Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ลดน้ำตาลและไขมันในเลือดของสารโพลีแซคคาไรด์จากผลโกจิเบอร์รี่

โกจิเบอร์รี่ (Lycium barbarum L.) เป็นพืชพื้นเมืองของจีน และประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ผลมีสีแดงเนื่องจากประกอบด้วยสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ซึ่งมีปริมาณอยู่ในช่วง 0.03% ถึง 0.5% ของน้ำหนักผลแห้ง โดยมีสาร zeaxanthin dipalmitate เป็นสารสำคัญหลัก ส่วนประกอบสำคัญของผลโกจิเบอร์รี่ คือ คาร์โบไฮเดรต (ประมาณ 51%) ซึ่งพบว่าสารโพลีแซคคาไรด์ที่ละลายน้ำได้จากผลโกจิเบอร์รี่ (Lycium barbarum polysaccharides: LBPs) เป็นสารสำคัญหลักที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา การศึกษาจำนวนมากพบว่า สารสกัด LBPs หรือ สารบริสุทธิ์ LBP มีผลต่อระดับกลูโคสและไขมันในเลือด และลดการเกิดภาวะ oxidative ที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
  การศึกษาในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานและไขมันในเลือดสูงด้วย alloxan พบว่า LBP ทำให้อินซูลินมีความไวมากขึ้น และทำให้จำนวนตัวขนส่งน้ำตาลกลูโคสชนิด glucose transporter type 4 (GLUT-4) บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ของกล้ามเนื้อลายเพิ่มขึ้น ระดับน้ำตาลกลูโคส, ไตรกลีเซอไรด์, ผลรวมคอเลสเตอรอล, และ LDL ในเลือดมีระดับลดลง ในขณะที่อินซูลินและ HDL มีระดับเพิ่มขึ้น คาดว่ากลไกการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลของ LBP อาจะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มการใช้และการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส โดย LBP กระตุ้นการทำงานของ glycogen synthetase และเพิ่มการปลดปล่อย insulin like growth factor (IGF) จากตับ รวมทั้งยับยั้งการปลดปล่อย glucagon จากอัลฟ่าเซลล์ (α-cells) จากตับอ่อน เพิ่มการหลั่งอินซูลิน ทำให้การแบ่งตัวของเบต้าเซลล์ (β-cells) ในตับอ่อนเพิ่มขึ้น ยับยั้งภาวะดื้อต่ออินซูลิน และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ hexokinase และ pyruvate kinase ในเซลล์ตับ ซึ่งส่งผลในระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์ลดไขมันของ LBP จะเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการสร้างคอเลสเตอรอล และการกระตุ้นตัวรับ LDL (LDL receptor) ในตับ ซึ่งส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดลดลง
  การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (T2DM) จำนวน 67 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (37 ราย) รับประทานแคปซูลที่บรรจุ LBP 150 มก. และ microcrystalline cellulose (ยาหลอก) 150 มก. กลุ่มที่ 2 (30 ราย) รับประทานแคปซูลที่บรรจุ microcrystalline cellulose (ยาหลอก) 300 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 3 เดือน พบว่ากลุ่มที่ได้รับ LBP มีค่าพื้นที่ใต้กราฟของระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติมทั้งในด้านของเวลาในการรับประทาน และขนาดของยาที่ใช้ในการศึกษา รวมถึงศึกษากลไกการออกฤทธิ์ที่แท้จริงของ LBPs ในการลดระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

196

ผลของน้ำมันเป็บเปอร์มินต์ต่อเริม
ผลของน้ำมันเป็บเปอร์มินต์ต่อเริม การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าน้ำมันเป็บเปอร์มินต์มีผลต่อเชื้อเริมทั้ง HSV-1 และ HSV-2 โดยค่าที่ฆ่าไวรัสทั้ง 2 ตายครึ่งหนึ่งคือ 0.002% และ 0.008% ตามลำดับ น้ำมันในขนาดที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ยับยั้งการเกิด plaque ได้ 82% และ 92% สำหรับ HSV-1 และ HSV-2 และในขนาดสูงจะช่วยลด viral titer การออกฤทธิ์ของน้ำมันเป็บเปอร์มินต์จะเกิดก่อน virus เข้าสู่ cell ผู้วิจัยคาดว่าจะมีประโยชน์ แต่ในหลักของ virus แล้ว การรักษาในคน virus อยู่ในเซลล์แล้ว(Phytomedicine 2003;10:504-10) ...

388

ถั่วเหลืองและสาร
ถั่วเหลืองและสาร isoflavone จากถั่วเหลืองเพิ่มความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกของผู้หญิงที่อายุน้อยชาวเกาหลีการศึกษาในครั้งนี้ศึกษาในผู้หญิงชาวเกาหลีอายุ 20-26 ปี น้ำหนักอยู่ระหว่าง 42.4-63 กก. ค่า BMI อยู่ในช่วง 16.4-25.1 กก./ม2 จำนวน 34 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานถั่วเหลืองขนาด 39 ก./วัน ในรูปแบบต่างๆ เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นต้น กลุ่มที่ 2 ให้รับประทาน isoflavone จากถั่วเหลืองขนาด 8 มก./วัน นานประมาณ 2 ปี และทำการตรวจวัดระดับความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก (Bone...

