-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของกระเจี๊ยบแดงต่อปริมาณธาตุเหล็กในผู้ป่วยโรคโลหิตจาง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของกระเจี๊ยบแดงต่อปริมาณธาตุเหล็กในผู้ป่วยโรคโลหิตจาง
การศึกษาผลของการดื่มสารสกัดมาตรฐานของน้ำดอกกระเจี๊ยบแดงต่อปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายของผู้ป่วยโรคโลหิตจางจำนวน 130 คน ทั้งเพศชายและหญิง (อายุระหว่าง 18-50 ปี) โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มสารสกัดน้ำกระเจี๊ยบแดงวันละ 1,000 มล. (เทียบเท่ากับการได้รับปริมาณสารสำคัญคือ ascorbic acid 831 มก./ก. และธาตุเหล็ก 78 มก./ก.) กลุ่มที่ 2 ดื่มสารสกัดน้ำกระเจี๊ยบแดงวันละ 1,500 มล. (เทียบเท่ากับการได้รับปริมาณสารสำคัญคือ ascorbic acid 1,246.5 มก./ก. และธาตุเหล็ก 117 มก./ก.) กลุ่มที่ 3 ดื่มสารสกัดน้ำกระเจี๊ยบแดงวันละ 2,000 มล. (เทียบเท่ากับการได้รับปริมาณสารสำคัญคือ ascorbic acid 1,662 มก./ก. และธาตุเหล็ก 156 มก./ก.) และกลุ่มที่ 4 ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ให้รับประทานยาเม็ด ferrous sulphate ขนาดวันละ 200 มก. (เทียบเท่ากับการได้รับธาตุเหล็ก 65 มก.) นานติดต่อกัน 30 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครเพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณธาตุเหล็กในเลือด (ferritin) ค่าฮีโมโกลบิน และค่าดัชนีบ่งชี้ถึงกระบวนการสร้างเม็ดเลือดทั้งช่วงก่อนและหลังการทดลอง ผลจากการศึกษาพบว่า ค่า ferritin ที่ตรวจวัดได้ในเลือดของผู้ป่วยที่ดื่มสารสกัดน้ำกระเจี๊ยบในกลุ่มที่ 2 และ 3 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการทดลอง แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่มีผลต่อค่าเลือดอื่นๆ นอกจากนี้ มีรายงานถึงอาการข้างเคียงที่พบบ่อยจากการใช้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ มาลาเรีย การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาการปวดศีรษะ ปัสสาวะบ่อยขึ้น และมีค่าเอนไซม์ในตับสูงขึ้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การดื่มสารสกัดน้ำดอกกระเจี๊ยบแดงไม่มีผลช่วยเพิ่มปริมาณธาตุเหล็กในผู้ป่วยโรคโลหิตจางแต่อย่างใด
J Ethnopharmacol. 2017; 209: 288-93.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็งในเซลล์เยื่อบุเต้านมของสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็งในเซลล์เยื่อบุเต้านมของสาร diallyl trisulfide จากกระเทียมการทดลองในเซลล์เยื่อบุเต้านม MCF-10A เมื่อให้สาร diallyl trisulfide จากกระเทียม ความเข้มข้น 6 และ 60 ไมโครโมลาร์ ก่อนหรือพร้อมกันกับการเหนี่ยวนำให้เป็นมะเร็งด้วยสารก่อมะเร็ง benzo(a)pyrene (BaP) พบว่าสาร diallyl trisulfide ความเข้มข้น 6 และ 60 ไมโครโมลาร์ จะยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์ได้ 71.1% และ 120.8% ตามลำดับ สาร diallyl trisulfide ความเข้มข้น 60 ไมโครโมลาร์ ที่ให้ก่อนการเหนี่ยวนำด้วยสาร BaP จะลดการเปลี่ยนระยะ...
Zeaxanthin
Zeaxanthin Dipalmitate จากผลเกาจีฉ่ายลดการเหนี่ยวนำให้เกิด fibrosis ในตับหนูขาว Zeaxanthin Dipalmitate (ZD) เป็นแคโรทีนอยด์จากผลเกาจีฉ่าย ลดการแพร่กระจายของเส้นใยที่ผิดปกติและการสร้างคอลลาเจนในหลอดทดลอง การทดลองใช้ ZD ดูผลจากการลดความรุนแรงในการเกิด fibrosis ที่ผิดปกติใน model ตับของสัตว์ทดลอง fibrosis ในตับถูกเหนี่ยวนำโดย bile duct ligation/scission (BDL) 6 สัปดาห์ รักษา BDL ของหนูขาวโดยให้ ZD 25 mg/kg น้ำหนักตัว พบว่าสามารถลด aspartate transminase (p...
