-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์บรรเทาอาการนอนไม่หลับของเมล็ดผักกาดหอม
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์บรรเทาอาการนอนไม่หลับของเมล็ดผักกาดหอม
การศึกษาทางคลินิก ปกปิดสองฝ่าย แบบ prospective randomized เพื่อประเมินฤทธิ์ของเมล็ดผักกาดหอมในการรักษาโรคนอนไม่หลับของหญิงตั้งครรภ์ โดยทดลองในหญิงตั้งครรภ์เดี่ยว (singleton pregnancy) อายุ 20-40 ปี มีอายุครรภ์ในช่วง 12-36 สัปดาห์ และมีปัญหานอนไม่หลับ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 50 คน ให้รับประทานแคปซูลเมล็ดผักกาดหอมบด (ขนาดวันละ 1,000 มก. หรือยาหลอก ก่อนนอนทุกคืน ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ประเมินคุณภาพการนอนหลับก่อนเริ่มทดลองและหลังได้รับเมล็ดผักกาดหอมครบ 2 สัปดาห์ ด้วยแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ Pittsburg Sleep Quality Index (PSQI) พบว่าค่าคุณภาพการนอนหลับของกลุ่มที่ได้รับแคปซูลเมล็ดผักกาดหอมดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งค่าเฉลี่ยคะแนนของการนอนหลับ (average sleep score) ของกลุ่มที่ได้รับแคปซูลเมล็ดผักกาดหอมน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากรับประทานเมล็ดผักกาดหอม การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเมล็ดผักกาดหอมสามารถช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับในหญิงตั้งครรภ์ได้
J Ethnopharmacol 2018;227:176-80ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
สารสกัด
สารสกัด (-)-Epigallocatechin-3-gallate จากชาเขียวลดความเป็นพิษต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจากการใช้ยาต้านมะเร็ง doxorubicinการศึกษาผลของสารสกัด (-)-Epigallocatechin-3-gallate (EGCG) จากชาเขียวในการลดความเป็นพิษเนื่องจาก doxorubicin ต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyocytes) โดยการเหนี่ยวนำเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจให้เกิดสภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น (oxidative stress) ซึ่งจะทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ด้วยยาต้านมะเร็ง doxorubicin ผลการทดลองพบว่าสารสกัด EGCG จากชาเขียวสามารถป้องกันความเสียหายของเซลล์กล้ามเนื้อหัว...
ผลของสารสกัดเมล็ดแตงกวาต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง
ผลของสารสกัดเมล็ดแตงกวาต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและปกปิดสองฝ่ายที่มีกลุ่มควบคุม (randomized double - blind placebo controlled clinical trial) ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงจำนวน 47 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 24 คน ได้รับสารสกัดเมล็ดแตงกวาแห้ง ขนาด 500 มก. จำนวน 1 แคปซูล โดยรับประทานพร้อมอาหาร วันละ 1 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 2 จำนวน 23 คน ให้รับประทานยาหลอก (placebo) พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมล...
พิษต่อเซลล์
พิษต่อเซลล์ ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของcurcumin I-IIIจากขมิ้นชัน Curcumin I, curcumin II (monodemethoxycurcumin) และ curcumin III (Bisdemethoxycurcumin) จากขมิ้นชัน นำมาทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์, ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ สารประกอบเหล่านี้แสดงให้เห็นฤทธิ์ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว, ลำไส้ใหญ่, ระบบประสาทส่วนกลาง, melanoma, ไตและเต้านม การยับยั้ง liposome peroxidation จาก curcumin I-III ที่ 100 mg/mL เป็น 58, 40 และ 22% ตามลำดับ การยับยั้งเอนไซม์ COX I และ II โดย curcumin...
ผลของการดื่มน้ำต้มใบกระท่อมต่อฮอร์โมนเพศชาย
ผลของการดื่มน้ำต้มใบกระท่อมต่อฮอร์โมนเพศชายศึกษาผลของการดื่มน้ำต้มใบกระท่อมต่อระดับฮอร์โมนเพศชายในระยะยาว โดยสุ่มสำรวจประชากรเพศชายที่อาศัยในเมืองปีนังประเทศมาเลเซียซึ่งมีประวัติการดื่มน้ำต้มใบกระท่อมมานานมากกว่า 2 ปี จำนวน 19 คน (อายุเฉลี่ย 30±5.6 ปี) จากการตอบแบบสอบถามพบว่า อายุเฉลี่ยของอาสาสมัครทั้ง 19 คนที่เริ่มดื่มน้ำต้มใบกระท่อมคือ 22.5±6.0 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ระยะเวลาในการดื่มน้ำต้มใบกระท่อมโดยเฉลี่ยนานมากกว่า 6 ปี และขนาดที่ดื่มโดยเฉลี่ยคือ วันละ 3.5 แก้ว (เทียบเท่ากับการ...
