Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดเปลือกต้นสะเดา

สารสกัดเอทานอลจากเปลือกต้นสะเดา (Azadirachta indica A. Juss.) เมื่อนำมาแยกส่วนสกัดตามความมีขั้วด้วยตัวทำละลายต่างๆ เพื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ลดน้ำตาล อันเป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวาน พบว่าส่วนสกัดบิวทานอล (butanol fraction) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี 2,2′-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) ส่วนการทดสอบด้วยวิธี Ferric reducing antioxidant power (FRAP) พบว่าส่วนสกัดน้ำ (aqueous fraction) ให้ฤทธิ์ดีที่สุด ขณะที่การทดสอบในเนื้อเยื่อตับที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นด้วย Fe2+ พบว่าส่วนสกัดเอธิลอะซีเตท (ethylacetate fraction) และส่วนสกัดบิวทานอล มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อตับจากภาวะออกซิเดชั่นดีที่สุด โดยสามารถลดระดับ malondialdehyde ได้อย่างมีนัยสำคัญ ตามขนาดของส่วนสกัดที่ได้รับ และสามารถยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเบาหวานและเพิ่มการนำกลูโกสเข้าเซลล์ นอกจากนี้ส่วนสกัดบิวทานอลและส่วนสกัดไดคลอโรมีเทน (dichloromethane fraction) ยังสามารถเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ catalase และ superoxide dismutase ขณะที่ส่วนสกัดบิวทานอลและส่วนสกัดเอธิลอะซีเตทสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-glucosidase และ α-amylase ด้วยค่า IC50 0.23 และ 14.79 มคก./มล. ตามลำดับ นอกจากนี้ ทุกส่วนสกัดยังสามารถกระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ได้ทั้งในสภาวะที่มีอินซูลินและไม่มีอินซูลิน โดยส่วนสกัดบิวทานอลมีฤทธิ์แรงที่สุดด้วยค่า glucose uptake (GU50) 6.22 มคก./มล. เมื่อนำส่วนสกัดบิวทานอล เอธิลอะซิเตท และไดคลอโรมีเทน ไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบสารพฤกษเคมี เช่น sitosterol, stigmasterol, campestrol, squalene และ nimbiol ซึ่งพบมากในส่วนสกัดบิวทานอลและเอธิลอะซิเตท หลังจากนำสารเหล่านี้ไปคาดคะเนการจับของสารกับโครงสร้างของเอนไซม์ ได้แก่ AMP-activated protein kinase (α-AMPK), α-amylase และ α-glucosidase ด้วยแบบจำลองสามมิติจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พบว่าสารดังกล่าวมีความสามารถในการจับกับส่วนของโครงสร้างเอนไซม์ทั้งสามชนิดได้ ดังนั้น จากผลการศึกษาจึงสามารถสรุปได้ว่าส่วนสกัดบิวทานอลและส่วนสกัดเอธิลอะซีเตทของสารสกัดเอทานอลจากเปลือกต้นสะเดามีสารสำคัญที่มีศักยภาพในการออกฤทธิ์ต้านเบาหวาน

Biomed Pharmacother 2019;109:734-43

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

818

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทย
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทยการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาที่ทำจากสมุนไพรไทย 15 ชนิด ได้แก่ หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ กระเจี๊ยบแดง มะขามแขก หม่อน คำฝอย ดายขัด ช้าพลู ชุมเห็ดเทศ ย่านาง ชะเอมเทศ มะรุม หญ้าหวาน ฝาง และแป๊ะตำปึง เปรียบเทียบกับชา (Camellia sinensis ) 3 ชนิด คือ ชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง พบว่าชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาสมุนไพร เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และ FRAP assays ยกเว้นชาหญ้าหวานซึ่งจะมีฤทธิ์ดีกว่าชาดำและชาอ...

337

ผลของโกโก้ต่อ
ผลของโกโก้ต่อ lipoprotein cholesterol ในคนที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดปกติและสูงทำการศึกษาแบบ double blind study ในอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นสุขภาพดี จำนวน 160 คน ชาย 69 คน หญิง 91 คน อายุเฉลี่ย 49 ± 9 ปี มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติ หรือมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเล็กน้อย (ค่าเฉลี่ยของคอเลสเตอรอลในเลือด = 6.14 ± 0.68 มิลลิโมล/ลิตร, ค่าเฉลี่ยของ LDL-cholesterol 3.91 ± 0.63 มิลลิโมล/ลิตร, ค่าเฉลี่ยของ HDL-cholesterol 1.50 ± 0.31 มิลลิโมล/ลิตร) ทำการสุ่มแบบอิสระแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คื...

1616

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของเมล็ดข้าวสาลีในหนูแรท
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของเมล็ดข้าวสาลีในหนูแรทการศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของเมล็ดข้าวสาลี (Triticum aestivum) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน กลุ่มที่เป็นเบาหวาน กลุ่มที่เป็นเบาหวานและได้รับยารักษาเบาหวาน metformin และกลุ่มที่เป็นเบาหวานและได้รับเมล็ดข้าวสาลี ทำการทดสอบเป็นเวลา 28 วัน หลังจากนั้นเก็บเลือดเพื่อวัดค่าน้ำตาล ทำให้หนูตายแล้วผ่าเพื่อดูอวัยวะภายใน ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ได้รับเมล็ดข้าวสาลีมีผลในลดระดับน้ำตาลในเลือด และค่า alb...

