Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

อันตรกิริยาของขิงกับยาต้านมะเร็ง crizotinib

ขิงเป็นสมุนไพรที่มีรายงานการใช้เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มักเกิดขึ้นจากการใช้ยาเคมีบำบัด ในกรณีของยาต้านมะเร็ง crizotinib มีรายงานในหญิง 1 ราย อายุ 48 ปี ที่ใช้ยา crizotinib ขนาด 250 มก. วันละ 2 ครั้ง ในการรักษามะเร็งปอด เกิดอาการตับอักเสบอย่างรุนแรง (severe hepatic cytolysis) ซึ่งมีค่าเอนไซม์ alanine aminotransferase สูงมากกว่า 20 เท่าของค่าปกติ โดยพบว่าผู้ป่วยได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของขิง น้ำผึ้ง และน้ำมะนาวอย่างต่อเนื่องในปริมาณสูงถึงมากกว่า 1 ลิตร ต่อวัน ก่อนหน้าที่จะเกิดอาการ ซึ่งเมื่อหยุดให้ยา crizotinib และงดรับประทานขิง อาการตับอักเสบรุนแรงหายไป เนื่องจากยา crizotinib ถูกเมตาบอไลท์ด้วยเอนไซม์ CYP3A4 และเป็น substrate ของ P-glycoprotein และขิงมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 และ P-glycoprotein ดังนั้นการใช้ยา crizotinib ร่วมกับขิงจึงทำให้ระดับยาดังกล่าวในเลือดสูงขึ้น และเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะตับอักเสบได้ จึงควรระมัดระวังในการใช้ยาต้านมะเร็ง crizotinib ร่วมกับการรับประทานขิงหรือสมุนไพรที่มีผลต่อเอนไซม์หรือโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเมทาบอลิซึมของยา

Br J Clin Pharmacol 2019:doi:10.1111/bcp.13862.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1169

ฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผักปลัง
ฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผักปลังการทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ของสารสกัดน้ำจากใบของผักปลัง (Basella rubraAPJCP 2016;17:73-80 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1099

ผลของสารสกัดจากลูกใต้ใบต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา
ผลของสารสกัดจากลูกใต้ใบต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา midazolamการศึกษาผลของสารสกัด 70% เอทานอลจากลูกใต้ใบต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา midazolam (ยานอนหลับชนิดหนึ่ง) ในกระต่าย โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กระต่ายได้รับยา midazolam ขนาด 10 มก./กก. ทางปาก เพียงครั้งเดียว และช่วงที่ 2 ซึ่งห่างจากช่วงแรก 7 วัน ให้สารสกัดลูกใต้ใบ ขนาด 500 มก./กก. ทางปาก วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน และครั้งสุดท้ายในวันที่ 8 ให้สารสกัด 1 ชั่วโมง ก่อนได้รับยา midazolam พบว่าสารสกัดลูกใต้ใบมีผลทำให้ค่าต่างๆ ได้แก่ ความเข้มข้...

1510

ฤทธิ์ระงับอาการปวดและบรรเทาอาการข้ออักเสบของสารสกัดน้ำจากผักเบี้ยหิน
ฤทธิ์ระงับอาการปวดและบรรเทาอาการข้ออักเสบของสารสกัดน้ำจากผักเบี้ยหินการศึกษาฤทธิ์ระงับอาการปวดของสกัดน้ำจากต้นผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacastrumJ Ethnopharmacol 2019;238:111831 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

558

โพลีแซกคาไรด์จากตังกุย
โพลีแซกคาไรด์จากตังกุย (Angelica sinensis) และการออกกำลังกายแบบไทชิ ช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกายโพลีแซกคาไรด์ในตังกุยประกอบไปด้วยโมโนแซกคาไรด์ 8 ชนิด ได้แก่ mannose, rhamnose, glucuronic acid, galacturonic acid, glucose, galactose, arabinose และ fucose ในอัตราส่วน 1.2:4.5:1:10.5:17.8:37.5:8.7:4.9 (โมลาร์) และเมื่อทำการทดลองให้อาสาสมัครหญิงวัยกลางคนจำนวน 90 คน อายุ ≥ 55 ปี ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่สองให้รับประทานโพลีแซกคาไรด์จากตังกุย ขนาด 125 มิลลิกรัม/น้ำห...