ผลของสาร
ผลของสาร (-)-epigallocatechin gallate ต่อความเหนื่อยล้าของหนูการศึกษาในหนูขาวเพศผู้ อายุ 7 วัน โดยเหนี่ยวนำให้หนูเกิดความเหนื่อยล้าโดยนำหนูใส่ในกรงที่มีน้ำที่ระดับความสูง 1.5 ซม. อุณหภูมิน้ำ 23 ± 1°C และใส่ steel rings หนักประมาณ 8% ของน้ำหนักตัวหนู ไว้ที่หางของหนู และให้ว่ายน้ำโดยนับเวลาจากที่หนูเริ่มต้นว่ายน้ำจนถึงจมน้ำประมาณ 10 วินาที หากหนูเริ่มจมน้ำให้ช่วยและนำมาใส่กรงพักฟื้น จากนั้นนำหนูที่เหนื่อยล้ามาฉีดสาร (-)-epigallocate-chin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารจากผงชาเขียวขนาด 25,...
ผลของการรับประทานแป้งกล้วยต่ออาการท้องผูก
ผลของการรับประทานแป้งกล้วยต่ออาการท้องผูกศึกษาผลของการรับประทานกล้วย (Musa ABB Bluggoe) ในรูปแบบของแป้งกล้วย (banana resistant starch) ต่ออาการท้องผูกในหนูเม้าส์ โดยทดลองป้อนแป้งกล้วยขนาดวันละ 1, 2 และ 4 ก./กก. น้ำหนักตัว ให้แก่หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการท้องผูกด้วยการให้ยา diphenoxylate นานติดต่อกัน 7 วัน พบว่า ทางเดินอาหารของหนูกลุ่มที่ได้รับแป้งกล้วยขนาด 4 ก./กก. น้ำหนักตัว มีการเคลื่อนไหวและบีบไล่ตัว (gastrointestinal propulsive) เพิ่มขึ้น และการป้อนแป้งกล้วยขนาด 2 และ 4 ก./กก. มีผลร่นระ...
การรับประทานมันเทศเนื้อสีส้ม
การรับประทานมันเทศเนื้อสีส้ม (Orange-fleshed sweet potato) ช่วยเสริมวิตามินเอและความเข้มข้นของสาร retinal ในเลือดของเด็กเล็กในพื้นที่ชนบทของประเทศโมซัมบิคมันเทศเนื้อสีส้มอุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน และเด็กสามารถรับประทานได้ง่าย การศึกษาในประเทศโมซัมบิคเป็นเวลา 2 ปี ในเด็กอายุเฉลี่ย 13 เดือน จำนวน 741 คน พบว่าเด็กที่ชอบรับประทานมันเทศจะได้รับวิตามินเอมากกว่าเด็กที่ไม่ชอบรับประทาน ซึ่งจะมีส่วนช่วยเสริมวิตามินเอและลดปัญหาในการขาดวิตามินเอในเด็กได้ ซึ่งการขาดวิตามินเอ จะทำให้ร่างกายของเด็กไม่เจริญเติบ...
Zeaxanthin
Zeaxanthin Dipalmitate จากผลเกาจีฉ่ายลดการเหนี่ยวนำให้เกิด fibrosis ในตับหนูขาว Zeaxanthin Dipalmitate (ZD) เป็นแคโรทีนอยด์จากผลเกาจีฉ่ายลดการแพร่กระจายของเส้นใยที่ผิดปกติและการสร้างคอลลาเจนในหลอดทดลอง การทดลองใช้ ZD ดูผลจากการลดความรุนแรงในการเกิด fibrosis ที่ผิดปกติใน model ตับของสัตว์ทดลอง fibrosis ในตับถูกเหนี่ยวนำโดย bile duct ligation/scission (BDL) 6 สัปดาห์ รักษา BDL ของหนูขาวโดยให้ ZD 25 mg/kg น้ำหนักตัว พบว่าสามารถลด aspartate transminase (p...
ฤทธิ์ในการปกป้องยีนถูกทำลายของโสมอเมริกัน
ฤทธิ์ในการปกป้องยีนถูกทำลายของโสมอเมริกันการทดสอบฤทธิ์ในการปกป้องและการรักษาการถูกทำลายของยีนในหนูถีบจักร โดยการป้อนสารสกัดรากโสมอเมริกันทางปากทุกวันๆ ละ 1 ครั้ง ในขนาด 50 และ 100 มก./กก. นาน 3 วัน และ 7 วัน ให้กับหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีการทำลายของเซลล์ด้วยยา mitomycin C ซึ่งเป็นยาต้านเซลล์มะเร็งที่มีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติ ซึ่งเซลล์ปกติยีนจะถูกทำลายมาก ผลการทดลองพบว่าสารสกัดรากโสมอเมริกันจะลดการทำลายยีน โดยลดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของ micronucleated polychromatic erythrocytes ...