-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ปกป้องตับและต้านออกซิเดชันของเห็ดหลินจือในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ปกป้องตับและต้านออกซิเดชันของเห็ดหลินจือในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี
การศึกษาแบบสุ่มปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย และข้ามกลุ่ม (double blind placebo-controlled crossover study) ในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 42 คน เป็นผู้ชาย 22 คน ผู้หญิง 20 คน อายุระหว่าง 40-54 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานเห็ดหลินจือชนิดแคปซูลวันละ 1 แคปซูล (ขนาด 225 มก. ประกอบด้วย สารไตรเทอร์พีนอยด์ (triterpenoids) 7% ได้แก่ ganoderic acids A-G และโพลีแซคคาไรด์ 6%) หลังอาหารกลางวันและอาหารเย็น กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอกในขนาดที่เท่ากัน นาน 6 เดือน จากนั้นทำการสลับกลุ่ม โดยมีช่วงหยุดพักระหว่างการสลับกลุ่ม 1 เดือน หลังสิ้นสุดการศึกษาพบว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก กลุ่มที่ได้รับแคปซูลเห็ดหลินจือมีสารต้านออกซิเดชัน เช่น สาร thiols, glutathione และเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน เช่น superoxide dismutase (SOD), glutathione peroxidase (GPx), glucose-6-phosphate dehydrogenase (G-6-PDH), glutathione reductase (GR) ในพลาสมาเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่สารบ่งชี้การเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ลดลง ได้แก่ thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) และ 8-hydroxy-deoxy-guanosine (8-OH-dG) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันและการทำลาย ดีเอ็นเอ ตามลำดับ นอกจากนี้เอนไซม์ที่บ่งชี้การทำงานของตับได้แก่ glutamic-oxaloacetic transaminase (GOT) และ glutamic-pyruvic transaminase (GPT) ลดลง 42% และ 27% ตามลำดับ จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการรับประทานเห็ดหลินจือที่มีสารไตรเทอร์พีนอยด์ และโพลีแซคคาไรด์ มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและปกป้องตับ โดยการเพิ่มระดับสารและเอนไซม์ต้านออกซิเดชัน ลดการสร้างอนุมูลอิสระ และลดเอนไซม์ที่บ่งชี้การทำงานของตับ
Pharm Biol 2017;55(1):1041-6.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบจากดีบัว
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบจากดีบัวการศึกษาฤทธิ์กลไกในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งแยกได้จากสารสกัด 70% เอทานอลของต้นอ่อนในเมล็ดบัว (Nelumbo nucifera Gaertn.) หรือดีบัว ด้วยวิธี radical scavenging assays และ ELISA พบว่าสาร flavonoids แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยการให้อิเล็กตรอน ให้ไฮโดรเจนอะตอม และจับกับอนุมูลอิสระชนิด DPPH และ ABTS+ และแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งการสร้างสารสื่อกลางที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (inflammatory mediators) ชนิด nitric oxide (NO)...
ฤทธิ์ลดความดันและต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากดอกคำฝอย
ฤทธิ์ลดความดันและต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากดอกคำฝอยการศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันเลือดสูงจากการตีบของหลอดเลือดแดงที่ไต โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอลจากดอกคำฝอย ขนาด 500 มก./กก./วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับยา captopril ขนาด 5 มก./กก./วัน กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มผ่าตัดหลอก และกลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันเลือดสูงจากการตีบของหลอดเลือดแดงที่ไต แต่ไม่ได้รับสารสกัดดอกคำฝอย พบว่าสารสกัดจากดอกคำฝอยและยา captopril สามารถลดความดันเลือด ลดการผลิตซุปเปอร์ออกไ...
