-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
การศึกษาความเป็นพิษของการใช้สารสกัดเอทานอลจากใบของหญ้าหนวดแมวร่วมกับยาเคมีบำบัดเจมไซทาบีน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
การศึกษาความเป็นพิษของการใช้สารสกัดเอทานอลจากใบของหญ้าหนวดแมวร่วมกับยาเคมีบำบัดเจมไซทาบีน
การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดเอทานอลจากใบของหญ้าหนวดแมว (Orthosiphon stamineus Benth.) และสาร rosmarinic acid ซึ่งเป็นสำคัญที่พบในหญ้าหนวดแมว เมื่อใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดเจมไซทาบีน (gemcitabine) โดยแบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 8 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ได้รับน้ำกลั่นทางปากขนาด 1 มล./กก./วัน กลุ่มที่ 2 ได้รับยาเจมไซทาบีนด้วยการฉีดเข้าทางช่องท้องขนาด 10 มก./กก./3 วัน กลุ่มที่ 3 ได้รับสารสกัดเอทานอลจากใบของหญ้าหนวดแมวด้วยการป้อนทางปาก ขนาด 200 มก./กก./วัน (ขนาดต่ำ)กลุ่มที่ 4 ได้รับสารสกัดเอทานอลจากใบของหญ้าหนวดแมวด้วยการป้อนทางปาก ขนาด 200 มก./กก./วัน ร่วมกับยาเจมไซทาบีนด้วยการฉีดเข้าทางช่องท้องขนาด 10 มก./กก./3 วัน กลุ่มที่ 5 ได้รับสารสกัดเอทานอลจากต้นหญ้าหนวดแมวด้วยการป้อนทางปาก ขนาด 400 มก./กก. (ขนาดสูง) กลุ่มที่ 6 ได้รับสารสกัดเอทานอลจากใบของหญ้าหนวดแมวด้วยการป้อนทางปาก ขนาด 400 มก./กก./วัน ร่วมกับยาเจมไซทาบีนด้วยการฉีดเข้าทางช่องท้องขนาด 10 มก./กก./3 วัน กลุ่มที่ 7 ได้รับสาร rosmarinic acid ด้วยการป้อนทางปาก ขนาด 32 มก./กก. และกลุ่มที่ 8 ได้รับสาร rosmarinic acid ด้วยการป้อนทางปาก ขนาด 32 มก./กก. ร่วมกับยาเจมไซทาบีนด้วยการฉีดเข้าทางช่องท้องขนาด 10 มก./กก./3 วัน ทำการศึกษาเป็นเวลา 14 วัน จากการวิเคราะห์ค่าชีวเคมีในเลือด และผ่าพิสูจน์ลักษณะทางกายภาพของอวัยวะภายใน ไม่พบความเป็นพิษหรือความผิดปกติของสัตว์ทดลองในทุกกลุ่ม ทั้งการป้อนสารสกัดเอทานอลจากหญ้าหนวดแมวหรือสาร rosmarinic acid เพียงอย่างเดียว หรือใช้ร่วมกับยาเจมไซทาบีน จึงเป็นการยืนยันความปลอดภัยในการเลือกใช้สารสกัดจากหญ้าหนวดแมวร่วมกับยาเคมีบำบัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับอ่อนในอนาคตได้
J Adv Res 2019;15:59-68ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านมะเร็งและลดการอักเสบของสารสำคัญในขิง
ฤทธิ์ต้านมะเร็งและลดการอักเสบของสารสำคัญในขิงสารสำคัญที่พบในขิง ได้แก่ [6]-, [8]-, [10]-gingerol, [6]-, [8]-, [10]-shogaol, [6]-paradol และ [1]-dehydrogingerdione มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด H-1299 และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ HCT-116 ได้ ซึ่งสารในกลุ่ม shogaol จะมีฤทธิ์ดีกว่าในกลุ่ม gingerol โดยเมื่อเปรียบเทียบค่า IC50 ของ [6]-shogaol กับ [6]-gingerol จะมีค่า 8 และ 150 ไมโครโมล ตามลำดับ สำหรับการทดลองในเซลล์ murine macrophage RAW264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide พบว่าสาร...
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสมุนไพร
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสมุนไพรการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสมุนไพร (novel water-soluble herbal acne patch: WHAP) ซึ่งมีส่วนประกอบของว่านหางจระเข้ สารสกัดจากใบบัวบก (4.5%w/w) สารสกัดดอกดาวเรืองหม้อ (4.5%w/w) และสารสกัดจากผลมะขามป้อม (2.5%w/w) เปรียบเทียบกับแผ่นปิดสิวอักเสบที่เตรียมจากสารไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid acne patch: HAP) ทำการศึกษาแบบ randomized, assessor-blind controlled ในอาสาสมัครที่มีความรุนแรงของสิวอักเสบระดั...
โสมลดการอักเสบของหลอดลมในหอบหืด
โสมลดการอักเสบของหลอดลมในหอบหืดการศึกษาผลของสารสกัดจากโสม (Panax ginseng C.A. Meyer) ต่อหนูเม้าส์ที่ถูกเนี่ยวนำให้เป็นโรคหอบหืด โดยการฉีดโปรตีนจากไข่ขาว (Ovalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เข้าทางช่องท้อง 2 ครั้ง ในวันที่ 0 และ 14 ของการทดลอง ด้วยขนาด 20 มคก. ของ Ovalbumin ที่ดูดซับอยู่ใน albumin hydroxide 1.0 มก. ในวันที่ 20-22 ของการทดลอง หนูเม้าส์จะได้รับการฉีดสารสกัดจากโสมเข้าทางช่องท้องวันละ 1 ครั้ง ขนาด 20 มก./กก. และในวันที่ 20-22 หลังจากฉีดสารสกัดจากโสม 10 นาที หนูเม...
