Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของน้ำมันเมล็ดเทียนขาวในผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุง

การศึกษาทางคลินิกแบบมีการสุ่ม ปกปิดสามทาง และมียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม (A randomized, triple blind, placebo-controlled clinical trial) ในผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) จำนวน 56 คน อายุระหว่าง 18-60 ปี โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ได้รับแคปซูลนิ่มบรรจุน้ำมันเมล็ดเทียนขาว (Cuminum cyminum L. essential oil; CuEO) ขนาด 75 มก. หรือยาหลอก วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์สัดส่วนของร่างกาย (anthropometric parameters), การบริโภคอาหาร (food consumption), ระดับ tumor necrosis factor alpha (TNF-), high-sensitivity C-reactive protein (hsCRP), superoxide dismutase (SOD), glutathione peroxidase (GSH-Px), catalase (CAT), ผลรวมความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ (total antioxidant capacity; TAC), และ malondialdehyde (MDA) โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังทำการทดลอง ซึ่งพบว่า CuEO ไม่มีผลต่อสัดส่วนของร่างกายและการบริโภคอาหาร แต่ทำให้ระดับของ SOD, TAC เพิ่มขึ้น และระดับของ MDA ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ส่วนผลต่อ CAT, GSH-Px, hs-CRP, และ TNF-α ยังให้ผลไม่ชัดเจน

Phytother Res. 2019;33(4):1182-90.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

424

ผลป้องกันการเกิดนิ่วในไตของน้ำมะนาว
ผลป้องกันการเกิดนิ่วในไตของน้ำมะนาวการศึกษาผลของน้ำมะนาวในการป้องกันการเกิดนิ่วในไตของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดนิ่วโดยให้ดื่มน้ำที่ผสม 075% ethylene glycol และ 2% ammonium chloride จากนั้นป้อนด้วยน้ำมะนาว ความเข้มข้น 100%, 75% และ 50% ในขนาด 6 มคล./ก. เป็นเวลา 10 วัน เปรียบเทียบผลที่ได้กับหนูในกลุ่มควบคุมที่เป็นนิ่วแต่ไม่ได้รับน้ำมะนาว พบว่าหนูในกลุ่มที่ได้รับน้ำมะนาว จะมีระดับของ urea, creatinine, calcium และ phosphorus ในเลือด และระดับของ calcium ในไตต่ำกว่ากลุ่มควบคุม เมื่อตรวจดูลักษณะของเนื้...

735

ผลของน้ำมันจากเมล็ดทับทิมต่อความอ้วนและภาวะดื้ออินซูลิน
ผลของน้ำมันจากเมล็ดทับทิมต่อความอ้วนและภาวะดื้ออินซูลินการทดลองในหนูเม้าส์ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีไขมันสูงเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดความอ้วนและภาวะดื้ออินซูลิน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูงซึ่งผสมน้ำมันจากเมล็ดทับทิม 1% และกลุ่มควบคุมที่ได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างดียว เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าหนูที่ได้รับน้ำมันจากเมล็ดทับทิมจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่ากลุ่มควบคุม และไม่มีผลต่อการกินอาหารและการใช้พลังงานของหนู เมื่อทดลองวัดความไวของอินซูลินด้วยวิธี Hyperinsulinemic euglycemic clamp พบว่าระดั...

320

ผลของสารสกัดจากอีเหนียวต่อการหลั่งอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาว
ผลของสารสกัดจากอีเหนียวต่อการหลั่งอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวสารสกัด 50% อัลกอฮอล์ จากส่วนเหนือดิน ความเข้มข้น 0.25-2 มก./มล. มีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลิน เมื่อทดลองในเซลล์ MIN6 และเมื่อป้อนสารสกัด 50% อัลกอฮอล์ จากส่วนเหนือดิน ขนาด 200 มก./กก. แก่หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptpzotocin เป็น15 วัน พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูได้ นอกจากนี้สารสกัดยังมีผลลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ แต่เพิ่มระดับของของ HDL ในเลือด แสดงว่าฤทธิ์ลดเบาหวานของสารสกัดส่วนหนึ่งเก...

