Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus niger จากเหง้าว่านน้ำ

การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ ใบ Birch-Leaved Cat Tail (Acalypha fruticose), ใบตำแยแมว (Acalypha indica), ใบมะตูม (Aegle marmelos), ใบเสนียด (Adhatoda vasica), ใบรัก (Calotropis gigantean), ใบทองหลางลาย (Erythrina indica), ใบคนทีเขมา (Vitex negundo), ใบยี่โถ (Nerium oleander), ใบมะขามเทศ (Pithecellobium dulce), เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus) และน้ำมันหอมระเหยของว่านน้ำ (ได้จากการสกัดเหง้าว่านน้ำด้วยวิธีกลั่นด้วยน้ำ) โดยนำมาสกัดด้วยตัวทำละลายต่างๆ คือ benzene, chloroform, ethanol, ethyl acetate, methanol, hexane, และ petroleum ether และนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus niger ATCC 16888 เปรียบเทียบผลที่ได้กับยาต้านเชื้อรา 2 ชนิดคือ itraconazole และ voriconazole พบว่า สารสกัดเมทานอลและน้ำมันหอมระเหยของว่านน้ำมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราได้ดีที่สุด (ความเข้มข้น 100 มคล./มล.) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับยาต้านเชื้อรา (ความเข้มข้น 1 มก./มล.) โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) ประมาณ 5 มคก./มล. การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสารออกฤทธิ์ของว่านน้ำคือ β-Asarone และการศึกษากลไกการออกฤทธิ์พบว่า β-Asarone เข้าแทรกแซงการทำงานและลดปริมาณของ ergosterol ในเยื่อหุ้มเซลล์ของ A. niger ATCC 16888 แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเหง้าว่านน้ำและสาร β-Asarone มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อรา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นสารต้านเชื้อราในอุตสาหกรรมต่อไป

Proceedings of the National Academy of Sciences, India, Section B: Biological Sciences 2019;89(1):173-84.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1449

น้ำมันเมล็ดเทียนดำสามารถควบคุมโรคหืดให้ดีขึ้น
น้ำมันเมล็ดเทียนดำสามารถควบคุมโรคหืดให้ดีขึ้นPhytother. Res. 2017;31:403-9. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1317

ฤทธิ์บรรเทาอาการวัยทองในสตรีหลังหมดประจำเดือนของผักชีล้อม
ฤทธิ์บรรเทาอาการวัยทองในสตรีหลังหมดประจำเดือนของผักชีล้อมการศึกษาแบบ triple-blind, placebo-controlled trial ในอาสาสมัครสตรีที่เข้าสู่วัยทอง จำนวน 90 คน อายุระหว่าง 45-60 ปี โดยแบ่งให้รับประทานแคปซูลน้ำมันหอมระเหยจากต้นผักชีล้อม (Foeniculum vulgare Mill.) ขนาด 100 มก. วันละ 2 แคปซูล นาน 8 สัปดาห์ ทำการประเมินผลโดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถาม The Menopause Rating Score (MRS) เพื่อประเมินอาการโดยรวม อาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ และภาวะทางด้านจิตใจ เช่น ภาวะเครียด และกังวล เปรียบเทียบก่อนและหลังการทด...

1256

ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครง
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครงการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครง (Zingiber simaoense Y. Y. Qian) ในหนูแรท โดยป้อนสารสกัดขนาด 7.5, 15 และ 30 มก./กก. เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล/กรดไฮโดรคลอริก ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) และการแช่น้ำเย็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเครียด เปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับยาไซเมทิดีน (cimetidine) ขนาด 100 มก./กก. และกลุ่มควบคุม พบว่าสารสกัดและยาไซเมทิดีน ...

