Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์บรรเทาภาวะเครียดของกลิ่นหอมจากชาดำ

การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดทางเดียว และมีการไขว้กลุ่ม (cross-over, single-blind, randomized design) เพื่อศึกษาฤทธิ์บรรเทาภาวะเครียดของกลิ่นหอมจากชาดำ 2 ชนิดคือ ชาดาร์จีลิ่ง(Darjeeling) และชาอัสสัม (Assam) ในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 18 คน (เพศชาย 5 คน และเพศหญิง 13 คน) อายุเฉลี่ย 20.4 ± 0.81 ปี อาสาสมัครแต่ละคนจะถูกทดสอบ 3 ครั้ง แต่ละครั้งได้รับเครื่องดื่มต่างชนิดกัน ห่างกันครั้งละ 24 ชั่วโมง โดยในแต่ละรอบของการทดลองเมื่ออาสาสมัครมาถึงสถานที่ทดสอบ จะให้นั่งพักเป็นเวลา 10 นาที จากนั้นให้อาสาสมัครดมกลิ่นของเครื่องดื่ม 1 ชนิด จาก 3 ชนิด ได้แก่ น้ำอุ่น ชาดาร์จีลิ่ง หรือชาอัสสัม แต่ละรอบไม่ซ้ำกัน เป็นเวลานาน 1 นาที และให้ทำแบบทดสอบจิตวิทยาในรูปแบบของการคำนวนทางคณิตศาสตร์ (Uchida-Kraepelin test) โดยทดสอบเป็นเวลา 15 นาที จากนั้นจึงเก็บตัวอย่างน้ำลายเพื่อวัดระดับของโปรตีน chromogranin-A (CgA) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเครียด และประเมินภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นด้วย Profile of Mood States (POMS) และ visual analogue scale (VAS) ผลการทดลองพบว่า การดมชาดาร์จีลิ่งและชาอัสสัมสามารถลดระดับของ CgA ในน้ำลายที่เพิ่มขึ้นจากการทำแบบทดสอบได้ (เปรียบเทียบผลกับการดมน้ำอุ่น) การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าชาดาร์จีลิ่งมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านความเครียดมากกว่าชาอัสสัม แต่ไม่พบความแตกต่างในการออกฤทธิ์ต้านภาวะเครียดระหว่างการดมกลิ่นชาชงดาร์จีลิ่งและชาอัสสัมอย่างชัดเจน จากผลการทดลองทำให้สามารถสรุปได้ว่า การสูดดมกลิ่นหอมจากชาดำทั้งสองชนิด อาจช่วยลดระดับความเครียดที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยการทำแบบทดสอบในรูปแบบของการคำนวนทางคณิตศาสตร์ได้ และจากการประเมินภาวะทางอารมณ์ พบว่าเมื่อดมกลิ่นหอมของชาดาร์จีลิ่งก่อนการเผชิญสภาวะเครียด อาสาสมัครมีแนวโน้มในการปรับสภาวะทางอารมณ์ได้ดี

J Physiol Anthropol. 2018;37:3.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1494

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของแป้งต้านทานการย่อยจากเมล็ดบัว
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของแป้งต้านทานการย่อยจากเมล็ดบัวหมายเหตุ: Resistant starch คือ แป้งที่ทนต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหาร จึงไม่สามารถดูดซึมภายในลำไส้เล็กของมนุษย์ได้ แต่ถูกหมักโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่ง resistant starch มีคุณสมบัติในการเป็นพรีไบโอติก (prebiotic) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

428

ฤทธิ์ของสารสกัดเหง้าขิงป้องกันความเป็นพิษต่อไตจากยารักษามะเร็ง
ฤทธิ์ของสารสกัดเหง้าขิงป้องกันความเป็นพิษต่อไตจากยารักษามะเร็งการป้อนสารสกัดเหง้าขิงด้วยเอธานอลขนาด 200 และ 400 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.ให้หนูขาวเพศเมีย 1 ชม.ก่อนถูกเหนี่ยวนำให้ไตวายเฉียบพลันด้วยการฉีดสาร doxorubicin (DXN) ขนาด 15 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. หลังจากนั้น 72 ชม.ทำการวัดผลการศึกษา พบว่าในหนูที่กินสารสกัดเหง้าขิงขนาด 200 และ 400 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.ร่วมกับการฉีดสาร DXN มีระดับ Urea และ Creatinine ในเซรัมมีค่าลดลงนอกจากนี้ยังพบว่าระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในไต เช่น superoxide, catalase, gl...

298

การประเมินผลของฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนในหนูขาว
การประเมินผลของฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนในหนูขาว ของน้ำมันหอมระเหยจากเทียนข้าวเปลือกมีการทดสอบฤทธิ์ต้านโรคกระดูกพรุนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนข้าวเปลือก (Foeniculum vulgare Mill) ที่สกัดด้วยวิธีกลั่นด้วยไอน้ำในหนูขาว ซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วย GC/MS พบว่าในน้ำมันมีสารประกอบ 15 ชนิด และมีสารหลักคือ trans -anethole (81.1%) และ fenchone (9.2%) ในการทดลอง หนูขาวเพศเมียสุขภาพดีถูกแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูควบคุม กลุ่มที่ 2 เป็นหนูที่ถูกตัดรังไข่และได้รับแต่กระสายยา กลุ่มที่ 3-5 เ...

