Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

การรับประทานอะโวคาโดช่วยลดระดับตัวชี้วัดภาวะเสี่ยงหัวใจและเมตาบอลิกในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน

การศึกษาแบบไขว้สลับในอาสาสมัครที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน จำนวน 31 คน (ชาย 21 คน หญิง 18 คน) อายุ 25-60 ปี สลับให้รับประทานอาหารเช้า 3 แบบ คือ อาหารเช้าแบบควบคุม อาหารเช้าร่วมกับอะโวคาโดครึ่งผล (68 ก.) และอาหารเช้าร่วมกับอะโวคาโดเต็มผล (136 ก.) โดยเว้นระยะระหว่างการรับประทานอาหารเช้าแต่ละแบบครั้งละ 4 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือด และการขยายของเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือด (flow mediated vasodilation) ในอาสาสมัครที่ได้รับอาหารเช้าร่วมกับอะโวคาโดทั้งสองขนาดลดลงอย่างนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างการรับประทานอะโวคาโดครั้งละครึ่งผลกับเต็มผล อย่างไรก็ตามเฉพาะการรับประทานอะโวคาโดแบบเต็มผลเท่านั้นที่มีผลลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มคอเลสเตอรอลชนิด HDL และลดระดับ tumor necrosis factor-alpha ซึ่งเป็นไซโตคายน์ที่เกี่ยวข้องกระบวนการอักเสบของร่างกายอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าปรับลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้อให้อาหาร และทดแทนด้วยการให้อะโวคาโดซึ่งเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ( MUFA, onounsaturated fat ) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( PUFA, Polyunsaturated fat ) ไฟเบอร์ วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ มีผลลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ซึ่งจะช่วยลดภาวะเสี่ยงหัวใจและเมตาบอลิกในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินได้

Nutrients 2018;10:1287-302

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

830

ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารของไพล
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารของไพลศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารของสารสกัดเมทานอลจากไพล และสารสสกัดไพลที่สกัดแยกด้วยวิธี chromatographic fraction 7 ชนิด โดยทำการทดลองในหนูเมาส์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย แบ่งหนูออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว ป้อนสารสกัดเมทานอลจากไพลให้หนูขนาด 200 และ 400 มก./กก. และสารสกัดไพล 7 ชนิดที่ได้จากการแยกด้วยวิธี chromatographic fraction ขนาด 40 มก./กก. หนูในกลุ่มควบคุมและกลุ่มอ้างอิงป้อนด้วย น้ำขนาด 10 มล./กก. และ ยา omeprazole ขนาด 30 มก./กก. ตามลำดับ ...

1286

ผลของสารสกัดจากใบพลูต่อหนูที่มีภาวะอ้วนจากการได้รับอาหารไขมันสูง
ผลของสารสกัดจากใบพลูต่อหนูที่มีภาวะอ้วนจากการได้รับอาหารไขมันสูงการศึกษาฤทธิ์ลดความอ้วนของสารสกัด 70% เอทานอลจากใบพลู (Piper betle L.) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความอ้วนด้วยอาหารไขมันสูง โดยให้หนูกินอาหารไขมันสูงร่วมกับสารสกัดใบพลูในขนาด 100 และ 500 มก./กก. เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ จากนั้นวิเคราะห์น้ำหนักตัวและการกินอาหาร (food intake) ทุกสัปดาห์ และเปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับอาหารร่วมกับน้ำเปล่า พบว่าสารสกัดใบพลูสามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวของหนูที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูงได้ และก...

64

ฤทธิ์ขับปัสสาวะของสมุนไพรต่างๆ
ฤทธิ์ขับปัสสาวะของสมุนไพรต่างๆ จากการทดลองฤทธิ์ขับปัสสาวะของสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ สับปะรด ( Ananas comosus (L.) Merr. ) มะละกอ ( Carica papaya Linn. ) หญ้าคา ( Imperata cylindrica (L.) Raeusch.) มะเฟือง ( Averrhoa carambola Linn. ) หญ้าแห้วหมู ( Cyperus rotundus Linn. ) พบว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดน้ำจากรากสับปะรด และมะละกอในขนาดเทียบเท่ากับสมุนไพรแห้ง 10 g/kg จะทำให้ปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้นคิดเป็น 79% และ 74% ตามลำดับเมื่อเทียบกั...

