Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบจากดีบัว

การศึกษาฤทธิ์กลไกในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งแยกได้จากสารสกัด 70% เอทานอลของต้นอ่อนในเมล็ดบัว (Nelumbo nucifera Gaertn.) หรือดีบัว ด้วยวิธี radical scavenging assays และ ELISA พบว่าสาร flavonoids แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยการให้อิเล็กตรอน ให้ไฮโดรเจนอะตอม และจับกับอนุมูลอิสระชนิด DPPH และ ABTS+ และแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งการสร้างสารสื่อกลางที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (inflammatory mediators) ชนิด nitric oxide (NO) , prostaglandin E2 (PGE2) และ tumor necrosis factor (TNF)-α) และยับยั้งไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบชนิด interleukin-6 (IL-6), และ IL-1β นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยการยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) ในดีบัวโดยใช้วิธี Ultrafiltration-Liquid Chromatography ที่ต่อกับวิธี Mass Spectrometry (UF-LC/MS) พบเป็นสารฟลาโวนอยด์จำนวน 12 ตัว คือ luteolin 6-C-glucoside (isoorientin), apigenin 8-C-glucoside (vitexin), quercetin 3-O-glucoside (isoquercitrin), apigenin 6-C-glucosyl-8-C-rhamnoside, luteolin 7-O-neohesperidoside, kaempferol 3-O-robinobioside, isorhamnetin 3-O-rutinoside, diosmetin 7-O-rutinoside (diosmin), และ flavonoid C-glycoside อีก 4 ตัว การหาความสัมพันธ์ของโครงสร้างสารและการออกฤทธิ์พบว่า flavonoids ชนิด O-glycosides ในดีบัว สามารถจับกับเอนไซม์ COX-2 ได้ไม่แตกต่างจาก flavonoids ชนิด C-glycosides ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสาร flavonoids จากต้นอ่อนในเมล็ดบัวหรือดีบัว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับบำรุงร่างกาย



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

364

ผลของการดื่มชาเป็นประจำต่อการกระตุ้นเกร็ดเลือดและการอักเสบ
ผลของการดื่มชาเป็นประจำต่อการกระตุ้นเกร็ดเลือดและการอักเสบการทดลองแบบสุ่มโดยให้อาสาสมัครชายสุขภาพดีและไม่สูบบุหรี่ อายุ 18-55 ปี จำนวน 37 คน ได้รับชาดำซึ่งมีสารสกัดจากชา 1050 มิลลิกรัม และจำนวน 38 คน เป็นกลุ่มได้รับยาหลอกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ แล้วให้อยู่ในช่วงล้างยา 4 สัปดาห์ ซึ่งในช่วงดังกล่าวนี้ อาสาสมัครจะถูกงด ไม่ให้ดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่จะได้รับยาหลอกแทน พบว่าหลังจาก 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับชาดำ จะมีการเกาะกลุ่มของ Monocyte-platelet, Neutrophil-platelet และ Leukocyte-plate...

1555

ผลของการรับประทานเนื้อผลมะขามต่อน้ำหนักตัวและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผลของการรับประทานเนื้อผลมะขามต่อน้ำหนักตัวและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดศึกษาผลของการรับประทานเนื้อผลมะขาม (Tamarindus indica) ต่อน้ำหนักตัวและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินจำนวน 40 คน ทั้งเพศชายและหญิง ทำการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ผู้ป่วยรับประทานเนื้อผลมะขามขนาด 10 ก. วันละ 2 ครั้ง พร้อมมื้ออาหาร นานติดต่อกัน 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มที่ 2 รับประทานอาหารปกติ (กลุ...

942

การศึกษาชีวภาพความพร้อมใช้งานของ
การศึกษาชีวภาพความพร้อมใช้งานของ carotenoids ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น, สี และระดับของ carotenoids ในน้ำส้มแช่แข็งที่ถูกละลายด้วยวิธีต่างๆการนำน้ำส้มมาแช่แข็งเป็นกระบวนการรักษาคุณภาพและรสชาดของน้ำส้ม อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาถึงผลกระทบจากขั้นตอนการละลายน้ำส้มต่อคุณค่าทางโภชนาการอยู่น้อย การศึกษานี้จึงเป็นการประเมินผลการละลายน้ำส้มแช่แข็งด้วยวิธีต่างๆได้แก่ การใช้ไมโครเวฟ การทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง และทิ้งไว้ในตู้เย็น โดยการวัดระดับ carotenoids และศึกษาชีวภาพความพร้อมใช้งานของ carotenoids รวมทั...

