Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารและต้านเชื้อ Helicobacter pylori ของต้นโคมไฟจีน

การทดสอบฤทธิ์ต้านอักเสบ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และต้านเชื้อ Helicobacter pylori ของต้นโคมไฟจีน (Physalis alkekengi L. var. franchetii) โดยใช้ส่วนสกัดปิโตเลียมอีเธอร์ ส่วนสกัดบิวทานอล ส่วนสกัดเอธิลอะซีเตท และส่วนสกัดน้ำจากส่วนเหนือดินของต้นโคมไฟจีน ในการทดสอบฤทธิ์ต้านอักเสบ พบว่า การให้ส่วนสกัดทั้งสี่ใน ขนาด 100, 250 และ 500 มก./กก.น้ำหนักตัว มีฤทธิ์ลดการบวมจากการเหนี่ยวนำด้วยคาราจีแนนของอุ้งเท้าหนูแรท โดยส่วนสกัดเอธิลอะซีเตทขนาด 500 มก./กก. ให้ฤทธิ์การยับยั้งได้ที่สุดและให้ผลใกล้เคียงกับการใช้ยาต้านการอักเสบอินโดเมทาซิน (indomethacin) ขนาด 5 มก./กก. ในการทดสอบฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร พบว่า เมื่อป้อนหนูแรทด้วยส่วนสกัดจากต้นโคมไฟจีนก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย 95% เอทานอล ส่วนสกัดเอธิลอะซีเตท ขนาด 500 มก./กก. ให้ผลดีที่สุด โดยสามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ใกล้เคียงกับการใช้ยารักษาแผลในกระเพาะอาหารฟาโมทิดีน (famotidine) 10 มก./กก. และส่วนสกัดเอธิลอะซีเตทยังให้ผลยับยั้งเชื้อ H. pylori ด้วยค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (minimal inhibitory concentration: MIC) 500 ไมโครกรัม/มล. นอกจากนี้ส่วนสกัดเอธิลอะซีเตทยังให้ผลลดความเจ็บปวดในหนูแรทเมื่อทดสอบด้วยการยืนเป็นบนแท่นร้อนและการเหนี่ยวนำด้วยกรดอะซีติค จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบสารสำคัญเป็นสารกลุ่มสเตียรอยด์ เทอร์ปีนอยด์ และฟลาโวนอยด์ เช่น kaempferol, quercetin, blumenol A และ physalindicanols A เป็นต้น

J Ethnopharmacol 2018;211:197-206

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

629

พิษวิทยาของสารสกัดเมล็ดลูกซัดในหนูเม้าส์
พิษวิทยาของสารสกัดเมล็ดลูกซัดในหนูเม้าส์การศึกษาความเป็นพิษของสารสก้ดน้ำที่ทำให้แห้งด้วยความเย็นของเมล็ดลูกซัดในหนูเม้าส์เพศเมียที่ตั้งครรภ์ โดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้ป้อนน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 และ 3 ป้อนสารสก้ดน้ำที่ทำให้แห้งด้วยความเย็นของเมล็ดลูกซัด ขนาด 500 และ 1,000 มก./กก.วัน ตามลำดับ วันละ 1 ครั้ง จนกว่าหนูจะคลอด พบว่าในหนูเพศเมียที่ตั้งครรภ์ไม่พบความผิดปกติ หรือความเป็นพิษใดๆ แต่สารสก้ดน้ำที่ทำให้แห้งด้วยความเย็นของเมล็ดลูกซัด ทั้งขนาด 500 และ 1,0...

1084

ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของกระชับ
ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของกระชับ (Xanthium strumarium )J Ethnopharmacol. 2014; 155(1): 248-55 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1659

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินินในการบรรเทาความผิดปกติของเต้านม
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินินในการบรรเทาความผิดปกติของเต้านมการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองทางและมีการสุ่ม (randomized, double-blind clinical trial) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินิน (Linum usitatissimium) ในการบรรเทาความผิดปกติของเต้านม ในผู้ป่วยเพศหญิงอายุ 20-50 ปี จำนวน 100 คน ที่มีอาการปวดเต้านม (mastalgia) ในระดับปานกลางถึงรุนแรง (ค่าระดับความปวดซึ่งวัดด้วย visual analog scale (VAS) มากกว่า 4) ร่วมกับการมีก้อนหรือถุงน้ำขนาดเล็กในเต้านม (breas...