1014

ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ของหญ้าเกล็ดปลาการศึกษาฤทธิ์ของสารยูปาโฟลิน (eupafolin) ฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากต้นหญ้าเกล็ดปลา (Phyla nodiflora (L.) Greene) ในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เป็นเอนไซม์สำคัญในการกระตุ้นการสังเคราะห์เม็ดสีมากเกินไป โดยทำการทดสอบในเซลล์มะเร็งผิวหนัง (melanoma) B16F10 ของหนูเม้าส์ ให้สารยูปาโฟลินความเข้มข้น 0.01, 0.1, 1 และ 10 ไมโครโมลาร์ แก่เซลล์มะเร็ง ทดสอบวัดปริมาณเม็ดสี การทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส และระดับโปรตีนท...

594

การดื่มกาแฟเอเพรสโซมีผลกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท
การดื่มกาแฟเอเพรสโซมีผลกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท parasympatheticการศึกษาผลของการดื่มกาแฟต่อการทำงานของระบบประสาท sympathetic และ parasympathetic โดยทำการทดลองในอาสาสมัคร 20 คน ที่มีอายุระหว่าง 25-30 ปี ในจำนวนนี้เป็นอาสาสมัครเพศชาย 10 คน และเพศหญิง 10 คน โดยให้อาสาสมัครดื่มกาแฟสองแบบคือ กาแฟที่มีคาเฟอีน 75 มิลลิกรัม (espresso coffee) และกาแฟที่มีคาเฟอีนน้อยกว่า 18 มิลลิกรัม (decaffeinated coffee) ซึ่งอาสาสมัครทุกคนจะต้องดื่มกาแฟทั้งสองชนิด เมื่อดื่มกาแฟแล้วทำการวัดค่าความผันแปรของอัตราการเต้น...

31

ฤทธิ์ปกป้องตับของสาร
ฤทธิ์ปกป้องตับของสาร triterpene glucosides จากเมล็ดสะแกนา สารสกัดเมธานอลจากเมล็ดสะแกนา (Combretum quadranqulare Kurz.) แสดงฤทธิ์ปกป้องตับ (hepatoprotective activity ) เมื่อทดลองในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่ถูกทำลายด้วย D-galactosamine/tumor necrosis factor-ต เมื่อนำสารสกัดเมธานอลมาแยกให้บริสุทธิ์ได้สารกลุ่มtriterpene glucosides ชนิดใหม่ซึ่งแสดงฤทธิ์ปกป้องตับคือสาร quadranosides 1,2 และ5 ที่ความเข้มข้น 50ไมโครโมลาร์ สารทั้ง 3 แสดงฤทธิ์ยับยั้งการทำลายเซลล์ตับได้...

1422

ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับของสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง
ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับของสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง (Glycine max L.) ช่วยลดการสะสมไขมันในตับไม่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease: NAFLD) ในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในตับด้วยการกินอาหารไขมันสูง ทำการทดลองโดยแบ่งหนูแรท ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองในขนาด วันละ 10 และ 20 มก./กก. ตามลำดับ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สั...

215

แป๊ะก๊วยเสริมฤทธิ์ยาในการต้านเนื้องอก
แป๊ะก๊วยเสริมฤทธิ์ยาในการต้านเนื้องอกเมื่อให้สารโพลีฟรีนอล polyprenols จากใบแป๊ะก๊วยร่วมกับยารักษามะเร็ง adriamycin, 5-flauouracil, cyclophosphamidse และ cisplatin จะช่วยเสริมฤทธิ์ของยาในการยับยั้งเนื้องอก และให้ผลดีกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว เมื่อให้สาร polyprenols ร่วมกับ cyclophosphamide, cisplatin และ 5-flauouracil แก่หนูถีบจักร จะสามารถยับยั้ง S.0 nodule เพิ่มขึ้นจาก 59.81, 43.06 และ 42.03% เป็น 70.56, 60.29 และ 63.45% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับให้ยาเพียงอย่างเดียว และถ้าให้ polypr...

259

สารฟลาโวนอยด์จากเนื้อไม้ของต้นขนุนสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน
สารฟลาโวนอยด์จากเนื้อไม้ของต้นขนุนสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน สารฟลาโวนอยด์จากเนื้อไม้ของต้นขนุน ได้แก่ artocarpin, cudraflavone, 6-prenylpigenin, kuwanon C, norartocarpin และ albanin A เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สารเมลานนินในเซลล์ B16 melanoma (เซลล์เนื้องอกที่มีสารเม็ดสีเมลานินอยู่เป็นจำนวนมาก) พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถยับยั้งการสังเคราะห์สารเมลานินได้ โดยค่าความเข้มข้นในการยับยั้งการสังเคราะห์สารเมลานินได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 6.7, 7.3, 3.8, 6.6, 4.9 และ 40.1 ...