Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเก๋ากี้ดำ

เก๋ากี้ดำ หรือ โกจิเบอร์รี่ดำ (Lycium ruthenicum) มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เป็นพืชทนแล้งและทนเค็ม การแพทย์แผนโบราณของจีนและทิเบตระบุว่า เก๋ากี้ดำใช้รักษาความผิดปกติของหัวใจ ภาวะประจำเดือนผิดปกติ ภาวะหมดประจำเดือน โรคนิ่วในท่อทางเดินปัสสาวะและท่อไต กลากเกลื้อน ฝี และเลือดออกตามไรฟัน สารสำคัญที่พบในส่วนผลของเก๋ากี้ดำคือ สารในกลุ่ม flavonoids, anthocyanins, polysaccharides, phenolic acids, carotenoids, alkaloids, essential oils, และ fatty acids โดยสีดำของผลเกิดจากสาร anthocyanins ซึ่งไม่พบในโกจิเบอร์รี่หรือเก๋ากี้ที่มีสีส้ม (Lycium barbarum) จากการวิเคราะห์ทางเคมีพบสาร anthocyanins จำนวน 37 ชนิด รวมทั้งอนุพันธ์ต่างๆ เช่น peonidin, petundin, pelargonidin, cyanidin, malvidin, และ delphinidin นอกจากนี้ยังมีสารสำคัญในกลุ่ม polysaccharides เช่น glucan และ rhamnogalacturonan I ซึ่งเก๋ากี้ดำจะมีปริมาณของสาร polysaccharides มากกว่าในเก๋ากี้สีส้ม แต่จะมีปริมาณของสาร carotenoids น้อยกว่า การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สาร flavonoids และสาร anthocyanins มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในขณะที่สาร polysaccharides มีฤทธิ์ต้านความเมื่อยล้า ต้านออกซิเดชั่น ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยเพิ่มการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวชนิด T cell และ B cell เพิ่มการเกิด macrophage phagocytosis และต้านการอักเสบ นอกจากนี้มีรายงานว่า สารสกัดเก๋ากี้ดำช่วยป้องกันรังสีและมีฤทธิ์ชะลอวัย แต่ทั้งหมดยังเป็นการศึกษาในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1040

ฤทธิ์ต้านเบาหวานและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากใบทุเรียนเทศ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากใบทุเรียนเทศการทดสอบฤทธิ์ต้านเบาหวานและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากใบทุเรียนเทศ (Annona muricata ) ในหนูแรท ทั้งหนูปกติและหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสาร streptozotocin โดยแบ่งเป็นการทดสอบในระยะยาว คือหลังจากที่หนูถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน 2 สัปดาห์ หนูจะถูกป้อนด้วยสารสกัดขนาด 100 หรือ 200 มก./กก./วัน เป็นเวลา 28 วัน และการทดสอบฤทธิ์ในการป้องกัน โดยหนูจะถูกป้อนด้วยสารสกัดก่อนการเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน เป็นเวลา 3 วัน แล้วสัง...

565

สารสัดจากผักชีล้อมกับผลต่อแอลกอฮอล์
สารสัดจากผักชีล้อมกับผลต่อแอลกอฮอล์ การศึกษาผลของผักชีล้อม (Oenanthe javanica   DC) ในกระต่ายขาวพันธุ์ New Zealand จำนวน 9 ตัว ที่ได้รับ 20% เอทานอล ขนาด 1.25 มล. ร่วมกับ 10% ของสารสกัดน้ำร้อนจากส่วนเหนือดินของผักชีล้อม โดยการฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำบริเวณใบหู พบว่าหลังการฉีดสารสกัดดังกล่าว ระดับของเอทานอลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับยา metadoxine ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการป้องกันการทำลายตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และการศึกษาในหนูเม้าส์ ICR (ICR mice) เพศผู้จำนว...

338

ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างแป๊ะก๊วยเมื่อให้ร่วมกับยา
ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างแป๊ะก๊วยเมื่อให้ร่วมกับยา cilostazol และ clopidogrel ในผู้ที่มีสุขภาพดีแป๊ะก๊วยเป็นสมุนไพรที่เคยมีรายงานว่าทำให้เลือดออกเมื่อให้ร่วมกับยาต้านเกร็ดเลือด การศึกษาในครั้งนี้จึงต้องการทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างแป๊ะก๊วยกับยา cilostazol และ clopidogrel โดยทำการศึกษาแบบ randomized open label, crossover study ในผู้ชายที่มีสุขภาพดี 10 คน อายุเฉลี่ย 27 ± 4 ปี ซึ่งทุกคนจะได้รับประทานยาดังนี้ 100 มก. cilostazol, 200 มก. cilostazol, 120 มก. แป๊ะก๊วย, 240 มก. แป๊ะก๊วย, 75 ...