642

ยี่หร่ากับการต้านภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ยี่หร่ากับการต้านภาวะน้ำตาลในเลือดสูงสารสกัดด้วยเอทานอลจากเมล็ดยี่หร่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการเกิด 2, 2-Diphynyl-1-picryhydrazyl (DPPH) และ Superoxide ได้ 50% (IC50) เท่ากับ 230 และ 1,120 µg/ml ตามลำดับ และเมื่อทดสอบในหลอดทดลองที่ใส่ซีรัมโปรตีนจากวัว (bovine serum albumin) กับน้ำตาล พบว่าสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดยี่หร่าสามารถยับยั้งการเกิดสารที่จับกับน้ำตาลเมื่อน้ำตาลในเส้นเลือดมีปริมาณสูงขึ้น (Advanced Glycated End products; AGEs) และเมื่อป้อนสารสกัดเอทานอล...

502

การบริโภคน้ำเกากีฉ่าย
การบริโภคน้ำเกากีฉ่าย (Lycium barbarum  , goji) ช่วยเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายการทดลองแบบ ramdomized, double-blind, placebo-controlled ในอาสาสมัครชาวจีนสุขภาพดี อายุระหว่าง 55-72 ปี จำนวน 50 คน (ชาย 25 คน และหญิง 25 คน) แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มแรก (ชาย 12 คน และหญิง13 คน) ให้รับประทานน้ำเกากีฉ่าย 60 มิลลิลิตร วันละ 2 เวลาพร้อมอาหาร (วันละ 120 มิลลิลิตร ที่มี Lycium barbarum  polysaccharide 1,632 มิลลิกรัม) นาน 30 วันกลุ่มที่สองให้รับประทานยาหลอกท...

985

ฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของอบเชยจีน
ฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของอบเชยจีนศึกษาฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดฉียบพลันของสารสกัด cinnamic aldehyde (CA) และ cinnamic acid (CD) จากอบเชยจีน (Cinnamomum cassia ) โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศผู้ 9 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 และ 2 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ กลุ่มที่ 2-4 ป้อนสารสกัด CA ขนาดวันละ 22.5, 45 และ 90 มก./กก./ตัว ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 - 7 ป้อนสารสกัด CD ขนาดวันละ 37.5, 75 และ 150 มก./กก./ตัว ตามลำดับ กลุ่มที่ 8 ป้อนยา propranolol ขนาดวันละ 30 มก./กก/ตัว เมื่อเลี้ยง...

300

ฤทธิ์แก้ปวด
ฤทธิ์แก้ปวด ลดการอักเสบ และผลต่อหลอดเลือดดำของเพชรสังฆาตการป้อนสารสกัดเมทานอลจากเพชรสังฆาต ขนาด 10, 20 และ 40 มก./กก. มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการด้วยกรดอะซีติกและฟอร์มาลิน โดยสารสกัดที่ขนาดสูง จะให้ผลดีใกล้เคียงกับการป้อนยา aspirin (300 มก./กก.) การทาสารสกัดเมทานอล ขนาด 2 มก./หู และการป้อนขนาด 70, 150 และ 300 มก./กก. มีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการบวมที่หูด้วยสาร ethyl phenylpropiolate และเหนี่ยวนำให้เกิดอาการบวมที่อุ้งเท้าด้วย carrageenin ได้ เมื...

1090

ฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมะม่วง
ฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมะม่วงการศึกษาฤทธิ์บรรเทาปวดของเปลือกต้นมะม่วง (Mangifera indica L.) ในหนูแรทที่เกิดความเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน และบรรเทาอาการปวดจากการตอบสนองในระยะยาว (long-term secondary machano-hyperalgesia) จากการกระตุ้นด้วยการฉีดฟอร์มาลีน 5% ผลการศึกษาพบว่า เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมะม่วง (MSBE) วันละ 125, 250 และ 500 มก./กก.น้ำหนักตัว หรือป้อน MSBE ขนาด 250 มก./กก.น้ำหนักตัว ร่วมกับการฉีด ascorbic acid ขนาด 1 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้หนูแรท ติดต่อกัน 7 วันก่อนการฉีดฟอ...

221

สารออกฤทธิ์ต้าน
สารออกฤทธิ์ต้าน HIV จากพุดป่า ( Gardenia thailandica  ) สาร Thailandiol, gardenolic acid, quadrangularic acid E และ 3 beta-hydroxy-5 alpha-cycloart-24 (31)-en-28 oic acid ซึ่งได้จากใบและยอดพุดป่ามีฤทธิ์ anti HIV-1 โดยใช้การตรวจสอบ Dtat/Rev MC99 virus และ1A2 cell line EC50 จะอยู่ในช่วงความเข้มข้น ...