Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของการดื่มกาแฟต่อการฟื้นฟูระบบลำไส้ภายหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบสูตินรีเวช

ศึกษาผลของการดื่มกาแฟต่อการฟื้นฟูระบบลำไส้ภายหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบสูตินรีเวชจำนวน 114 คน ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดเป็นผู้ที่ผ่านการผ่าตัดมดลูกผ่านหน้าท้อง (abdominal hysterectomy) และตัดรังไข่ออกไปด้วยทั้งสองข้างร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน ในการศึกษาทำการแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มกาแฟวันละ 3 ครั้ง (ครั้งละ 1 ถ้วย หรือ 100 มล. ซึ่งประกอบด้วยคาเฟอีนไม่เกิน 100 กรัม) ในเวลา 10.00, 15.00 และ 19.00 น. โดยเริ่มให้ดื่มครั้งแรกในช่วงเช้าหลังวันผ่าตัด ส่วนผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 ให้เป็นกลุ่มควบคุม โดยดูแลไม่ให้ได้รับอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ประเมินผลด้วยการบันทึกช่วงเวลาในการผายลมและขับถ่ายครั้งแรกหลังการผ่าตัด การเคลื่อนไหวของลำไส้ และระยะเวลาที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารปกติได้ ผลจากการศึกษาพบว่า การให้ผู้ป่วยดื่มกาแฟหลังการผ่าตัดมีผลลดช่วงระยะเวลาในการผายลมและขับถ่ายครั้งแรกหลังการผ่าตัดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (30.2±8.0 ต่อ 40.2±12.1 ชั่วโมง และ 43.1±9.4 ต่อ 58.5±17.0 ชั่วโมง ตามลำดับ) และผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารปกติได้เร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (3.4±1.2 ต่อ 4.7±1.6 วัน) นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมมีอาการท้องอืดมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ดื่มกาแฟคิดเป็นร้อยละ 30.4 ต่อ 10.3 ตามลำดับ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การดื่มกาแฟมีผลช่วยฟื้นฟูระบบลำไส้ของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดในระบบสูตินรีเวชได้

Am J Obstet Gynecol. 2017; 216(2): 145.e1-145.e7.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1460

การรับประทานอะโวคาโดช่วยลดระดับตัวชี้วัดภาวะเสี่ยงหัวใจและเมตาบอลิกในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน
การรับประทานอะโวคาโดช่วยลดระดับตัวชี้วัดภาวะเสี่ยงหัวใจและเมตาบอลิกในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินการศึกษาแบบไขว้สลับในอาสาสมัครที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน จำนวน 31 คน (ชาย 21 คน หญิง 18 คน) อายุ 25-60 ปี สลับให้รับประทานอาหารเช้า 3 แบบ คือ อาหารเช้าแบบควบคุม อาหารเช้าร่วมกับอะโวคาโดครึ่งผล (68 ก.) และอาหารเช้าร่วมกับอะโวคาโดเต็มผล (136 ก.) โดยเว้นระยะระหว่างการรับประทานอาหารเช้าแต่ละแบบครั้งละ 4 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือด และการขยายของเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือด (flow med...

996

ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของสารสกัดจากพืชตระกูลต้อยติ่ง
ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของสารสกัดจากพืชตระกูลต้อยติ่งการทดสอบฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของสารสกัดน้ำ-เอทานอล (50% Hydro-Ethanolic extracts) ของใบต้อยติ่ง (Ruellia Tuberosa  L.) และพืชตระกูลเดียวกัน () ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสาร alloxan โดยให้หนูกินสารสกัดทั้ง 2 ชนิดในขนาด 250 และ 500 มก./กก./วัน เป็นเวลา 30 วัน พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดทั้ง 2 ขนาด มีระดับของ phospholipids, triglycerides, LDL และ VLDL ในเลือดลงลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ระดับของ HDL เพิ่มขึ้น และที่ขนาด 500 มก./กก...

328

สารสกัดหัวหญ้าแห้วหมูสามารถควบคุมน้ำหนักร่างกายในหนูที่เป็นโรคอ้วนได้
สารสกัดหัวหญ้าแห้วหมูสามารถควบคุมน้ำหนักร่างกายในหนูที่เป็นโรคอ้วนได้สารสกัดหัวแห้วหมูด้วยเฮกเซนเมื่อผสมลงในอาหารขนาด 45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน หรือ 220 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน และให้หนูที่เป็นโรคอ้วน (Obese Zucker rats) กินนาน 60 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เป็นโรคอ้วนและให้กินอาหารสูตรควบคุมน้ำหนัก พบว่าน้ำหนักร่างกายของหนูที่กิน สารสกัดหัวแห้วหมูในขนาด 45 และ 220 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ลดลงทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมในเวลา 56 วัน (477.10 ± 7.74, 469.44 ±...