138

ผลของ
ผลของ ginkgetin จากใบแปะก๊วยต่อการอักเสบ เคยมีผู้ศึกษา ginkgetin เป็นสารกลุ่ม biflavone จากใบแปะก๊วย พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้ง phospholipase A2 และเป็นยาต้านไขข้ออักเสบ และแก้ปวด การศึกษาครั้งนี้จึงได้ศึกษาผลต่อ cycloxygenase (COX)-1 and 2 และการยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin E2 พบว่า ginkgetin และ gingetin ผสมกับ esoginketin ยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin E2 ซึ่งทำให้อักเสบ และยับยั้งการหลั่ง COX-2 นอกจากนี้ยังได้ทดลองผลที่ผิวหนังซึ่งเหนี่ยวนำให้อักเสบโดย croton oil พบว่ายับยั้ง...

35

ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด
ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด การศึกษาทางคลินิกเบื้องต้นเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของมะแว้งเครือ (Solanum trilobatum L.) ในผู้ป่วยหอบหืดที่มีอาการระดับอ่อนถึงปานกลาง โดยให้ในรูปผงขนาด 300 มิลลิกรัม รับประทานครั้งเดียวพบว่ามีผลเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจของผู้ป่วยและไม่พบผลข้างเคียงแต่ประสิทธิภาพนี้ต่ำกว่า ซาลบิวทามอล (salbutamol) 4 มิลลิกรัม และ deriphylline 200 มิลลิกรัมJ Ethnopharmacol 1999;66:205-10 ...

812

ผลของน้ำมะพร้าวอ่อนในการเพิ่มเซลล์กระดูกขากรรไกรล่างในหนูแรทที่ตัดลูกอัณฑะออก
ผลของน้ำมะพร้าวอ่อนในการเพิ่มเซลล์กระดูกขากรรไกรล่างในหนูแรทที่ตัดลูกอัณฑะออกการศึกษาในหนูแรทเพศผู้จำนวน 30 ตัว แบ่งเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นหนูแรทที่ไม่ได้ตัดลูกอัณฑะ กลุ่มที่ 2 เป็นหนูแรทที่ถูกตัดลูกอัณฑะ กลุ่มที่ 3 เป็นหนูแรทที่ถูกตัดลูกอัณฑะและได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนฉีดเข้าทางช่องท้องขนาด 2.5 ไมโครกรัม/นน.ตัว สัปดาห์ละ 5 วัน นาน 2 สัปดาห์ กลุ่มที่ 4 เป็นหนูแรทที่ถูกตัดลูกอัณฑะและได้รับน้ำมะพร้าวอ่อนที่สกัดด้วยความย็นแล้วบดเป็นผง 100 มล./กก./วัน กลุ่มที่ 5 เป็นหนูแรทที่ไม่ได้ต...

1644

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของพุทรา
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของพุทราการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของพุทรา (Ziziphus jujuba; jujube) ที่ผ่านการย่อยด้วยเอนไซม์ ต่อการอักเสบของปอดในหนูเมาส์ โดยนำเนื้อพุทราไปสกัดด้วยน้ำและเอทานอล แล้วนำไปย่อยด้วยเอนไซม์ เรียกว่า hydrolyzed jujube extract (HJE) ซึ่งพบว่ามีสารสำคัญ ได้แก่ quercetin, total phenolics และ flavonoids และมีฤทธิ์ในการจับกับอนุมูลอิสระมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดพุทราที่ไม่ผ่านการย่อยด้วยเอนไซม์ non-hydrolyzed jujube extract (NHJE) นอกจากนี้ HJE ยังมีผลลดการอักเสบ ลด nitric oxide ...

1424

ผลของความร้อนในการสกัดกระเจี๊ยบแดงต่อสารสำคัญและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
ผลของความร้อนในการสกัดกระเจี๊ยบแดงต่อสารสำคัญและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidaseการเปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ของสารสกัดกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa Linn.) ที่ได้จากการสกัดผงกระเจี๊ยบแดงแห้ง 2 กรัม ด้วยน้ำกลั่น 200 มล. โดยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ 1. วิธีต้ม (ต้มผงกระเจี๊ยบแดงในน้ำเดือดนาน 5 นาที) 2. วิธีชง (เติมน้ำเดือดลงในผงกระเจี๊ยบแดง แช่ทิ้งไว้ 5 นาที) และ 3. วิธีหมัก (หมักผงกระเจี๊ยบแดงในน้ำโดยกวนน้ำที่ความเร็ว 100 รอบ/นาที นาน 5 นาที และเก็บไว้ที่อุณหภ...

72

ฤทธิ์ยาชาเฉพาะที่ของสาร
ฤทธิ์ยาชาเฉพาะที่ของสาร menthol จากการทดลองในหลอดทดลองโดยใช้กระบังลมของหนู พบว่าเมื่อให้สาร(+) และ (-) menthol ในขนาด 10-4 - 1 ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร ทำให้การหดตัวของกระบังลมที่ถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าลดลง ในขณะที่สาร (-) menthone และ thymol ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ menthol ไม่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว เมื่อทดลองในสัตว์ทดลอง โดยศึกษาผลการเกิดรีเฟลกซ์ของเยื่อบุตากระต่าย พบว่าเมื่อให้สาร (+) และ (-) menthol ขนาด 30-100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีผลท...