Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase ของน้ำมันหอมระเหยจากพืชในวงศ์ Myrtaceae

น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากใบของพืชในวงศ์ Myrtaceae จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ ยูคาลิปตัส (Eucalyptus globulus Labill), เสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi Powell), แปรงล้างขวด (Melaleuca citrina (Curtis) Dum. Cours), ฝรั่ง (Psidium guajava Linn.), หว้า (Syzygium cumini (L.) Skeel), และ ชมพู่น้ำดอกไม้ (Syzygium samarangense (Blume) Merr & L.M. Perry) เมื่อนำมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase (AChE) พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากแปรงล้างขวด มีฤทธิ์ดีที่สุด (71.77±2.11%) รองลงมาคือ ยูคาลิปตัส (47.65±2.26%), ฝรั่ง (24.96±2.38%), เสม็ดขาว (21.18±0.54%), หว้า (19.97±1.10%) และชมพู่น้ำดอกไม้ (13.78±1.52%) ตามลำดับ สาร 1,8-cineole เป็นสารสำคัญหลักที่พบในน้ำมันหอมระเหยจากแปรงล้างขวด ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ AChE ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากเสม็ดขาว หว้า และชมพู่น้ำดอกไม้ ไม่มี 1,8-cineole ในองค์ประกอบ จึงมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ AChE ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตามอาจมีสารอื่นๆ ในน้ำมันหอมระเหยซึ่งอาจมีฤทธิ์ส่งเสริมหรือต้านการออกฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ AChE ได้

TJPS 2019;43(1):63-8.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1079

ชาขาวกับฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่
ชาขาวกับฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่สารสกัดด้วยน้ำร้อนจากชาขาว (แช่ใบชา 2 ก. ในน้ำร้อน 100 มล. นาน 5 นาที) ความเข้มข้น 10-100 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HT-29) โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 87 มคก./มล. แต่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ปกติ (HDF-a) สารสกัดมีผลยับยั้งเซลล์มะเร็ง โดยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ caspase-3, -8, และ -9 ที่เกี่ยวข้องกับการตายของเซลล์ (apoptosis) นอกจากนี้สารสกัดที่ความเ...

256

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบมะม่วง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบมะม่วง สาร mangiferin ที่สกัดได้จากใบมะม่วง เมื่อนำมาทดสอบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (myocardial infarction) ด้วยการฉีดสาร isoproterenol (ISPH) ขนาด 200 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนังหนูขาว พบว่าการฉีดสาร mangiferin ขนาด 100 มก./กก.ที่แขวนลอยใน dimethyl sulphoxide (DMSO) ปริมาตร 2 มล. เข้าในช่องท้องหนูขาว วันละ 2 ครั้งติดต่อกันนาน 28 วัน สามารถป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดได้ โดยมีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ...

1572

การศึกษาทางคลินิกผลของกากองุ่นและทับทิมต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสและภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วนผิดปกติ
การศึกษาทางคลินิกผลของกากองุ่นและทับทิมต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสและภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วนผิดปกติการศึกษาทางคลินิก (controlled acute, cross-over clinical study) ผลของการรับประทานกากองุ่น (Vitis vinifera L., cv Tempranillo; grape) และทับทิม (Punica granatum L., cv Mollar de Elche; pomegranate) ต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วน จำนวน 20 คน อายุ 40-60 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test; OGTT) 75 กรัม หลังจากรับประทานกากองุ่นและ...

1503

การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชค
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชคการศึกษาความเป็นพิษของใบอาร์ติโชค (Cynara scolymus L.) ต่อตัวอ่อนในครรภ์ของหนูแรท ด้วยการป้อนผงแห้งของสารสกัดน้ำจากใบอาร์ติโชค ขนาด 1, 2 และ 4 ก./น้ำหนักตัว 1 กก. ให้แก่หนูแรทเพศเมียตั้งแต่มีอายุครรภ์ 6 วันต่อเนื่องถึงอายุครรภ์ 19 วัน ซึ่งพบว่าสารสกัดน้ำจากอาร์ติโช๊คไม่มีผลต่ออัตราการกินอาหาร เปอร์เซนต์การสูญเสียศักยภาพในการฝังตัวของตัวอ่อนทั้งก่อนและหลังกระบวนการฝังตัว (preimplantation loss and postimplantation loss) น้ำหนักรก และค่าชีวเคมีอื่นๆ...

