-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชค
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชค
การศึกษาความเป็นพิษของใบอาร์ติโชค (Cynara scolymus L.) ต่อตัวอ่อนในครรภ์ของหนูแรท ด้วยการป้อนผงแห้งของสารสกัดน้ำจากใบอาร์ติโชค ขนาด 1, 2 และ 4 ก./น้ำหนักตัว 1 กก. ให้แก่หนูแรทเพศเมียตั้งแต่มีอายุครรภ์ 6 วันต่อเนื่องถึงอายุครรภ์ 19 วัน ซึ่งพบว่าสารสกัดน้ำจากอาร์ติโช๊คไม่มีผลต่ออัตราการกินอาหาร เปอร์เซนต์การสูญเสียศักยภาพในการฝังตัวของตัวอ่อนทั้งก่อนและหลังกระบวนการฝังตัว (preimplantation loss and postimplantation loss) น้ำหนักรก และค่าชีวเคมีอื่นๆ แต่การป้อนสารสกัดที่ขนาดสูง (4 ก./น้ำหนักตัว 1 กก.) มีผลเพิ่มอัตราการกินน้ำของสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามสารสกัดจากใบอาร์ติโชคทุกขนาดมีผลลดน้ำหนักตัวและน้ำหนักมดลูกของหนูแรทที่ตั้งครรภ์ รวมถึงมีผลลดน้ำหนักและขนาดของตัวอ่อนในครรภ์ และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขนาดสูงพบว่ามีอัตราการรอดชีวิตของตัวอ่อนน้อยลง โดยไม่พบความผิดปกติต่อระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อของตัวอ่อน การศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นว่าการบริโภคสารสกัดน้ำจากใบอาร์ติโชคในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์จะส่งผลเสียต่อตัวอ่อน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานในช่วงดังกล่าว
Regul Toxicol Pharmacol 2019;102:74-8ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ลดน้ำตาลจากสารสกัดจากหญ้าหนวดแมว
ฤทธิ์ลดน้ำตาลจากสารสกัดจากหญ้าหนวดแมวการศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลของหญ้าหนวดแมว (Orthosiphon stamineus Benth) ในหนูที่เป็นเบาหวานจากการกระตุ้นด้วย streptozotocin พบว่าป้อนสารสกัดหญ้าหนวดแมวที่แยกลำดับส่วนจากสารสกัดหยาบคลอโรฟอร์ม (Cf2-b) ขนาด 1 ก./กก.น้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 14 วัน มีผลลดน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการป้อนสารสกัด อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของระดับอินซูลินระหว่างก่อนและหลังการป้อนสารสกัด เมื่อทำการศึกษาในเซลล์กล้ามเนื้อของหนูแรท พบว่าเมื่อให้ Cf2-b ความเข...
ความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์อักเสบกับการสูบบุหรี่
ความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์อักเสบกับการสูบบุหรี่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์อักเสบกับการสูบบุหรี่ของชายไทยในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 1,843 คน โดยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ระหว่างปี ค.ศ. 1990-1991 ประกอบด้วยอาสาสมัครชาย 625 คน มีอายุระหว่าง 30-89 ปี อาศัยอยู่ในเขต 5 อำเภอในจังหวัดขอนแก่น และระยะที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1992-1994 ประกอบด้วยอาสาสมัครชาย 1,218 คน อายุระหว่าง 33- 86 ปี อาศัยอยู่ในเขตอำเภอชนบทของจังหวัดขอนแก่น ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพช่องปากของอาสาสมัคร และนำ...
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของบัวบก
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของบัวบก สารสกัดดัวยน้ำของบัวบกเมื่อป้อนให้หนูขาวในขนาด 100 มก./กก./วัน เป็นเวลา 7 วัน พบว่าเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันโดยมีฤทธิ์ 60% ของ alfa2b interferon Indian Drug 1998;35(11):711-4. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
การประเมินผลของฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนในหนูขาว
การประเมินผลของฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนในหนูขาว ของน้ำมันหอมระเหยจากเทียนข้าวเปลือกมีการทดสอบฤทธิ์ต้านโรคกระดูกพรุนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนข้าวเปลือก (Foeniculum vulgare Mill) ที่สกัดด้วยวิธีกลั่นด้วยไอน้ำในหนูขาว ซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วย GC/MS พบว่าในน้ำมันมีสารประกอบ 15 ชนิด และมีสารหลักคือ trans -anethole (81.1%) และ fenchone (9.2%) ในการทดลอง หนูขาวเพศเมียสุขภาพดีถูกแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูควบคุม กลุ่มที่ 2 เป็นหนูที่ถูกตัดรังไข่และได้รับแต่กระสายยา กลุ่มที่ 3-5 เ...
