Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนจากเรดโคลเวอร์ (red clover)

สารสำคัญที่พบในต้นอ่อนของเรดโคลเวอร์ (Trifolium pratense Linn.) คือ biochanin A และ formononetin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม isoflavones ที่สามารถจับกับตัวรับเอสโตรเจน (estrogen receptors; ERs) และแสดงฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเฉพาะสาร formononetin ซึ่งสามารถจับกับ ERβ ได้ดี ซึ่งสาร isoflavones ของเรดโคลเวอร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ free aglycones ที่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าสาร isoflavones ที่มาจากถั่วเหลืองที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ glycosides การทดสอบหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกเรดโคลเวอร์เพื่อให้ต้นอ่อนสามารถผลิตสารสำคัญออกมาได้มากที่สุด โดยให้แสงที่แตกต่างกันคือ แสงสีขาว (white light), UVA (340 nm) หรือ UVB (310 nm) ใช้เวลาที่แตกต่างกันคือ 12 ชม./วัน หรือ 24 ชม./วัน และใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ 18°C หรือ 25°C ทำการทดสอบเป็นเวลานาน 10 วัน พบว่าสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารสำคัญมากที่สุดเมื่อใช้เวลาปลูกนาน 10 วัน คือ การปลูกภายใต้แสงสีขาว โดยให้ได้รับแสงนาน 24 ชม./วัน ณ อุณหภูมิ 25°C (มีสาร formononetin 562 มก./พืชสด 100 ก.) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่านอกจากถั่วเหลืองแล้ว ต้นอ่อนของเรดโคลเวอร์ก็เป็นแหล่งของเอสโตรเจนจากพืช (phytoestrogens) ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนได้



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1600

ฤทธิ์ลดไขมันของเปปไทด์จากเมล็ดมะกอกฝรั่ง
ฤทธิ์ลดไขมันของเปปไทด์จากเมล็ดมะกอกฝรั่งการศึกษาฤทธิ์ลดไขมันของเปปไทด์จากเมล็ดมะกอกฝรั่ง (olive seed peptide) ซึ่งได้จากการย่อยโปรตีนจากเมล็ด (seed protein) ด้วยเอนไซม์ alcalase ในหนูเม้าส์ชนิด C57BL/6 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงด้วยอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง โดยป้อนหนูด้วยเปปไทด์ขนาด 200 และ 400 มก./กก./วัน เป็นเวลานาน 11 สัปดาห์ พบว่าเปปไทด์ขนาด 200 และ 400 มก./กก./วัน มีผลทำให้ผลรวมคอเลสเตอรอลลดลง 20% และ 25% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเพียงอย่างเดีย...

754

ยาพ่นจมูกจากแคปไซซินช่วยบรรเทาอาการโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ได้
ยาพ่นจมูกจากแคปไซซินช่วยบรรเทาอาการโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ได้การศึกษาแบบสุ่มปกปิดข้อมูลทั้งสองด้าน แบบกลุ่มคู่ขนาน(randomized, double-blind, parallel trial) ในผู้ป่วยมีอาการของโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ จำนวน 42 คน แบ่งให้ได้รับยาพ่นจมูกจากแคปไซซิน(ICX72)หรือยาหลอก พ่นวันละ 2 ครั้ง นาน 2 สัปดาห์เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาพ่นจมูกจากแคปไซซินลดอาการของโรคทางจมูกโดยรวม(Total nasal symptom score: TNSS) และอาการเฉพาะส่วน(Individual nasal score: ISS) อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนได้รับยาพ...

801

ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase และกระตุ้นการงอกของผมของสมุนไพรไทยการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase และกระตุ้นการงอกของผมของสมุนไพรไทย จำนวน 17 ชนิด ที่มีการใช้ในตำรับพื้นบ้านหรือเครื่องสำอางสำหรับรักษาผมร่วง พบว่าสารสกัดเอทานอลของคำฝอย มีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase รองลงมา คือ มะขามป้อม ขณะที่ทองพันชั่งมีฤทธิ์อ่อนที่สุด เมื่อนำสมุนไพรที่มีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase ได้แก่ คำฝอย มะขามป้อม และอัญชัน มาทดสอบฤทธิ์ในการกระตุ้น...