สารจากขมิ้นที่ป้องกันภาวะสมองเสื่อมในขมิ้น
สารจากขมิ้นที่ป้องกันภาวะสมองเสื่อมในขมิ้น จากการศึกษาสารที่แยกจากขมิ้นพบว่า calebin A, curcumin, demethoxycurcumin, bisdemethoxycurcumin และ 1,7-bis(4-hydroxyphenyl)-1-heptene-3,5-dione มีฤทธิ์ป้องกันการจับของ beta-amyloid ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะการเสื่อมของสมอง J Nat Prod 2002;65(9):1227-31 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฟักทองช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้า
ฟักทองช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าการศึกษาฤทธิ์ของฟักทอง (Cucurbita moschata Duch.) ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของหนูแรทที่มีภาวะซึมเศร้า โดยแบ่งป้อนฟักทองอบ (มีเบต้าแคโรทีน 0.163 มคก./ก.) ขนาด 1 ก./กก. น้ำหนักตัว หรือเบต้าแคโรทีน ขนาด 0.1, 1, และ 10 มก./กก. ให้แก่หนูแรท วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 28 วัน จากนั้นประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยการทดสอบพฤติกรรมบังคับว่ายน้ำ (forced swimming test) ซึ่งเป็นโมเดลที่วัดอารมณ์ซึมเศร้าในหนู พบว่าทั้งฟักทองอบและเบต้าแคโรทีนมีผลลดระยะเวลาการลอยตัวอยู่นิ่ง (immob...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบในระบบประสาทและลำไส้ใหญ่ของสารไลโคพีน
ฤทธิ์ต้านการอักเสบในระบบประสาทและลำไส้ใหญ่ของสารไลโคพีนการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะอักเสบในระบบประสาทและลำไส้ใหญ่ของสารไลโคพีนซึ่งพบได้มากในมะเขือเทศ ในหนูเม้าส์เพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย dextran sulfate sodium (DSS) โดยแบ่งหนูเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับน้ำเปล่า + อาหารมาตรฐาน (AIN-93M) กลุ่มที่ 2 ได้รับสารละลาย 2.5%w/v DSS + น้ำเปล่า + อาหารมาตรฐาน กลุ่มที่ 3 ได้รับสารสะลาย 2.5%w/v DSS + สารไลโคพีนขนาด 50 มก./นน.ตัว 1 กก. โดยผสมในอาหารมาตรฐาน ทำการทดสอ...
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเท้าเหม็นและลดการอักเสบของมะขามป้อม
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเท้าเหม็นและลดการอักเสบของมะขามป้อมสารสกัด 95% เอทานอลจากเมล็ดและเนื้อของมะขามป้อม ความเข้มข้น 20 มก./แผ่น มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเท้าเหม็น ได้แก่ Kytococcus sedentarius ATCC 27573, K. sedentarius ATCC 27574 และ K. sedentarius ATCC 27575 เมื่อทดสอบด้วยวิธี agar diffusion โดยพบว่าบริเวณยับยั้งเชื้อ (Inhibition zone) ของสารสกัดทั้งสอง มีค่าระหว่าง 18.67 - 42.37 และ 14.72 - 43.57 มม. ตามลำดับ และการศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูแรท โดยทาสารสกัด ...
ฤทธิ์แก้ปวดและต้านอักเสบของใบตะลิงปลิง
ฤทธิ์แก้ปวดและต้านอักเสบของใบตะลิงปลิงศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของสารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิง (Averrhoa bilimbi L.) โดยทำการป้อนสารสกัดดังกล่าวให้แก่หนูเม้าส์ขนาด 200 และ 400 มก./กก. 30 นาที ก่อนฉีดกรดอะซิติกเข้าช่องท้องเพื่อให้เกิดอาการเจ็บปวดและสังเกตการหดตัวของช่องท้อง เปรียบเทียบกับการป้อนยาแก้ปวด diclofenac sodium (ขนาด 10 มก./กก.) และทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิงให้แก่หนูเม้าส์ขนาด 200 และ 400 มก./กก. 1 ชั่วโมง ก่อนเหนี่ยวนำให้หนูให้เกิดภาวะอักเสบและบวมที่อุ้งเท้าด...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากใบขลู่
ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากใบขลู่การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของใบขลู่ (Pluchea indica 2J Ethnopharmacol 2013;146:495 - 504 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ถั่วเหลืองช่วยป้องกันความเสียหายของกระดูกจากภาวะอ้วนและการออกกำลังกายเป็นประจำ
ถั่วเหลืองช่วยป้องกันความเสียหายของกระดูกจากภาวะอ้วนและการออกกำลังกายเป็นประจำการศึกษาผลของโปรตีนจากถั่วเหลืองต่อความแข็งแรงของกระดูกในหนูเม้าส์ที่ได้รับอาหารไขมันสูง หรือออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นประจำ โดยป้อนอาหารปกติหรืออาหารไขมันสูงที่มีส่วนผสมของของโปรตีนจากนม (casein) หรือโปรตีนจากถั่วเหลือง 20% เป็นเวลา 14 สัปดาห์ ให้แก่หนูเม้าส์ที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งในวงล้อ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรตีนจากถั่วเหลืองจะมีความเสียหายของกระดูกน้อยกว่ากลุ่มที่กินอาหารไขมันสูงหรือออกกำลังกายเพียงอย่าง...