171

สารจากเปลือกผลลางสาด
สารจากเปลือกผลลางสาด นักวิจัยไทยร่วมกับนักวิจัยญี่ปุ่นพบสารใหม่เป็นสารกลุ่ม onoceranoid triterpenes ได้แก่ lansionic acid, 3beta-hydroxyonocera-8(26),14-diene-21-one, 21alpha-hydroxyonocera-8 (26),14-dien-3-one จากเปลือกผลลางสาด และยังพบสารที่มีผู้เคยพบแล้วคือ lansic acid และอนุพันธ์ methyl ester สารเหล่านี้เป็นพิษอย่างอ่อนต่อไรทะเล J Nat Prod 2002;65:1709-11 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

381

ผลของมะเขือเทศ
ผลของมะเขือเทศ กล้วย และแอปเปิ้ล ต่อระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินในเลือดการศึกษาการตอบสนองของระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินในเลือด ในอาสาสมัครสุขภาพปกติและอาสาสมัครที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งพาอินซูลิน (non-insulin dependent) โดยให้ได้รับสัดส่วนของอาหารที่มีพลังงาน 200 กิโลแคลอรี่ จากมะเขือเทศ กล้วย แอปเปิ้ล น้ำตาลกลูโคส 50 กรัม หรือน้ำตาลกลูโคส 25 กรัม+น้ำตาลกฟรุคโตส 25 กรัม แล้วทดสอบเลือดที่เวลา 0 30 60 90 และ 120 นาที พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของอาสาสมัครทั้งกลุ่มปกติ และกลุ่มที่เป็นเบาหวาน จะสูงสุดเม...

1325

ผลของน้ำมันวอลนัทต่อระดับไขมันในผู้ป่วยเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูง
ผลของน้ำมันวอลนัทต่อระดับไขมันในผู้ป่วยเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูงการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับไขมันในเลือดสูง จำนวน 100 คน อายุ 35-75 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่รับประทานน้ำมันวอลนัท (Persian walnut oil) ครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง (1 แคปซูล ประกอบด้วยน้ำมันวอลนัท 1.25 ซีซี เท่ากับขนาด 15 ซีซี/วัน) ร่วมกับอาหาร เป็นเวลา 90 วัน เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันวอลนัทจะมีระดับของคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอร์ไรด์ ไขมันชนิด LDL และอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลรวม/ไขมันชนิด HDL ลด...

754

ยาพ่นจมูกจากแคปไซซินช่วยบรรเทาอาการโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ได้
ยาพ่นจมูกจากแคปไซซินช่วยบรรเทาอาการโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ได้การศึกษาแบบสุ่มปกปิดข้อมูลทั้งสองด้าน แบบกลุ่มคู่ขนาน(randomized, double-blind, parallel trial) ในผู้ป่วยมีอาการของโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ จำนวน 42 คน แบ่งให้ได้รับยาพ่นจมูกจากแคปไซซิน(ICX72)หรือยาหลอก พ่นวันละ 2 ครั้ง นาน 2 สัปดาห์เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาพ่นจมูกจากแคปไซซินลดอาการของโรคทางจมูกโดยรวม(Total nasal symptom score: TNSS) และอาการเฉพาะส่วน(Individual nasal score: ISS) อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนได้รับยาพ...

477

สาร
สาร zerumbone จากเหง้ากระทือสามารถยับยั้งการเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่และปอดการศึกษาแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ใช้หนูเม้าส์เพศผู้ 85 ตัว แบ่งหนูออกเป็น 8 กลุ่ม โดยหนูจะได้รับสาร azoxymethane (AOM) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ส่วน colon ขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักตัว ฉีดเข้าทางช่องท้อง หลังจากนั้น 7 วัน ให้กินน้ำที่มีส่วนผสมของ dextran sulphate sodium (DSS) 1.5% (w/v) นาน 7 วัน หลังจากนั้นอีก 7 วัน ให้กินอาหารที่มีส่วนผสมของสาร zerumbone จากเหง้ากระทือ นาน 17 สัปดาห์ ซึ่งกลุ่มที่ 1 (20 ...

814

ผลของสารสกัดน้ำและสาร
ผลของสารสกัดน้ำและสาร crocin จากหญ้าฝรั่นต่อภาวะเครียดของหนูเม้าส์การทดสอบผลของสารสกัดเอทานอล สารสกัดน้ำ รวมทั้งสารสำคัญคือ safranal และ crocin ของหญ้าฝรั่น (Crocus sativus ) ในหนูเม้าส์เพศผู้ ที่ทำให้เกิดภาวะเครียดด้วยกระแสไฟฟ้าเป็นเวลา 7 วัน (ภาวะดังกล่าวทำให้การกินอาหารและน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองลดลง รวมทั้งทำให้สัตว์ทดลองไม่อยากอาหาร) โดยการฉีดสารสกัดน้ำเข้าทางช่องท้องของหนูในขนาด 10, 50 และ 100 มก./กก. พบว่าสารสกัดดังกล่าว สามารถลดระยะเวลาที่สัตว์ทดลองไม่อยากอาหารได้ ซึ่งให้ผลเช่นเดียว...