของต้นคว่ำตายหงายเป็น
ผลการรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือนของต้นคว่ำตายหงายเป็นการศึกษาแบบสุ่ม ปกปิดสองฝ่าย และเปรียบเทียบกับยาหลอก (Prospective, double-blind randomized, placebo-controlled study) ในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือนซึ่งมีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder Syndrome) จำนวน 20 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับแคปซูล ขนาด 350 มก. (ซึ่ง 1 แคปซูลมีน้ำคั้นจากใบคว่ำตายหงายเป็น 50%) รับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง จำนวน 10 ราย และกลุ่มที่ได้รับยาหล...

1078

ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาและเชื้อมาลาเรียของโหระพาช้าง
ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาและเชื้อมาลาเรียของโหระพาช้างการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมา (Trypanosoma brucei brucei ) เชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum ) รวมทั้งความเป็นพิษต่อเซลล์ของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบ ลำต้น และเมล็ดของโหระพาช้าง (Ocimum gratissimum Linn) พบว่าน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านเชื้อทั้งสองชนิด แต่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเลียค่อนข้างต่ำ (IC50 >40 มคก./มล.) โดยสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาดีที่สุด (IC50 = 1.66 ± 0.48 มคก....

1446

สารแอนโดกราโฟไลด์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์และเหนี่ยวนำให้เกิดการหยุดวัฏจักรเซลล์และการตายของเซลล์แบบ
สารแอนโดกราโฟไลด์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์และเหนี่ยวนำให้เกิดการหยุดวัฏจักรเซลล์และการตายของเซลล์แบบ apoptosis ในเซลล์มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาการศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งและกลไกในการออกฤทธิ์ของสารแอนโดกราโฟไลด์ (andrographolide) จากฟ้าทะลายโจรในเซลล์มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาของคน ชนิด A375 และ C8161 พบว่าสารแอนโดกราโฟไลด์ ที่ความเข้มข้น 5, 10, 20, 40 และ 80 ไมโครโมลาร์ มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell proliferation) ของเซลล์มะเร็งทั้งสองชนิดได้ โดยค่าความเข้มข้นของสารที่ยับยั้งได้ร้อยละ 50 (IC50) สำหร...

557

การรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติที่มดลูกในคนด้วยผักเบี้ยใหญ่
การรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติที่มดลูกในคนด้วยผักเบี้ยใหญ่การศึกษาในสตรีที่อยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน (premenopause) ที่มีอายุเฉลี่ย 45.3 ± 3.7 ปี ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติที่มดลูก ที่ประกอบด้วย menorrhagia คือภาวะเลือดออกทางช่องคลอด > 7 วัน หรือ > 80 มล./วัน ในแต่ละรอบเดือน metrorrhagia คือภาวะเลือดออกทางช่องคลอด > 1 ครั้ง/เดือน และมาไม่สม่ำเสมอ polymenorrhea คือภาวะการมีเลือดประจำเดือนออกถี่เกือบทุก 21 วัน และ intermenstrual bleeding คือภาวะเลือดออกในช่วงระหว่างรอบเดือนปกติ ซึ...

1636

ฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัดจากกิ่งต้นหม่อน
ฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัดจากกิ่งต้นหม่อนการศึกษาฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน (Morus alba L.) การศึกษานี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดสอบในหลอดทดลองถึงผลของสารสกัดจากต้นหม่อนต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนในเซลล์ตั้งต้นของเซลล์ไขมัน (differentiated 3T3-L1 adipocyte cells) พบว่าสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน ความเข้มข้น 10, 20 และ 40 มคก./มล. มีผลลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน (adipogenesis) และการสร้างไขมันภายในเซลล์ (li...

428

ฤทธิ์ของสารสกัดเหง้าขิงป้องกันความเป็นพิษต่อไตจากยารักษามะเร็ง
ฤทธิ์ของสารสกัดเหง้าขิงป้องกันความเป็นพิษต่อไตจากยารักษามะเร็งการป้อนสารสกัดเหง้าขิงด้วยเอธานอลขนาด 200 และ 400 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.ให้หนูขาวเพศเมีย 1 ชม.ก่อนถูกเหนี่ยวนำให้ไตวายเฉียบพลันด้วยการฉีดสาร doxorubicin (DXN) ขนาด 15 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. หลังจากนั้น 72 ชม.ทำการวัดผลการศึกษา พบว่าในหนูที่กินสารสกัดเหง้าขิงขนาด 200 และ 400 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.ร่วมกับการฉีดสาร DXN มีระดับ Urea และ Creatinine ในเซรัมมีค่าลดลงนอกจากนี้ยังพบว่าระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในไต เช่น superoxide, catalase, gl...

1598

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และต้านเอสโตรเจนของเห็ดขลำหมาเห็ดขลำหมา (Mycoamaranthus cambodgensis (Pat.) Trappe, S. Lumyong, P. Lumyong, Sanmee & Zhu L. Yang) เป็นเห็ดป่ากินได้ที่พบในป่าผลัดใบของประเทศไทย และมีการนำมาใช้เป็นยาพื้น บ้านสำหรับการฟื้นตัวหลังคลอด การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด 50% เอทานอลจากดอกเห็ด(fruiting bodies) ด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay (DPPH assay) และวิธี Ferric reducing anti-oxidant power (FRAP) พบว่าสารสกัดเห็ดขลำหมามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง ...

628

ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดและต้านการเกิดออกซิเดชั่นของผลหม่อนในหนูแรทที่ไขมันในเลือดสูง
ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดและต้านการเกิดออกซิเดชั่นของผลหม่อนในหนูแรทที่ไขมันในเลือดสูงการศึกษาในหนูแรท 48 ตัว แบ่งเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารปกติผสมกับสารสกัดแห้งด้วยความเย็นของผลหม่อนขนาด 5% และ 10% ลงในอาหาร ตามลำดับ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มที่ 5 และ 6 เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูงผสมกับสารสกัดแห้งด้วยความเย็นของผลหม่อนขนาด 5% และ 10% ลงในอาหาร ตามลำดับ นาน 4 สัปดาห์ พบว่าในกลุ่มที่...