1516

ผลของน้ำเชื่อมบัวหิมะ
ผลของน้ำเชื่อมบัวหิมะ (Yacon syrup) ต่อระดับน้ำตาลในเลือดการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม มีการไขว้กลุ่ม และปกปิดสองทาง (Randomized, crossover, double-blind clinical trial) เพื่อศึกษาผลของการบริโภคน้ำเชื่อมรากบัวหิมะ (Smallanthus sonchifolius22) จำนวน 20 คน โดยสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารเช้าร่วมกับยาหลอก 40 ก. และกลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารเช้าร่วมกับน้ำเชื่อมบัวหิมะ 40 ก. (มี fructooligosaccharides 14 ก.) อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับสารทดสอบหลังจากอดอาหารมาเป็นเวลานาน 12 ชม. และทำการวิเคราะห...

594

การดื่มกาแฟเอเพรสโซมีผลกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท
การดื่มกาแฟเอเพรสโซมีผลกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท parasympatheticการศึกษาผลของการดื่มกาแฟต่อการทำงานของระบบประสาท sympathetic และ parasympathetic โดยทำการทดลองในอาสาสมัคร 20 คน ที่มีอายุระหว่าง 25-30 ปี ในจำนวนนี้เป็นอาสาสมัครเพศชาย 10 คน และเพศหญิง 10 คน โดยให้อาสาสมัครดื่มกาแฟสองแบบคือ กาแฟที่มีคาเฟอีน 75 มิลลิกรัม (espresso coffee) และกาแฟที่มีคาเฟอีนน้อยกว่า 18 มิลลิกรัม (decaffeinated coffee) ซึ่งอาสาสมัครทุกคนจะต้องดื่มกาแฟทั้งสองชนิด เมื่อดื่มกาแฟแล้วทำการวัดค่าความผันแปรของอัตราการเต้น...

1578

ผลของการรับประทานข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ต่อระดับน้ำตาลและอินซูลินในอาสาสมัคร
ผลของการรับประทานข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ต่อระดับน้ำตาลและอินซูลินในอาสาสมัครการศึกษาแบบ randomized, single-blind, crossover trials เกี่ยวกับผลของการรับประทานข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ (rice with high resistant starch) ในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 20 คน ในการศึกษานี้ใช้ข้าวที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มเอนไซม์ starch synthase IIIa และ branching enzyme IIb (ss3a/be2b) เพื่อให้ได้ข้าวที่มีปริมาณอะไมโลสสูงและทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ แบ่งออกเป็น 2 การศึกษาย่อย การศึกษาที่ 1 ทำการสุ่มให้อาสา...

746

ฤทธิ์ป้องกันโรคตับอักเสบเนื่องจากการสะสมไขมันในตับของชาดำ
ฤทธิ์ป้องกันโรคตับอักเสบเนื่องจากการสะสมไขมันในตับของชาดำการทดสอบฤทธิ์ของชาดำต่อการต้านตับอักเสบเนื่องจากการสะสมไขมันในตับ (non-alcoholic steatohepatitis) พบว่าการป้อนอาหารไขมันสูงร่วมกับการให้ชาดำความเข้มข้น 2.5% ขนาด 10 มล./กก.น้ำหนักตัว นาน 30 วัน ช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์, low-density lipoprotein (LDL), very low-density lipoprotein (vLDL), high density lipoprotein (HDL) และ bilirubin ในเลือดได้เมื่อเทียบกับหนูแรทที่ได้รับ อาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว แ...

229

ฤทธิ์สารสกัดขิงด้วยเอทานอลต่อการลดน้ำตาลและไขมัน
ฤทธิ์สารสกัดขิงด้วยเอทานอลต่อการลดน้ำตาลและไขมัน เมื่อป้อนสารสกัดขิงด้วยอัลกอฮอล์ในหนูที่เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin ในขนาด 200 มก./กก. เป็นเวลา 20 วัน พบว่าลดน้ำตาลได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดลดลง ในขณะที่ HDL-cholesterol เพิ่มขึ้น หนูที่ถูกทำให้เบาหวานด้วย streptozotocin จะทำให้ปริมาณ lipid peroxide ในตับและตับอ่อนด้วย ขิงจะทำให้ปริมาณ lipid peroxide ลดลง ขนาดที่ให้ผลดีเท่ากับรับประทาน gliclazide 25 มก./กก. J Ethnopharmacol 2005;97:227-30 ...

1540

ผลของขิงต่อระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผลของขิงต่อระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์การศึกษาในหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งตรวจสอบด้วยวิธีวัดความทนต่อน้ำตาล (Impaired glucose tolerance test: IGT) จำนวน 70 คน อายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ได้รับยาเม็ดขิง ขนาด 3 เม็ดต่อวัน หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น (เท่ากับ 1.5 ก./วัน) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาเม็ดขิงจะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting blood sugar) ระดับอินซูลิน และ Homeostasis Model Asse...