Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

การสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดฝรั่งช่วยให้มีความรู้สึกดีระหว่างรอคอย

การศึกษาแบบกลุ่มย่อย (pilot study) ในอาสาสมัครที่เป็นผู้ป่วยและญาติ ที่มารับบริการ ณ ศูนย์บำบัดสุขภาพจิต ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 57 คน เป็นหญิง 50 คน อายุระหว่าง 23 - 70 ปี โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 อยู่ในห้องที่ให้สูดดมน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดฝรั่ง (bergamot) กลุ่มที่ 2 อยู่ในห้องที่สูดดมด้วยน้ำเปล่า นาน 15 นาที จากนั้นทำการทดสอบสุขภาพจิตโดยใช้แบบสอบถามการประเมินตนเอง (Positive and Negative Affect Schedule, PANAS) โดยทำการทดลองกลุ่มที่ 1 ในสัปดาห์ที่ 1, 3, 5, 7 และกลุ่มที่ 2 ในสัปดาห์ที่ 2, 4, 6, 8 พบว่าอาสาสมัครที่สูดดมน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดฝรั่งจะมีความรู้สึกที่ดีมากกว่ากลุ่มที่สูดดมน้ำเปล่าถึง 17% แต่เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนของอาสาสมัครที่ต้องการจะเข้าร่วมในกลุ่มที่ 1 จำนวนมากถึง 45 คน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 2 ซึ่งมีเพียง 12 คน ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการได้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดฝรั่ง ทำให้มีความต้องการที่จะเข้าร่วมมากขึ้น จากการศึกษาครั้งนี้ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดฝรั่งในศูนย์บำบัดสุขภาพจิต และเป็นแนวทางในการรักษาแบบสุคนธบำบัด (aromatherapy) โดยใช้น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดฝรั่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและส่งเสริมสุขภาพจิตของแต่ละบุคคลให้ดีขึ้น



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

836

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ (Quassia amara )การศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วย nicotinamide-streptozotocin ด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ขนาดวันละ 100 มก. / กก. และ 200 มก. / กก. เปรียบเทียบกับการป้อนด้วยยา glibenclamide 10 มก. / กก. นาน 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากหนูทุกกลุ่ม เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาล โคเลสเตอรอล LDL-C (Low density lipoprotein cholesterol) HDL-C (high density lipoprotein cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ ผ...

1047

ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินของสารสกัดจากดอกกระดังงาไทย
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินของสารสกัดจากดอกกระดังงาไทยสารสกัดเมทานอลจากดอกตูมของกระดังงาไทย (Cananga odorata) ความเข้มข้น 3 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินในเซลล์มะเร็งผิวหนัง murine B16 melanoma 4A5 ที่ถูกกระตุ้นด้วย theophylline เมื่อนำมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี พบว่าสารสกัดเมทานอลประกอบด้วยสารในกลุ่ม lignan dicarboxylates และสารกลุ่ม terpenoids ซึ่งเมื่อนำสารเหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างเมลานิน พบว่า canangaterpene I และ (3R,3aR,8aS)-3-isopropyl-8a-methyl-8-oxo-1,2,3,3a,6,7,8,...

1642

สารสเตอรอลจากวุ้นว่านหางจระเข้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและคอลลาเจนในผิวหนัง
สารสเตอรอลจากวุ้นว่านหางจระเข้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและคอลลาเจนในผิวหนังการศึกษาทางคลินิกแบบ double-blind, randomized, placebo-controlled ในอาสาสมัครเพศหญิงจำนวน 122 คน อายุ 30-55 ปี สุ่มแบ่งอาสาสมัครให้รับประทานแคปซูลสารสเตอรอล (sterol) จากวุ้นว่านหางจระเข้ (Aloe vera (L.) Burm.f.) วันละ 2 แคปซูล (ได้รับสารสเตอรอลรวม 40 มคก./วัน) หรือรับประทานยาหลอก เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าสารสเตอรอลมีผลเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังของอาสาสมัคร โดยลดการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง (transepidermal water loss) และเพิ่มป...

1298

สารสำคัญจากเมล็ดชมจันทร์มีฤทธิ์ต้านการดื้อยาแบบหลายขนานของเซลล์มะเร็งเต้านม
สารสำคัญจากเมล็ดชมจันทร์มีฤทธิ์ต้านการดื้อยาแบบหลายขนานของเซลล์มะเร็งเต้านมการศึกษาฤทธิ์ต้านการดื้อยาของเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดที่ดื้อยาแบบหลายขนาน (multidrug-resistant human breast carcinoma cells) ของสาร albinosides I - IX ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม resin glycosides ที่แยกได้จากสารสกัดคลอโรฟอร์มของเมล็ดชมจันทร์ (Ipomoea alba) โดยดูความสามารถในการต้านการดื้อยา vinblastine (ยารักษามะเร็ง) พบว่าสาร albinoside VII และสาร albinoside VIII ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ และที่ความเข้มข้น 25 มคก./มล. มีฤทธิ์ต้านการด...

133

การพัฒนาไลโปโซม
การพัฒนาไลโปโซม เคอคิวมินอยด์ เป็นส่วนประกอบที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นำเหง้าขมิ้นชันแห้งมาตรวจสารเคอคิวมินอยส์ โดยวิธีHPTLC มีสารเคอคิวมินอยส์อยู่เกือบ 80% เคอคิวมินอยส์เป็นสารที่ไม่ละลายในน้ำ นำไปทำเป็นสูตรตำรับชนิดไลโปโซมโดยใช้ soy phosphatidylcholine เรียกว่า curcuminoid liposomes (VisiCurTM) ซึ่งถูกทำให้กระจายตัวได้ขนาดอนุภาคเฉลี่ย 395 nm และสามารถต้านออกซิเดชั่นเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารเคอคิวมินอยด์ แม้ว่าไลโปโซมของเคอคิวมินอยด์จะลดอนุมูลอิสระได้น้อยว่าในรูปแบบของส...

36

ฤทธิ์ปกป้องทางเดินอาหารของpolysaccharides
ฤทธิ์ปกป้องทางเดินอาหารของpolysaccharides จากตังกุย จากการทดลองในหนูขาวที่เยื่อเมือกบุกระเพาะอาหารถูกทำลายด้วยเอธานอลหรือindomethacin พบว่าการให้สารสกัดจากรากตังกุย (Angelica sinensis Oliv. ) ซึ่งประกอบด้วย polysaccharides 95% โดยการฉีดเข้าช่องท้อง ให้ผลป้องกันการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ โดยออกฤทธิ์อยู่นาน 12 ชั่วโมงภายหลังจากการให้สารสกัด นอกจากนั้นยังมีผลลดเอนไซม์myeloperoxidase ( เป็นตัวชี้ภาวะการอักเสบและการเคลื่อนเข้ามาชุมนุมกันของเม็ดเลือด...

1329

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดจากใบมะรุม
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดจากใบมะรุมการศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดเอทานอลจากใบมะรุม (Moringa oleifera Lam) ที่ประกอบด้วยสารฟลาโวนอยด์ 31.90 มก./มล. โพลีฟีนอล 53.03 มก./มล. ไลโคปีน 0.042 มก./มล. และเบต้าแคโรทีน 0.170 มก./มล. และสารสกัดนี้ที่ความเข้มข้น 1 มก./มล. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระชนิด 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl, hydrogen peroxide และ hydroxyl เทียบเท่ากับ 92.40, 99.25 และ 83.57 TE/ไมโครโมลาห์ ตามลำดับ เมื่อป้อนสารสกัดจากใบมะรุมขนาด 150 มก./กก. น้ำหนักตัว ให้แก่หนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวาน ติดต่...

1506

ประสิทธิภาพของเทียนดำในการสลายนิ่วในไต
ประสิทธิภาพของเทียนดำในการสลายนิ่วในไตการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในไต ซึ่งมีขนาดของก้อนนิ่วมากกว่า 5 มม. ขึ้นไป อายุ 20-60 ปี จำนวน 60 ราย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ให้รับประทานแคปซูลผงเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa L.) ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 10 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก ทำการประเมินผลโดยการวัดขนาดของนิ่วด้วยวิธีการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (sonography) ก่อนและหลังทำการศึกษา พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับเทียนดำ 12 ราย (44.4%) มีการขับนิ่วในไตออกมาได้หมด, 14 ราย (51.8%) มีขนาดขอ...

358

ผลของกิงโกะในการปกป้องตับ
ผลของกิงโกะในการปกป้องตับการทดลองป้อนสารสกัดจากใบกิงโกะซึ่งประกอบด้วยฟลาโวนอยด์ 24% และเทอร์ปีนอยด์ 6% ที่ขนาด 48 และ 96 มก./กก. เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนจะให้เอทานอล ขนาด 2.4 ก./กก. แก่หนูขาว ติดต่อกันนาน 90 วัน พบว่าสารสกัดจากใบกิงโกะทั้ง 2 ขนาด มีผลปกป้องตับจากการทำลายด้วยเอทานอลได้ โดยจะช่วยลดการเกิดถุงไขมัน (macrovesicular steatosis) และการเสื่อมของ parenchyma (parenchymatous degeneration) ในเซลล์ตับ ลดระดับของเอนไซม์ aspartate aminotransferase และ alanine aminotransferase ลดการเกิด lipid perox...