633

การใช้หอมแดงรักษาหวัด
การใช้หอมแดงรักษาหวัดการศึกษาการใช้หอมแดงรักษาหวัดในกลุ่มเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี จำนวน 20 คน โดยนำหอมแดงแห้ง 3 - 4 หัว มาปอกเปลือกตัดรากทำความสะอาด ทุบหรือตำให้หยาบแล้วใช้ผ้าบางๆ ห่อเป็นกระจุก นำมาประคบหรือสุมไว้ตรงกระหม่อมเด็ก หรือวางไว้ห่างๆ เวลาเด็กนอน เพื่อสูดดมไอระเหยเข้าไปทางลมหายใจ เปรียบเทียบผลกับเด็กที่ใช้ยา chlorpheniramine syrup พบว่าหอมแดงสามารถรักษาหวัดในเด็กได้ดี ผู้ปกครองของเด็กมีความพึงพอใจ ร้อยละ 95.2 และไม่ปฏิเสธการรักษา ทำให้ลดต้นทุนการสั่งซื้อยารักษาโรคหวัดได้ คิดเป็นร้อยละ...

250

Myricetin
Myricetin มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในหนูเบาหวานโดยกระตุ้น beta-endorphin Myricetin เป็น flavanol ซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ชา เบอรี่ ผลไม้ต่างๆ และชะมดต้น (Abelmoschus moschatus) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidative) ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง (cytoprotective) มีการศึกษารายงานว่า myricetin สามารถลดพลาสมากลูโคส ในหนูที่เป็นเบาหวานชนิด I (insulin-dependent) และเบาหวานชนิด II (non-insulin dependent) โดยทำให้มีการใช้กลูโคสเพิ่มขึ้นและเพิ่มระดับพลาสมา beta-endorphin like immunoreactivity (BER...

187

ฤทธิ์ลดการอักเสบจากใบขมิ้น
ฤทธิ์ลดการอักเสบจากใบขมิ้น น้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นมีฤทธิ์ลดการอักเสบทั้งเมื่อใช้คาราจิแนนและใช้ cotton pellet เหนี่ยวนำการอักเสบ โดยขนาดที่ให้ผลเมื่อใช้คาราจีแนนคือ 1.0 ซีซี/กก. มีฤทธิ์เท่า phenylbutazone 100 มก./กก. และให้ฤทธิ์แรงมากเมื่อใช้ในการทดลองโดยใช้ cotton pellet และเมื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของใบพบว่าไม่มีพิษเมื่อให้น้ำมัน 1 มล./กก. และเมื่อให้น้ำมัน 10 วันก็ไม่พบพิษ Indian Drugs 1993;31(11):528-31. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร :...

939

ฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนและฤทธิ์ปกป้องสมองของสารสกัดจากรากหญ้าแห้วหมู
ฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนและฤทธิ์ปกป้องสมองของสารสกัดจากรากหญ้าแห้วหมูการทดสอบฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนของสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์จากรากหญ้าแห้วหมู (Cyperus rotundus  L.) (CRE) ในเซลล์ PC12 (dopaminergic cell line) ที่ทำให้มีระดับเอสโตรเจนต่ำ โดยให้ได้รับ CRE ในขนาด 62.5 - 500 มคก./มล. เป็นเวลา 24 ชม. พบว่า CRE มีฤทธิ์ของเอสโตรเจน โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และการทดสอบฤทธิ์ปกป้องสมองของ CRE ในหนูแรทเพศเมียที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วยการตัดรังไข่ออก และฉีดด้วย 1-methyl-4-phen...

1422

ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับของสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง
ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับของสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง (Glycine max L.) ช่วยลดการสะสมไขมันในตับไม่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease: NAFLD) ในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในตับด้วยการกินอาหารไขมันสูง ทำการทดลองโดยแบ่งหนูแรท ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองในขนาด วันละ 10 และ 20 มก./กก. ตามลำดับ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สั...