973

ผลของสารสกัดจากใบฝรั่งต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเบาหวาน
ผลของสารสกัดจากใบฝรั่งต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเบาหวานการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ dipeptidyl-peptidase IV (DP-IV) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย ของสารในกลุ่ม flavonol glycosides ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเอทานอล/น้ำ (8/2) จากใบฝรั่ง (Psidium guajava  L.) ในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถยับยั้งเอนไซม์ DP-IV ได้ โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 380 มคก./มล. ซึ่งการยับยั้งเอนไซม์ DP-IV นี้ จะส่งผลให้เซลล์เกิดการหลั่งอินซูล...

1650

ผลของโกโก้ต่อการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในอาสาสมัครวัยรุ่นและผู้ใหญ่สุขภาพดี
ผลของโกโก้ต่อการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในอาสาสมัครวัยรุ่นและผู้ใหญ่สุขภาพดีการศึกษาทางคลินิกผลสารฟลาวานอลจากโกโก้ (cocoa flavanol) ต่อการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในอาสาสมัครวัยรุ่นและผู้ใหญ่สุขภาพดี จากการวิเคราะห์ปริมาณไมโครพาติเคิลจากเยื่อบุผนังหลอดเลือด (endothelium microparticles; EMPs) ในพลาสมาของผู้ใหญ่สุขภาพดีจำนวน 19 คน ด้วยเทคนิค flow cytometry พบว่า CD31+/41−, CD144+ และ CD62e+ EMPs เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่จำนวน 20 คน โดย...

1597

ฤทธิ์ของสารสกัดเกสรบัวหลวงต่อความจำบกพร่องในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยแอมีลอยด์บีต้า
ฤทธิ์ของสารสกัดเกสรบัวหลวงต่อความจำบกพร่องในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยแอมีลอยด์บีต้าการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัด 95% เอทานอลจากเกสรบัวหลวงในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความจำบกพร่องด้วยแอมีลอยด์บีต้า (amyloid beta, Aβ) โดยให้สารสกัด ขนาด 250 และ 500 มก./กก. ทางปาก เป็นเวลา 33 วัน เปรียบเทียบผลกับหนูในกลุ่มควบคุม และหนูที่ได้รับวิตามินซี ขนาด 200 มก./กก. ทางปาก ประเมินผลการเคลื่อนไหว และทดสอบความจำแบบรู้จำ (recognition Memory) ด้วยอุปกรณ์ทดสอบ open field และ novel object recognition ผลการศึกษา...

1505

ผลของการรับประทานแตงโมต่อการตอบสนองความอิ่มและปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน
ผลของการรับประทานแตงโมต่อการตอบสนองความอิ่มและปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครผู้ใหญ่ภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนทั้งหญิงและชาย มีดัชนีมวลกายอยู่ที่ 25-40 กก./ม.2 จำนวน 33 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดสอบที่ให้รับประทานแตงโม 2 ถ้วย ปริมาณ 92 กิโลแคลอรี่/วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้รับประทานคุกกี้ไขมันต่ำ (Nabisco vanilla wafer cookies) ซึ่งมีปริมาณแคลลอรี่เท่ากับกลุ่มทดสอบ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ แล้วสลับการรักษา โดยมีระยะพัก (washout) 2-4...

586

ฤทธิ์ลดพังผืดที่ตับของสารสกัดเห็ดหลินจือ
ฤทธิ์ลดพังผืดที่ตับของสารสกัดเห็ดหลินจือเมื่อป้อนสารสกัด 50% เอทานอลจากเห็ดหลินจือ ขนาด 0.5 และ 1 ก./กก. ให้กับหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพังผืดที่ตับด้วยสาร thioacetamide เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดมีผลลดน้ำหนักตับ และปริมาณสาร hydroxyproline ที่เพิ่มขึ้น ลดการแสดงออกของ collagen (α1) (I), smooth muscle α-actin, tissue inhibitor of metalloproteinase 1 และ metalloproteinase-13 นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มปริมาณของเอนไซม์ collagenase เมื่อดูพยาธิสภาพของตับพบว่ามีพังผืดลดลง แสดงว่าสา...

388

ถั่วเหลืองและสาร
ถั่วเหลืองและสาร isoflavone จากถั่วเหลืองเพิ่มความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกของผู้หญิงที่อายุน้อยชาวเกาหลีการศึกษาในครั้งนี้ศึกษาในผู้หญิงชาวเกาหลีอายุ 20-26 ปี น้ำหนักอยู่ระหว่าง 42.4-63 กก. ค่า BMI อยู่ในช่วง 16.4-25.1 กก./ม2 จำนวน 34 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานถั่วเหลืองขนาด 39 ก./วัน ในรูปแบบต่างๆ เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นต้น กลุ่มที่ 2 ให้รับประทาน isoflavone จากถั่วเหลืองขนาด 8 มก./วัน นานประมาณ 2 ปี และทำการตรวจวัดระดับความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก (Bone...