1248

ฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็งของข้าวไทยที่ไม่ผ่านการขัดสี
ฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็งของข้าวไทยที่ไม่ผ่านการขัดสีAPJCP 2016;17(7):3551-8 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1095

ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของสารสกัดกระเทียมดำที่ผ่านการบ่ม
ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของสารสกัดกระเทียมดำที่ผ่านการบ่ม (aged black garlic extract)การศึกษาฤทธิ์ลดไขมันของสารสกัดกระเทียมดำที่ผ่านการบ่มในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงทั้งชายและหญิง (อายุระหว่าง 19-80 ปี) จำนวน 60 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดกระเทียมดำที่ผ่านการบ่มวันละสองครั้ง ขนาดครั้งละ 3 กรัม (6 กรัม/วัน) ในช่วงเวลาก่อนอาหารมื้อเช้าและเย็น นานติดต่อกัน 12 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอก (placebo) เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองทำการเก็บตัวอย่างเลือดผู้ป่วย...

220

ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของดีปลี
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของดีปลี สารสกัด 80% อะซีโตนจากผลดีปลี มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลด้วยเอทานอลและ indomethacin โดยมีค่า ED50 เท่ากับ 14 และ 12 มก./กก. ตามลำดับ เมื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัด 80% อะซีโตนจากผลดีปลี พบว่าประกอบด้วยสารในกลุ่ม amide ได้แก่ piperchabamides A, B, C และ D นอกจากนี้ยังพบว่าสารสำคัญอื่นๆ ในดีปลี ได้แก่ piperine, pipernonaline, dehydropipernonaline, retrofractamide B,   N-isobutyl-(2E,4E)-octadecadienamide ...

1399

ฤทธิ์ป้องกันการทำลายสมองของสาร
ฤทธิ์ป้องกันการทำลายสมองของสาร cordycepin จากภาวะสมองบาดเจ็บการศึกษาฤทธิ์ของสาร cordycepin ที่แยกได้จากถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) ในการป้องกันการเกิดภาวะผิดปกติของตัวกรองกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier (BBB)) จากการเหนี่ยวนำโดยทำให้สมองบาดเจ็บ (traumatic brain injury) ทดสอบโดยการฉีดสารละลาย cordycepin ในน้ำเกลือ ขนาด 1, 5, 10 และ 20 มก./กก. เข้าทางเส้นเลือดดำให้แก่หนูแรทหลังจากถูกเหนี่ยวนำให้สมองบาดเจ็บด้วยการผ่าตัด 30 นาที ด้วยวิธี controlled cortical impact พบว่า สามารถลด...

160

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของกระเทียมสกัดแบบ
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของกระเทียมสกัดแบบ in vitro oxidized LDL เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิด atherosclerotic heart disease จึงมีการทดลองหาสารที่ต่อต้านการเกิด oxidized LDL โดยนำ LDL ที่แยกได้จากคนมาทดสอบกับ oxidant ชนิดต่างๆ ในภาวะที่มีหรือไม่มี aged garlic extract (AGE) และสารสกัด diethyl ether ของ AGE จากผลการทดสอบพบว่า AGE มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยไปกำจัด superoxide ion และลดการเกิด lipid peroxide โดย AGE 10%v/v ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย สามารถยับยั้งการเกิด superoxide ได้อย่างส...

636

ปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดฟ้าทะลายโจรและยาแผนปัจจุบัน
ปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดฟ้าทะลายโจรและยาแผนปัจจุบันมีรายงานการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างสารสกัด 95%เอทานอลจากส่วนต้นและส่วนใบของฟ้าทะลายโจร (APE) และสาร andrographolide (AG) กับยา theophylline โดยป้อนหนูแรทด้วย APE (1 ก./กก., เทียบเท่ากับ AG 77 มก./กก.), AG 77 มก./กก, APE (2 ก./กก., เทียบเท่ากับ AG 154 มก./กก) หรือ AG 154 มก./กก เป็นเวลา 3 วัน และฉีดยา theophylline เข้าทางหลอดเลือดดำ ในขนาด 1 มก./กก. หรือ 5 มก./กก. ในวันที่ 4 จากผลการทดลองพบว่าการให้ theophylline ในขนาด 5 มก./กก. (high dose) ในหนูที่ไ...