723

ฤทธิ์กระตุ้นสมรรถภาพทางเพศของสารสกัดจากคาธา
ฤทธิ์กระตุ้นสมรรถภาพทางเพศของสารสกัดจากคาธา (Catha edulis  F.)ศึกษาฤทธิ์ของคาธาต่อสมรรถภาพทางเพศของหนูแรทเพศผู้ โดยในการทดลองแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ป้อนสารละลาย Tween 80 (3% v/v) กลุ่มที่ 2 3 และ 4 ป้อนสารสกัดคาธา ซึ่งสกัดด้วย Chloroform และ diethyl ether สัดส่วน 1:3 (v/v) ขนาด 100 200 และ 300 มก./กก. ตามลำดับ และกลุ่มที่ 5 ป้อนสาร cathinone ขนาด 5 มก./กก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทำการทดสอบพฤติกรรมทางเพศของหนูที่เปลี่ยนแปลงไป และตรวจวัดค่าฮอร์โมนเพศในเลือด รวมถึงการนับ...

691

ผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน
ผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน (adipocyte) และการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวของกับการสร้าง adiponectin ในเซลล์ 3T3-L1การศึกษาผลของสารสกัดเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum ) (GE) ต่อกลุ่มอาการความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหารของร่างกาย (metabolic syndrome) ในเซลล์ murine pre-adipocyte cell line (3T3-L1) ซึ่งกลุ่มอาการดังกล่าวประกอบด้วยความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า GE มีฤทธิ์กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน (adipocyte differentiation) และ...

129

พิษต่อเซลล์
พิษต่อเซลล์ ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของcurcumin I-IIIจากขมิ้นชัน Curcumin I, curcumin II (monodemethoxycurcumin) และ curcumin III (Bisdemethoxycurcumin) จากขมิ้นชัน นำมาทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์, ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ สารประกอบเหล่านี้แสดงให้เห็นฤทธิ์ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว, ลำไส้ใหญ่, ระบบประสาทส่วนกลาง, melanoma, ไตและเต้านม การยับยั้ง liposome peroxidation จาก curcumin I-III ที่ 100 mg/mL เป็น 58, 40 และ 22% ตามลำดับ การยับยั้งเอนไซม์ COX I และ II โดย curcumin...

1102

การศึกษาความเป็นพิษของปลาไหลเผือก
การศึกษาความเป็นพิษของปลาไหลเผือกการศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของสารสกัดรากปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia Jack) ซึ่งมีสาร quassinoidsเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ พบว่าขนาดที่ทำให้หนูแรทเพศผู้และเพศเมียตายครึ่งนึง (LD50) คือ 1,293 และ > 2,000 มก./กก.น้ำหนักตัว ตามลำดับ และการศึกษาต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูแรททั้งเพศผู้และเพศเมียโดยป้อนรากปลาไหลเผือก ขนาด 10, 25 และ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว พบว่ารากปลาไหลเผือกมีผลเพิ่มดัชนีชี้วัดการเจริญพันธุ์ของหนูแรทเพศผู้ เมื่อได้รับสารสกัดนานติดต่อกัน 28 วัน และมีช...

1118

ฤทธิ์ยับยั้งการย่อยแป้งของสารสกัดชาเขียว
ฤทธิ์ยับยั้งการย่อยแป้งของสารสกัดชาเขียวทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-amylase* ของสารสกัดชาเขียว (Camellia sinensis (L.) Kuntze) ซึ่งมีสาร epicatechin 59.2%, สาร epigallocatechin gallate 14.6% และสาร epicatechin gallate 26.2% พบว่าสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ 63.5% และมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 2.07 มก./มล. และเป็นการยับยั้งแบบไม่แข่งขัน (noncompetitive) การศึกษาในระดับกลไกการออกฤทธิ์พบว่า เมื่อสารสกัดชาเขียวเข้าจับกับเอนไซม์ α-amylase จะเกิดเป็น...