โสมคนยับยั้งการปลอดปล่อยโดปามีนจากเนื้อเยื่อสมองที่ถูกกระตุ้นด้วยนิโคติน
โสมคนยับยั้งการปลอดปล่อยโดปามีนจากเนื้อเยื่อสมองที่ถูกกระตุ้นด้วยนิโคติน เมื่อผ่าน (infusion) สารนิโคตินเข้าสู่เนื้อเยื่อสมองส่วนสตรัยอะตรัม (striatum) ของหนูขาวมีผลเพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน ผลนี้ทำให้เกิดการตื่นตัว (behavioral activatioon) และรู้สึกเป็นสุข (rewarding effect) เช่นเดียวกับผลที่เกิดจากการสูบบุหรี่ แต่เมื่อให้สารซาโปนิน (total saponins) ที่สกัดจากโสมคน ( Panax ginseng C.A. Meyer) โดยฉีดเข้าช่องท้องในขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลยับยั้งการหล...
ฤทธิ์กดประสาทของ
ฤทธิ์กดประสาทของ barakol Barakol ซึ่งสกัดได้จากใบขี้เหล็ก มีฤทธิ์ยับยั้งประสาทส่วนกลาง ทำให้ลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ทำให้หลับมากขึ้น และเมื่อทดสอบหากระบวนการออกฤทธิ์ พบว่าไม่ได้เกิดผ่าน GABA หรือ glycine และ barakol ไม่มีฤทธิ์ต้านการซึม และมีฤทธิ์ลดการหลั่ง dopamine จึงเป็นไปได้ว่าฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางเนื่องมาจากการลดการหลั่ง dopamine นั่นเอง J Ethnopharmacol 2002;83:87-94 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสต...
การศึกษาเปรียบเทียบชนิดของสารหอมระเหยและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดกาแฟเขียว
การศึกษาเปรียบเทียบชนิดของสารหอมระเหยและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดกาแฟเขียวการศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบของสารหอมระเหยในเมล็ดกาแฟเขียว 3 ชนิด คือ Coffea arabica , Coffea robusta และ Coffea liberica พบว่าเมล็ดกาแฟทั้งสามชนิดมีองค์ประกอบของสารหอมระเหยคล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มฟีนอลิก เช่น p-vinylguaiacol และสารในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิก การศึกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า กาแฟพันธุ์ C. liberica มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด รองลงมาคือ C. arabica และ C. robusta ตามลำดับJournal of essential ...
ฤทธิ์ต้านการจับตัวของเกร็ดเลือดของ
ฤทธิ์ต้านการจับตัวของเกร็ดเลือดของ adenineAdenine ซึ่งสกัดแยกได้จากใบชุมเห็ดเทศสามารถยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือดที่เหนี่ยวนำด้วย collagen ได้ดี แต่ยับยั้ง AD ได้เพียงเล็กน้อย(Biol Pharm Bull 2003;26(9):1361-4) ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ (coffee silverskin extract; CSE*) พันธุ์อาราบิก้า (Coffea arabica*CSE มี CGA และ CF เป็นส่วนประกอบอยู่ 11.18 มก./ก. และ 30.26 มก./ก. ตามลำดับ Food Res Int 2016;89:1015-22. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ปกป้องไตและระบบสืบพันธุ์เพศชายของมะเดื่อชุมพร
ฤทธิ์ปกป้องไตและระบบสืบพันธุ์เพศชายของมะเดื่อชุมพรการทดสอบโดยให้สารสกัดอะซีโตนของเปลือกไม้ต้นมะเดื่อชุมพร (Ficus racemosa ) ขนาด 250 มก./กก. (FR250) และ 500 มก./กก. (FR500) ทางปาก แก่หนูแรทเพศผู้ที่ถูกชักนำให้ไตและอัณฑะเกิดความเป็นพิษด้วยยา doxorubicin ซึ่งยาดังกล่าวทำให้ระดับโปรตีนและกลูตาไธโอนลดลง ในขณะที่ระดับ urea, creatinine, thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) เพิ่มขึ้น พบว่าสารสกัด FR250 และ FR500 มีผลช่วยให้ระดับ creatinine ลดลง 22.5% และ 44% ตามลำดับ และระดับ urea ลดล...
การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบมะรุม
การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบมะรุมการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากใบมะรุมในหนูเม้าส์ โดยป้อนสารสกัดน้ำ ขนาด 400 800 1,600 3,200 และ 6,400 มก./กก. หรือฉีดสารสกัดในขนาด 250 500 1,000 และ 2,000 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู พบว่าการป้อนสารสกัดทุกขนาดไม่ทำให้หนูตาย แต่มีผลลดการเคลื่อนไหวของหนู และบางตัวจะมีอาการเซื่องซึม เมื่อได้รับสารสกัดในขนาดสูง คือ 3,200 และ 6,400 มก./กก. ส่วนการฉีดสารสกัดในขนาด 1,000 และ 2,000 มก./กก. ทำให้หนูตาย 20% และ 80% ตามลำดับ และมีค่า LD50 เท่ากับ 1,585...