สารเคอร์คูมินยับยั้งฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของยาวินบลาสติน
สารเคอร์คูมินยับยั้งฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของยาวินบลาสตินการศึกษาอันตรกิริยาระหว่างยาและสารจากธรรมชาติของสารเคอร์คูมิน (curcumin) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม polyphenols ที่พบได้ในเหง้าของขมิ้นชัน (Curcuma longa Linn) พบว่าสารเคอร์คูมินเข้าจับกับบริเวณจำเพาะของไมโครทิวบูล (specific binding site on microtubules) ทำให้การออกฤทธิ์ของยารักษามะเร็งวินบลาสติน (vinblastine) ลดลง (ยาวินบลาสตินออกฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยการเหนี่ยวนำให้ไมโครทิวบูลเกิดการสลายตัว (microtubule depolymerization) ส่งผลให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัว...
ฤทธิ์บรรเทาอาการท้องผูกของอาหารข้นจากกล้วยดิบ
ฤทธิ์บรรเทาอาการท้องผูกของอาหารข้นจากกล้วยดิบการศึกษาฤทธิ์บรรเทาอาการท้องผูกของกล้วยดิบ (green dwarf banana, Musa spp. AAA.) ในเด็กที่มีปัญหาท้องผูก จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารข้นจากกล้วยดิบ (green banana biomass)* ขนาด 30 ก./วัน กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารข้นจากกล้วยดิบร่วมกับ Polyethylene glycol 3350 (PEG3350) กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารข้นจากกล้วยดิบ ร่วมกับยารักษาอาการท้องผูก sodium picosulfate กลุ่มที่ 4 ได้รับ PEG3350 เพียงอย่างเดียว และกลุ่มที่ 5 ได้รับยา sodium picosu...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสายน้ำผึ้ง
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสายน้ำผึ้งการศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสายน้ำผึ้ง (Lonicera japonica Thunb.) ในหนูแรทที่ป้อนอาหารที่มีไขมันสูงและฉีดสาร streptozotocin เพื่อเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน จากนั้นป้อนสารสกัด 70% เอทานอลจากต้นสายน้ำผึ้ง ขนาด 100 มก./กก.น้ำหนักตัว เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดจากต้นสายน้ำผึ้งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และปรับปรุงภาวะดื้ออินซูลินในหนูที่เป็นเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว และความอยากอาหารที่ลดลงจากการเกิดเบาหวานให้กลับสู่ค่าปกติ และยังช่วยป้องกันความเสียหายต่อ...
ผลของดอกทับทิมต่อการเกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบ
ผลของดอกทับทิมต่อการเกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบการทดสอบผลของสารสกัดเมทานอล-น้ำ (3:1) จากส่วนดอกทับทิม (Punica granatum ) ซึ่งอุดมไปด้วย ellagic acid ในหนูเม้าส์ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในลำไส้ใหญ่ด้วยการดื่มน้ำที่มี 2% dextran sulfate sodium (DSS) เป็นเวลา 7 วัน และฆ่าหนูในวันที่ 8 เพื่อตรวจระดับสาร histamine, myeloperoxidase (MPO) และ superoxide anion (อนุมูลอิสระ) พบว่าการเหนี่ยวนำด้วย DSS ทำให้ระดับของ histamine, MPO และอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ซึ่ง MPO เป็นตัวชี้วัดการเกิดภาวะการอักเสบ และสา...
การทำงานร่วมกันระหว่างน้ำมันจากเมล็ดป่านและยาต้านมะเร็ง
การทำงานร่วมกันระหว่างน้ำมันจากเมล็ดป่านและยาต้านมะเร็ง trastuzumab ในโรคมะเร็งเต้านมน้ำมันจากเมล็ดป่านมีกรดไขมันจำนวนมากซึ่งนิยมใช้บริโภคในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ซึ่งหากเป็นยาแผนปัจจุบันใช้ยา trastuzumab ในการรักษามะเร็งเต้านม การศึกษาในครั้งนี้ต้องการดูความสัมพันธ์ระหว่างน้ำมันจากเมล็ดป่านและยา trastuzumab โดยศึกษาในหนูเม้าส์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดก้อนเนื้องอกที่เต้านม แบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับยาต้านมะเร็งเต้านม trastuzu...
ฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับของสะแกนา
ฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับของสะแกนา สารสกัดเมธานอลจากใบสะแกนา (Combretum quadranqulare Kurz.) แสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับในหนูทดลองที่ถูกชักนำให้ตับถูกทำลายด้วย D-galactosamine (D-GalN) / lipopolysaccharide ( LPS ) และในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่ถูกทำลายด้วย D-GalN / tumor necrosis factor-Alpha ( TNF-Alpha ) โดยสามารถแยกสารสกัดบริสุทธิ์จากใบสะแกนาได้มากกว่า 30ชนิด และพบว่าสารประเภทฟลาโวนอยด์ ( flavonoids )และไตรเทอร์ปีนชนิดไซโคลอาร์เทน (...