249

หญ้าต้อมต๊อก
หญ้าต้อมต๊อก ( Solanum nigrum ) มีฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดของผลหญ้าต้อมต๊อก ( Solanum nigrum ) ประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ แทนนิน, อัลคาลอยด์, ซาโปนินส์, คาร์โบไฮเดรต, น้ำมันหอมระเหย และแอนโทไซยานิน เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าแอนโทโซยานินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนซาโปนินส์, แทนนิน และน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดของผลหญ้าต้อมต๊อก, SNE ใ...

104

ฤทธิ์ลดไขมันของผลมะระขี้นก
ฤทธิ์ลดไขมันของผลมะระขี้นก เมื่อเลี้ยงหนูขาวด้วยอาหารไขมันสูงนาน 14 วัน พบว่าระดับ HDL cholesterol ในซีรัมต่ำลงระดับโคเลสเตอรอลและไทรกลีเซอรไรด์ในตับสูงขึ้น และเกิด fatty liver แต่เมื่อผสมผงฟรีซดรายจากผลดิบมะระขี้นก ( Momordica charantia   L.) ลงในอาหาร มีผลทำให้ระดับ HDL cholesterol ในซีรัมสูงขึ้น และระดับโคเลสเตอรรอลและไทรกลีเซอไรด์ในตับลดลง J Ethnopharmacol 2000; 72: 331-6 ...

800

ลดความดันด้วยเปปไทด์จากมันเทศ
ลดความดันด้วยเปปไทด์จากมันเทศการศึกษาฤทธิ์ยับยั้ง angiotensin-I-converting enzyme (ACE) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีผลเกี่ยวข้องกับความดันโลหิต โดยเปปไทด์ที่แยกได้จากน้ำคั้นมันเทศ (sweetpotato peptide: SPP) มีฤทธิ์ยับยั้ง ACE ได้ดี มีค่า IC50 เท่ากับ 18.2 มคก./มล. และเมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูแรทที่มีความดันโลหิตสูง (spontaneously hypertensive rat) โดยป้อน SPP ขนาด 100 และ 500 มก./กก. น้ำหนักตัว พบว่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่เวลา 4 ชั่วโมงแล...

456

ฤทธิ์ต้านมะเร็งของโสม
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของโสมสารสกัดน้ำจากโสม (Panax ginseng L และ cIAP และกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ caspase-3 นอกจากนี้สารสกัดยังมีผลลดระดับของเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) และ inducible nitric oxide synthase (iNOS) และลดระดับของเอนไซม์ telomerase โดยยับยั้งการแสดงออกยีน human telomerase reverse transcriptase และ c-Myc สรุปได้ว่าผลต้านเซลล์มะเร็งของสารสกัดน้ำจากโสมเกิดจากกระบวนการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์J Ethnopharmacol 2009;121:304-12 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไ...

718

สารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งกับฤทธิ์ต้านเอนไซม์
สารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งกับฤทธิ์ต้านเอนไซม์ xanthine oxidaseการทดสอบสารสกัด 80%เอทานอลจากใบของมะกอกฝรั่ง (Olea europaea  L.) พบว่าสารในกลุ่ม phenolics ที่แยกได้มีฤทธิ์ต้าน xanthine oxidase (XO) ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเก๊าท์ โดยสาร flavone aglycone apigenin ออกฤทธิ์แรงที่สุดเมื่อเทียบกับยา allopurinol ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคเก๊าท์ และการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสารสกัดที่ได้ประกอบด้วย phenolic secoiridoid oleuropein (24.8%), caffeic acid (1.89%), luteolin-7-O-β-D-gluc...

595

ผลของการดื่มกาแฟต่อภาวะความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุผนังมดลูก
ผลของการดื่มกาแฟต่อภาวะความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุผนังมดลูกการศึกษาผลของการดื่มกาแฟต่อภาวะความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในเยื่อบุผนังมดลูก โดยการสำรวจและเก็บข้อมูลแบบต่อเนื่อง (cohort study) ในอาสาสมัครเพศหญิงในประเทศสวีเดน จำนวน 60,634 คน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ถึง 1990 และ ในปี ค.ศ. 1997 รวมระยะเวลาในการติดตามเฉลี่ย 17.6 ปี โดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มกาแฟ และประวัติเกี่ยวกับสุขภาพ ทำการประเมินค่าความสัมพันธ์ของการดื่มกาแฟต่อภาวะความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเยื่อบุ...