-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาลดความดันโลหิต
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาลดความดันโลหิต felodipine กับกาแฟ
ศึกษาผลของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างการใช้ยาลดความดันโลหิต felodipine ร่วมกับการดื่มกาแฟในอาสาสมัครสุขภาพดีทั้งเพศชายและหญิงจำนวน 13 คน (อายุระหว่าง 31-65 ปี, เฉลี่ย 52 ปี, ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคกาแฟจำนวน 9 คน และไม่ใช่ผู้บริโภคกาแฟ จำนวน 4 คน) โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มกาแฟดำขนาด 300 มล. 2 ครั้ง (ในชั่วโมงที่ 0 และ 1 ของการทดลอง) กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาลดความดันโลหิต felodipine ขนาด 10 มก. (ในชั่วโมงที่ 0 ของการทดลอง) และกลุ่มที่ 3 ให้ดื่มกาแฟดำขนาด 300 มล. (ในชั่วโมงที่ 0 และ 1 ของการทดลอง) ร่วมกับการรับประทานยา felodipine ขนาด 10 มก. มก. (ในชั่วโมงที่ 0 ของการทดลอง) ทำการตรวจวัดค่าความดันโลหิตทั้งช่วงก่อนและหลังการทดลองเพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลง และทำการเก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครเพื่อตรวจวิเคราะห์ค่าทางเภสัชจลศาสตร์ของยาทุกๆ ชั่วโมง จากชั่วโมงที่ 0-8 ของการทดลอง ผลจากการศึกษาพบว่า การดื่มกาแฟมีผลทำให้ค่าความดันโลหิตของอาสาสมัครเพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) และคลายตัว (diastolic blood pressure) และการดื่มกาแฟร่วมกับการรับประทานยา felodipine มีผลทำให้ค่าความดันโลหิตทั้งสองค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการรับประทานยา felodipine เพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ค่าทางเภสัชจลศาสตร์ของยา felodipine และคาเฟอีนในเลือดพบว่า ทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติแต่อย่างใด ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การดื่มกาแฟอาจมีผลต้านการออกฤทธิ์ของยา felodipine ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
Am J Hypertens. 2016; 29(12): 1386-93.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
เปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยลดระดับคลอเรสเตอรอล
เปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยลดระดับคลอเรสเตอรอลการศึกษาผู้ป่วยที่มีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงเล็กน้อยถึงปานกลางและมีอาการท้องผูกจำนวน 62 คน มีประวัติการรักษาคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาหารหรือยาที่ได้อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนการศึกษา โดยให้ผู้ป่วยกินผลิตภัณฑ์จากเปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอย 100% ครั้งละขนาด 3.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ผสมในอาหาร เช่นโยเกิร์ตหรือของเหลวซึ่งปราศจากกรดคาร์บอนิคหรือแอลกอฮอล์อย่างน้อย 100 มล. และกินก่อนหรือหลังกินยาชนิดอื่น 1-2 ชม. นาน 3 สัปดาห์พบว่ามีผู้ป่วยที่ร่วมการทดลองจนสิ้นสุด...
ผลการป้องกันตับของมันเทศ
ผลการป้องกันตับของมันเทศเมื่อป้อนสารสกัดจากมันเทศ ขนาด 100 มก./กก. ให้แก่หนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับด้วย D-galactose (D-gal) พบว่าสารสกัดจากมันเทศมีฤทธิ์ป้องกันการถูกทำลายของตับที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย D-gal ได้ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการตายของเซลล์ตับ(hepatocytes) เพิ่มปริมาณเอ็นไซม์ reduced glutathione (GSH), เอ็นไซม์ glutathione reductase (GR), เอ็นไซม์glutathione S-transferase (GST) และลดการทำงานของ caspase-3 (เอ็นไซม์ที่กระตุ้นให้เซลล์ตายแบบ apoptosis) นอกจากนี้ยังเพิ่มปริมาณ Bcl-2 และ P...
ฤทธิ์ปกป้องตับจากคำฝอย
ฤทธิ์ปกป้องตับจากคำฝอยการทดสอบฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับของสาร hydroxysafflor yellow A (HSYA) ซึ่งแยกได้จากส่วนดอกของคำฝอย (Carthamus tinctorius ) โดยการเหนี่ยวนำให้เซลล์ตับเกิดความผิดปกติเป็น hepatic stellate cells (HSCs) จำนวนมาก ด้วยสาร CCl4 และ H2O2 โดยสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะทำให้เซลล์เกิด oxidative stress ส่งผลให้ระดับของเอนไซม์ alanine aminotransferase (ALT), aspartate aminotransferase (AST), hyaluronic acid (HA), laminin (LN), type III collagen (III-C) และ type IV collagen (IV-C) ในเลือดเพิ่มขึ...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของใบกระเจี๊ยบแดง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของใบกระเจี๊ยบแดงการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในใบกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa ) ด้วยเทคนิค HPLC-MS พบว่าประกอบด้วยสารกลุ่ม polyphenols ได้แก่ neochlorogenic acid, chlorogenic acid, cryptochlorogenic acid, caffeoylshikimic acid, quercetin, quercetin glycoside, quercetin-rutinoside , kaempferol, kaempferol glycoside, kaempferol glycoside rhamnosyl รวมทั้งพบสาร 5-(hydroxymethyl)furfural หาปริมาณสารประกอบ phenolic ทั้งหมดอยู่ในช่วง 18.98±2.7 ถึง 29.9...
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของทางเดินหายใจของสารฟลาโวนอยด์จากเปลือกรากของหม่อน
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของทางเดินหายใจของสารฟลาโวนอยด์จากเปลือกรากของหม่อนเปลือกรากของหม่อนถูกนำมาใช้ทางการแพทย์พื้นบ้านในการยับยั้งการอักเสบ โดยเฉพาะใช้ในการรักษาอาการอักเสบของปอด เมื่อทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของฟลาโวนอยด์จากเปลือกรากของหม่อนในการยับยั้งการอักเสบของปอดเพื่อนำมาใช้ในการรักษาอาการอักเสบของทางเดินหายใจในทางคลินิค โดยทำการทดสอบในหนูเม้าส์ที่ทางเดินหายใจถูกกระตุ้นให้อักเสบด้วย lipopolysaccharide ทำการวัดระดับการสร้างโมเลกุลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในเซลล์เยื่อบุของปอดและแมคโครฟ...
สารสกัดเอทานอลของกะเพราในการต้านการทำงานของเอนไซม์
สารสกัดเอทานอลของกะเพราในการต้านการทำงานของเอนไซม์ matrix metalloproteinase-9 และเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระสารสกัดเอทานอลของใบกะเพรา เมื่อนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็งปอดของหนูเมาส์ (Lewis lung carcinoma) ขนาดความเข้มข้น 25, 50, 100 และ 200 ไมโครกรัม/มล. พบว่าขนาดความเข้มข้น 200 ไมโครกรัม/มล. เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอดเล็กน้อย ซึ่งเซลล์มะเร็งยังมีชีวิตอยู่ถึง 70% โดยที่ความเข้มข้นของสารสกัดกะเพราที่ 100 ไมโครกรัม/มล. สามารถต้านการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์มะเร็งปอดได้เล็กน้อย และที่ขนาดความเข้มข้น...
ผลของสารสกัดจากส้มแขกต่อระดับฮอโมนเพศในเลือด
ผลของสารสกัดจากส้มแขกต่อระดับฮอโมนเพศในเลือดสารสกัดจากเปลือกผลส้มแขกนิยมใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากในเปลือกผลส้มแขกมีสาร Hydroxycitric acid หรือ HCA ที่เป็นสารสำคัญที่ช่วยขัดขวางการสังเคราะห์ไขมันในร่างกายการทดลองแบบ double-blind placebo controlled ในอาสาสมัคร 44 คน (ชาย 25 คน หญิง 19 คน) อายุระหว่าง 20-65 ปี และมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ให้รับประทานสารสกัดจากเปลือกส้มแขกที่มีปริมาณ HCA 1000 มิลลิกรัมต่อวันหรือรับประทานยาหลอกเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนในสัปดาห์ที่ 13-...
ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของสาร
ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของสาร (-) Epicatechin จากชาเขียวในเซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร (-) Epicatechin จากชาเขียวในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วย และคัดแยกเอาเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) มาวิเคราะห์หาค่าดัชนีชี้วัด (biomarker) ของการเกิดภาวะเครียด หรือเกิดสารต้านอนุมูลอิสระขึ้น ได้แก่ malondialdehyde (MDA), reduce glutathione (GSH), membrane sulfhydryl (-SH) group และปริมาณของโปรตีนคาร์บอนิล (carbonyl content)...
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบของเห็ดออรินจิ
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบของเห็ดออรินจิการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease; IBD) ของเห็ดออรินจิ (Pleurotus eryngii) ในหนูเม้าส์ โดยหนูจะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในลำไส้ใหญ่ด้วย dextran-sodium-sulfate (DSS) จากนั้นจะได้รับอาหารมาตรฐาน AIN-93G ที่มีส่วนผสมของผงเห็ดออรินจิขนาด 0, 1.5%, หรือ 3% w/w (เทียบเท่าคนหนัก 60 กก.รับประทานเห็ดแห้งน้ำหนัก 5-15 ก./วัน) พบว่าผงเห็ดออรินจิสามารถบรรเทาการอักเสบในลำไส้ใหญ่ได้ โดยสามารถลด disease index, เพิ่มความยาวของลำ...