ฤทธิ์ต้านผังผืดที่ตับของสารแอนโทไซยานินจากมันเทศ
ฤทธิ์ต้านผังผืดที่ตับของสารแอนโทไซยานินจากมันเทศเมื่อฉีดสารแอนโทไซยานินที่แยกได้จากสารสกัดน้ำของมันเทศ ขนาด 50-200 มก./กก. ให้แก่หนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับด้วย dimethylnitrosamine (DMN) พบว่าสารแอนโทไซยานินจากมันเทศมีผลลดปริมาณเอ็นไซม์ alanine transaminase (ALT) ลดการทำงานของเอ็นไซม์ aspartate aminotransferase (AST) ลดปริมาณคอลลาเจนในตับซึ่งสูงขึ้นจากการได้รับ DMN และทำให้น้ำหนักของตับรวมถึงขนาดตัวของหนูเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่าสารแอนโทไซยานินจากมันเทศ สามารถลดการเกิดผังผืดที่ตับหนู (...
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียจากขี้หล็ก
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียจากขี้หล็กพบสารในกลุ่ม alkaloids 3 ชนิด cassiarins C-E (1-3) และสาร chromone, 10,11-dihydroanhydrobarakol (4) ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเมทานอลของดอกขี้เหล็กแห้ง มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum 3D7 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคไข้มาลาเรียJ Nat Prod 2009;72:1899-901 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ลดไขมันในตับของสารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ฤทธิ์ลดไขมันในตับของสารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ น้ำหนักเกินและไม่มีประวัติเบาหวานร่วมด้วย ทำการศึกษาด้วยการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานแคปซูลสารสกัดจากชาเขียว ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ กลุ่มที่สอง ได้รับยาหลอก เป็นกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากชาเขียว สามารถลดน้ำหนักตัว ลดระดับดัชนีที่คำนวณจากก...
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของสารสกัดใบตะไคร้
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของสารสกัดใบตะไคร้ใบตะไคร้ตามสรรพคุณยาแผนโบราณ มีสรรพคุณในการรักษาการอักเสบ แต่มีข้อมูลค่อนข้างน้อยว่าสารใดเป็นตัวออกฤทธิ์ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาในเซลล์เม็ดเลือดขาวของคน ซึ่งพบว่าสาร chlorogenic acid และ สาร polyphenol จากใบตะไคร้ สามารถยับยั้งการอักเสบได้ โดยมีกลไกลยับยั้งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ คือยับยั้งการทำงานของ proteasome ยับยั้งการเกิดสาร nuclear factor (NF-κB) และยับยั้งการสร้างสาร tumor necrosis factor เช่น ไซโตคายน์ (cytokineTNF-α) และ chem...
ผลของโกโก้ต่อการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในอาสาสมัครวัยรุ่นและผู้ใหญ่สุขภาพดี
ผลของโกโก้ต่อการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในอาสาสมัครวัยรุ่นและผู้ใหญ่สุขภาพดีการศึกษาทางคลินิกผลสารฟลาวานอลจากโกโก้ (cocoa flavanol) ต่อการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในอาสาสมัครวัยรุ่นและผู้ใหญ่สุขภาพดี จากการวิเคราะห์ปริมาณไมโครพาติเคิลจากเยื่อบุผนังหลอดเลือด (endothelium microparticles; EMPs) ในพลาสมาของผู้ใหญ่สุขภาพดีจำนวน 19 คน ด้วยเทคนิค flow cytometry พบว่า CD31+/41−, CD144+ และ CD62e+ EMPs เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่จำนวน 20 คน โดย...