1343

ผลของการใช้น้ำมันดอกกุหลาบมอญทาบริเวณหลังช่วงล่างที่ปวดในหญิงตั้งครรภ์
ผลของการใช้น้ำมันดอกกุหลาบมอญทาบริเวณหลังช่วงล่างที่ปวดในหญิงตั้งครรภ์ศึกษาแบบสุ่มในหญิงตั้งครรภ์อายุ 18-35 ปี ที่มีอายุครรภ์ในช่วง 12-33 สัปดาห์ จำนวน 120 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 40 คน กลุ่มที่ 1 ให้ทาน้ำมันดอกกุหลาบที่มีน้ำมันอัลมอนด์เป็นตัวพา จำนวน 7 หยด ต่อพื้นที่ๆปวด 100 ตร.ซม. วันละ 2 ครั้ง และห้ามนวด นาน 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ให้ทาน้ำมันอัลมอนด์ ในขนาดที่เท่ากันกลับกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 ไม่ต้องทาอะไร ในบริเวณที่ปวด ประเมินอาการปวดโดยการใช้ Visual Analog Scale และแบบสอบถาม Roland-Morr...

1282

ฤทธิ์ปกป้องตับของสารสกัดเกากีฉ่าย
ฤทธิ์ปกป้องตับของสารสกัดเกากีฉ่ายทดสอบฤทธิ์ปกป้องตับของสารสกัดผลเกากีฉ่าย (Lycium chinense Mill.) หรือโกจิเบอร์รี ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะตับอักเสบจากไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Steatohepatitis; NASH) ด้วยการให้อาหารที่ขาดเมไทโอนีน (methionine) และโคลีน (choline) และให้สารสกัดเกากีฉ่ายขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก./วัน ผ่านทางปาก เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมปกติ กลุ่มควบคุมลบ และกลุ่มควบคุมบวกที่ให้สารเบตาอีน (betaine) ขนาด 10 มก./กก. ซึ่งเป...

1054

การปรุงอาหารรูปแบบต่างๆ
การปรุงอาหารรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลีม่วงลดลงการศึกษาเพื่อประเมินว่าวิธีการปรุงอาหารรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การนึ่ง การใช้ไมโครเวฟ การต้ม และผัด ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลีม่วง (Brassica oleracea L. var. capitata f. rubra DC.) โดยเปรียบเทียบกับกะหล่ำปลีม่วงสด พบว่าการปรุงอาหารทุกรูปแบบส่งผลให้ปริมาณสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) และกลูโคไซโนเลท (glucosinolates) ลดลง และพบว่าการนึ่งจะรักษาปริมาณวิตามินซีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด ส่วนการผัดและต้มจะส่งผล...

1469

การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาลดความดันโลหิต
การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาลดความดันโลหิต felodipine กับกาแฟศึกษาผลของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างการใช้ยาลดความดันโลหิต felodipine ร่วมกับการดื่มกาแฟในอาสาสมัครสุขภาพดีทั้งเพศชายและหญิงจำนวน 13 คน (อายุระหว่าง 31-65 ปี, เฉลี่ย 52 ปี, ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคกาแฟจำนวน 9 คน และไม่ใช่ผู้บริโภคกาแฟ จำนวน 4 คน) โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มกาแฟดำขนาด 300 มล. 2 ครั้ง (ในชั่วโมงที่ 0 และ 1 ของการทดลอง) กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาลดความดันโลหิต felodipine ขนาด 10 มก. (ในชั่วโมงที่ 0 ของก...

145

สังกะสีช่วยเสริมฤทธิ์ป้องกันตับของ
สังกะสีช่วยเสริมฤทธิ์ป้องกันตับของ EGCG จากการทดลองนำเอา Epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารที่พบในชาเขียวมาทดลองในการเพาะเลี้ยงเซลล์ตับของหนู โดยใช้โลหะ เหล็ก ทองแดง และสังกะสีร่วมด้วย พบว่าเมื่อมีสังกะสีร่วมด้วยจึงมีฤทธิ์ป้องกันตับจาก bronsobenzene ทั้งนี้พบว่า EGCG สามารถจับกับสังกะสี และออกฤทธิ์ดังกล่าว Biol Pharm Bull 2002;25(9):1156-60 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1613

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านอักเสบ และต้านเบาหวานของสารสกัดเจียวกู่หลานการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสารโพลีแซคคาไรด์ที่สกัดจากเจียวกู่หลาน (Gynostemma pentaphyllum) โดยทดสอบการกำจัดอนุมูลอิสระในหลอดทดลองด้วยวิธี DPPH radical, hydroxyl radical, superoxide anion และ ABTS radical scavenging พบว่าเพิ่มสูงขึ้น ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารสกัดเจียวกู่หลาน และการทดสอบในหนูเม้าส์โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเจียวกู่หลานขนาด 200, 400 และ 800 มคก./กก./วัน ตามลำดับ เป็นเวลา 28 วัน เปรี...