354

สาร
สาร mangiferin ในมะม่วงป้องกันแผลในกระเพาะอาหารการทดสอบความสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสาร mangiferin จากเปลือกต้นมะม่วง โดยการป้อน mangiferin ขนาด 3, 10 และ 30 มก./กก. 60 นาที ให้หนูถีบจักรก่อนที่จะถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล เปรียบเทียบกับยาที่ออกฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร N-acetylcysteine พบว่า ไม่พบการทำลายของ mucosa ในกระเพาะอาหารหนู และลดการเกิดแผลได้ 30, 35 และ 63% ตามลำดับ ในหนูที่ได้รับ mangiferin ส่วนหนูที่ได้รับ N-acetylcysteine ลดการเกิดแผลได้ 50% แล...

752

การตอบสนองความไวของสารกลิเซอร์ไรซินจากชะเอมเทศเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะทางจิต
การตอบสนองความไวของสารกลิเซอร์ไรซินจากชะเอมเทศเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะทางจิต (anorexia nervosa) และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชะเอมเทศหรือไม่เป็นการรายงานในผู้ป่วยหญิงอายุ 18 ปี ที่เป็นโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะทางจิต (anorexia nervosa) น้ำหนักช่วงที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 35.8 กก. (ดัชนีมวลกาย 12.7 กก./ม.2) 6 เดือน ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลน้ำหนักร่างกายลดลง 17 กก. ซึ่งเป็นผลมาจากผู้ป่วยจำกัดอาหารและการออกกำลังกายที่มากเกินไป แพทย์ทำการรักษาโดยให้รับประทานอาหารที่...

1260

ฤทธิ์ลดระดับกรดยูริกของสารเควอซิติน
ฤทธิ์ลดระดับกรดยูริกของสารเควอซิตินBr J Nutr 2016;115(5):800-6 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

388

ถั่วเหลืองและสาร
ถั่วเหลืองและสาร isoflavone จากถั่วเหลืองเพิ่มความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกของผู้หญิงที่อายุน้อยชาวเกาหลีการศึกษาในครั้งนี้ศึกษาในผู้หญิงชาวเกาหลีอายุ 20-26 ปี น้ำหนักอยู่ระหว่าง 42.4-63 กก. ค่า BMI อยู่ในช่วง 16.4-25.1 กก./ม2 จำนวน 34 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานถั่วเหลืองขนาด 39 ก./วัน ในรูปแบบต่างๆ เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นต้น กลุ่มที่ 2 ให้รับประทาน isoflavone จากถั่วเหลืองขนาด 8 มก./วัน นานประมาณ 2 ปี และทำการตรวจวัดระดับความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก (Bone...

973

ผลของสารสกัดจากใบฝรั่งต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเบาหวาน
ผลของสารสกัดจากใบฝรั่งต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเบาหวานการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ dipeptidyl-peptidase IV (DP-IV) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย ของสารในกลุ่ม flavonol glycosides ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเอทานอล/น้ำ (8/2) จากใบฝรั่ง (Psidium guajava  L.) ในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถยับยั้งเอนไซม์ DP-IV ได้ โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 380 มคก./มล. ซึ่งการยับยั้งเอนไซม์ DP-IV นี้ จะส่งผลให้เซลล์เกิดการหลั่งอินซูล...

1321

ฤทธิ์ต้านปอดอักเสบและต้านการหดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบของสารสกัดน้ำลูกยอ
ฤทธิ์ต้านปอดอักเสบและต้านการหดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบของสารสกัดน้ำลูกยอศึกษาฤทธิ์ต้านปอดอักเสบของสารสกัดน้ำลูกยอ โดยทำการป้อนและฉีดเข้าทางช่องท้อง (intraperitoneal) หนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะปอดอักเสบด้วยการฉีด prednisolone 10 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง ส่วนการศึกษาฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ทำการศึกษาโดยการแยกลำไส้ส่วน jejunum ของหนูแรทออกมาเลี้ยงนอกร่างกาย (ex vivo) ในสารละลายที่มีสารสกัดน้ำลูกยอเข้มข้น 30-90 µL ผลจากการศึกษาพบว่า การป้อนและการฉีดสารสกัดน้ำลูกยอเข้าช่องท้องหนู...