1625

องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของข้าวสีดำ
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของข้าวสีดำการวิเคราะห์สารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในข้าวสีดำ (Oryza sativa L.; purple black rice) โดยแยกสารสกัดหยาบของข้าวสีดำและสกัดแยกบริสุทธิ์ด้วย silica gel thin layer chromatography วิเคราะห์สาร anthocyanin ด้วยเทคนิค ultraviolet visible spectroscopy, infrared spectroscopy, nuclear magnetic resonance spectroscopy และ high-performance liquid chromatography ทดสอบความสามารถในการจับกับอนุมูลอิสระและความสามารถในการเป็นสารรีด...

431

ฤทธิ์ต้านสารก่อกลายพันธุ์จากฮอปส์
ฤทธิ์ต้านสารก่อกลายพันธุ์จากฮอปส์ (Humulus lupulus  L.)การศึกษาฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella/microsomal assay โดยใช้สารที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์คือ food borne mutagen 2-amino-3-methylimidazo[4,5-ƒ]quinoline (IQ) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง พบว่าสารสกัด diethylether ของฮอปส์มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ และเมื่อนำสารสกัดมาแยกเพื่อหาสารออกฤทธิ์ ทำให้ทราบว่าสารดังกล่าวคือ xanthohumol และเมื่อนำไปทดสอบกับเซลล์ตับของมนุษย์ ชนิด HepG2 พบว่าที่ขนาด 10มคก./มล. สามารถป้องกันการทำลาย DNA ของสา...

296

การยับยั้งการดูดซึม
การยับยั้งการดูดซึม folic acid ของเซลล์ Caco-2 ด้วย catechins และสารสกัดชา (Camellia sinensis )การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึม folic acid ของเซลล์ Caco-2 ด้วย catechins และสารสกัดชา พบว่าสาร (-)-epigallocatechin-3-gallate (EGCG) และ (-)-epicatechin-3-gallate (ECG) สามารถยับยั้งการดูดซึม folic acid โดยมีค่าความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้ง 50% (IC50) 34.8 μmol/L และ 30.8 μmol/L ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดชาเขียวและสารสกัดชาดำ ก็มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึม folic acid ด้วยค่า IC50 ประมาณ 7.5 แ...

478

ฤทธิ์ยับยั้งหลอดเลือดแข็งตัวของไวน์แดงและไวน์ขาว
ฤทธิ์ยับยั้งหลอดเลือดแข็งตัวของไวน์แดงและไวน์ขาวการทดลองเปรียบเทียบฤทธิ์ของไวน์แดงและไวน์ขาว ความเข้มข้น 0.01 - 3% ในการยับยั้ง platelet-derived growth factor receptor (PDGFR) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของหลอดเลือดในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด (vascular smooth muscle) ของหนูแรท พบว่าไวน์แดงมีฤทธิ์ยับยั้ง tyrosine phosphorylation ของ PDGFR ที่เหนี่ยวนำด้วยสาร PDGF-BB ยับยั้ง mitogen activated protein (MAP) kinase activation (Erk 1/2) เหนี่ยวนำยีน ได้แก่ Egr-1 และ c-fos  และยับยั้งการแบ...

795

จมูกข้าวสาลีมีเปป์ไทด์ที่ยับยั้ง
จมูกข้าวสาลีมีเปป์ไทด์ที่ยับยั้ง Angiotensin-converting enzymeการศึกษาภาวะการบ่มเพาะจมูกข้าวสาลีที่ทำให้มีปริมาณเปป์ไทด์ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของ Angiotensin-converting enzyme (ACE) และการออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ ACE ของเปป์ไทด์ พบว่า การบ่มจมูกข้าวสาลี ขนาด 1 กรัมในสารละลายบัฟเฟอร์ 8.14 มล. โดยสารละลายบัฟเฟอร์นี้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 4.4 และบ่มเพาะไว้ที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 ชั่วโมง เป็นภาวะที่ทำให้มีความเข้มข้นของเปป์ไทด์สูงสุดถึง 88.12 มก./ก. ซึ่งมีความเข้มข้นมากกว่า...

1230

ประสิทธิผลของตำรับยาดอกปีบต่ออัตราการหายใจของผู้ป่วยโรคหอบหืด
ประสิทธิผลของตำรับยาดอกปีบต่ออัตราการหายใจของผู้ป่วยโรคหอบหืดการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณแบบกึ่งทดลอง (quasi - experimental research) ของตำรับยาพ่นสารสกัดน้ำจากดอกปีบ ในอาสาสมัครชายหญิงที่เป็นโรคหอบหืด จำนวน 30 คน อายุเฉลี่ย 46 ปี โดยพ่นยา ขนาด 3 มล. จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 15 นาที ด้วยเครื่องพ่นออกซิเจน ทำการนัดจำนวน 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน วัดค่า PEFR ก่อนและหลังการให้ตำรับยาดอกปีบ ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครมีค่า PEFR เฉลี่ยก่อนและหลังได้รับตำรับยาพ่นดอกปีบ เท่ากับ 38.72% และ 68.53% ...

1214

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินของสารสกัดจากข้าวไทยพันธุ์ต่างๆ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินของสารสกัดจากข้าวไทยพันธุ์ต่างๆ เพื่อใช้ในสูตรสำหรับรักษาเส้นผมการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินของสารสกัด 70% เอทานอลจากข้าวไทยสายพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ สีนิล ทับทิมล้านนา หอมนิล ไรซ์เบอร์รี่ แดงสังข์หยด และก่ำดอยมูเซอ เพื่อใช้ในสูตรสำหรับรักษาเส้นผม โดยทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ferric ions reducing antioxidant power (FRAP) ผลพบว่าสารสกัดข้าวก่ำดอยมูเซอและข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุม...