-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
กลไกการออกฤทธิ์ของสารแอนโทไซยานินในพืชที่มีสีม่วงแดงในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
กลไกการออกฤทธิ์ของสารแอนโทไซยานินในพืชที่มีสีม่วงแดงในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HCT-116 และ HT-29 ของสารสกัด*จากพืชที่มีสารแอนโทไซยานินในปริมาณสูงจำนวน 11 ชนิด ได้แก่ (1) องุ่นแดง, (2) องุ่นม่วง, (3) มันม่วง, (4) แครอทม่วง, (5) ถั่วดำ, (6) ถั่วแขกม่วง, (7) ถั่วเลนทิลดำ, (8) ถั่วลิสงดำ, (9) ข้าวฟ่าง, (10) ข้าวดำ และ (10) ข้าวสาลีสีฟ้า พบว่าสารสกัดจากถั่วเลนทิลดำ, ข้าวฟ่าง, และองุ่นแดงมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ HCT-116 และ HT-29 ได้ดี โดยความสามารถในการออกฤทธิ์มีความสัมพันธ์กับผลรวมของสารฟีนอลิกในพืช โดยสาร delphinidin-3-O-glucoside (เป็นสารในกลุ่มแอนโทไซยานิน) สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ HT-29 ได้ดีมาก โดยค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งทั้ง 2 ชนิดได้ ร้อยละ 50 (IC5050 ต่อเซลล์ HCT-116 และ HT-29 เท่ากับ 13.5±0.7 และ 18.4±2.3 มคก./มล. ตามลำดับ) กลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดดังกล่าว คือ ลดการแสดงออกของโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการตายของเซลล์แบบอะพอพโตซิส (anti-apoptotic proteins) ได้แก่ survivin, cIAP-2, XIAP และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบอะพอพโตซิส รวมทั้งขัดขวางกระบวนการแบ่งเซลล์ในระยะ G1 นอกจากนี้การทดสอบแบบ in silico ยังพบว่าสารแอนโทไซยานินมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase (เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของเซลล์) โดยสาร cyanidin-3-O-glucoside สามารถจับกับ tyrosine kinase ทุกชนิดได้ดี โดยเฉพาะกับชนิด Abelson tyrosine-protein kinase 1; ABL1 นอกจากนี้ สาร cyanidin-3-O-glucoside และ delphinidin-3-O-glucoside ยังสามารถยับยั้งการทำงานของ epidermal growth factor receptor; EGFR (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างหลอดเลือดที่มาหล่อเลี้ยงเซลล์) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.10 และ 2.37 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า สารแอนโทไซยานินโดยเฉพาะ cyanidin-3-O-glucoside และ delphinidin-3-O-glucoside ซึ่งพบได้มากในพืชที่มีสีม่วงแดง มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งน่าจะสามารถนำไปพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดสาร acrylamide ในขนมปังของสาร EGCG จากชาเขียวการศึกษาผลของการเติมสาร (-)-epigallocatechin gallate (EGCG) ที่สกัดได้จากชาเขียว (green tea) ต่อการเกิดสาร acrylamide ในระหว่างกระบวนการอบขนมปัง โดยเติม EGCG ในขนาด 3.3, 6.6 และ 9.9 ก./กก. ลงในสูตรการทำขนมปังขาว แล้ววิเคราะห์การเกิดสาร acrylamide ด้วย liquid chromatography-mass spectrometry (LC-MS) พบว่า EGCG สามารถลดการเกิด acrylamide ได้ 30.2%, 34.3% และ 37.4% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเติม EGCG และทำให้ความชื้นข...
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งของสารสกัดผลและสารฟีโนลิกซ์ของสมอไทย
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งของสารสกัดผลและสารฟีโนลิกซ์ของสมอไทยเมื่อนำสารสกัดเมทานอล 70% ของผลสมอไทย (Terminalia chebula Retz) มาทดสอบฤทธิ์การแบ่งตัวของ breast cancer lines (MCF-7, S115) prostate cell lines (PC-3, NT1A)และ human osteosarcuma cell พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์แรงในการทำให้ cell มะเร็งเกิด necrosis และตาย ขนาดที่ฆ่าเซลล์ได้คือ 400 ไมโครกรัม/ซีซี การแยกหาสารออกฤทธิ์ โดยใช้ ATP assay ช่วยได้สารออกฤทธิ์ Chebulonic acid และ ellagic acid เมื่อทดสอบฤทธิ์เปรียบเทียบกับสารกลุ่ม phe...
การศึกษาทางคลินิกถึงศักยภาพของเห็ดหลินจือในการป้องกันการเป็นโรคหัวใจ
การศึกษาทางคลินิกถึงศักยภาพของเห็ดหลินจือในการป้องกันการเป็นโรคหัวใจการศึกษาในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต และไขมันในเลือดสูง (systolic blood pressure 130-150 mmHg, diastolic blood pressure 85-100 mmHg, คอเลสเตอรอลรวมมากกว่า 232 มก./ดล.) จำนวน 23 คน ทำการศึกษาแบบสุ่มและข้ามกลุ่มเปรียบเทียบกับยาหลอก นานทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ (ช่วงละ 4 สัปดาห์ รวมช่วงหยุดพัก) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือ ชนิดแคปซูลครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง (1 แคปซูลมีสารสกัดเห็ดหลินจือ 36...
สารต้านอาการซึมเศร้าจากชะเอมจีน
สารต้านอาการซึมเศร้าจากชะเอมจีนการทดลอง Forced Swimming Test (FST) และ Tail Suspension Test (TST) ในหนูเม้าส์ ซึ่งเป็นการทดลองที่ใช้ในการประเมินฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้าของสารทดสอบ โดยใช้สาร liquiritin และ isoliquiritin จากชะเอมจีน (Glycyrrhiza uralensis ) ขนาด 10, 20 และ 40 มก./กก. พบว่าที่ขนาดดังกล่าวสามารถทำให้หนูมีการเคลื่อนไหวได้หลังการให้เป็นเวลา 30 นาที ซึ่งฤทธิ์ของสารทั้ง 2 ไม่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีการกระตุ้นสารสื่อประสาทชนิด monoamine ในบริเวณสมองหนู โดยเพิ่ม...
ผลของขิงในการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านวัณโรค
ผลของขิงในการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านวัณโรคการศึกษาในผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับขิง ขนาด 500 มก. (2 แคปซูล)/วัน (1 แคปซูลประกอบด้วยผงเหง้าขิงแห้ง 250 มก.) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยให้ก่อนได้รับยาต้านวัณโรค 30 นาที เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทำการบันทึกอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง และความเป็นพิษต่อตับจากการใช้ยาต้านวัณโรค พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับขิงจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาห...
ผลของอาหารเสริมจากชาเขียวต่อความไวของอินซูลินในหนู
ผลของอาหารเสริมจากชาเขียวต่อความไวของอินซูลินในหนู Sprague-Dawley การทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของชาเขียวต่อความทนต่อกลูโคส์ (glucose tolerance) และความไวของอินซูลิน (insulin sensitivity) ในหนู การทดลองที่ 1 ใช้หนู Sprague-Dawley เพศผู้น้ำหนัก 200-250 กรัม ในกลุ่มควบคุมจะได้รับอาหารมาตรฐานและน้ำกลั่น Deionized ในขณะที่กลุ่มทดลองจะได้รับอาหารมาตรฐานและชาเขียวแทน (ผงชาเขียวที่ทำให้แห้งด้วยความเย็น 0.5 กรัม ละลายในน้ำกลั่น Deionized 100 มิลลิลิตร) หลังจากนั้น 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับข...
ฤทธิ์ยับยั้งภาวะหลอดเลือดแดงแข็งของสารสกัดน้ำจากผลหม่อน
ฤทธิ์ยับยั้งภาวะหลอดเลือดแดงแข็งของสารสกัดน้ำจากผลหม่อนJ. Agric. Food Chem 2014; 62: 5092 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของผักพื้นบ้านไทย
ฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของผักพื้นบ้านไทยการศึกษาฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของผักพื้นบ้านไทยที่นิยมรับประทาน จำนวน 40 ชนิด โดยทำการสกัดด้วยวิธีการคั้นน้ำและหมักด้วย 95% เอทานอล จากนั้นทดสอบในเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (PC3) และมะเร็งเต้านม (MCF-7) ด้วยวิธี Sulphorhodamine B (SRB) พบว่าสารสกัดน้ำของเมล็ดเหรียงมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านมได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ สารสกัด 95% เอทานอลของใบช้าพลู โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งได้ร้อยละ 50 (IC50) น้อยกว่า ...
เมล็ดลูกซัดช่วยลดการรับประทานไขมันในอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกิน
เมล็ดลูกซัดช่วยลดการรับประทานไขมันในอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกินการศึกษาแบบ Double-blind, randomized, placebo-controlled parallel trial ในอาสาสมัครชายที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน อายุ 18-59 ปี จำนวน 39 คน โดยแบ่งให้อาสาสมัครรับประทานยาเม็ดสารสกัดน้ำ-แอลกอฮอล์จากเมล็ดลูกซัด วันละ 3 ครั้ง (ได้รับปริมาณสารสกัดรวม 1176 มก./วัน) หรือยาหลอก เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เมื่อตรวจวัดการบริโภคไขมันต่อวัน โดยคิดจากอัตราส่วนของปริมาณไขมันที่รับประทานต่อการใช้พลังงานทั้งหมด (fat report energy intake/total energy expenditure:...