-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ควบคุมน้ำตาลของน้ำมันงาขาว
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ควบคุมน้ำตาลของน้ำมันงาขาว
การทดสอบฤทธิ์ควบคุมน้ำตาลของน้ำมันงาขาว (Sesamum indicum L.) โดยแบ่งหนูแรทออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มควบคุมให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 คือหนูแรทที่เป็นเบาหวานจากการเหนี่ยวนำด้วย streptozotocin แล้วให้กินอาหารปกติ หรือให้กินอาหารที่ส่วนผสมของน้ำมันงาขาวความเข้มข้น 12% ตามลำดับ ผลการเจาะเลือดเปรียบเทียบก่อนการทดลองไม่พบความแตกต่างของระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินของหนูกลุ่มที่ 2 และ 3 แต่เมื่อครบ 60 วัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูกลุ่มที่ได้รับน้ำมันงามีค่าเท่ากับ 202.1 ± 1.0 มก./ดล. ซึ่งต่ำกว่าหนูที่เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญ (298.0 ± 2.3 มก./ดล.) เช่นเดียวกับระดับอินซูลินในหนูกลุ่มน้ำมันงามีแนวโน้มที่ดีโดยพบว่า มีค่ามากกว่ากลุ่มที่เป็นเบาหวานและมีค่าใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้น้ำมันงายังมีผลทำให้ค่าชีวเคมีของตับ ไต และหัวใจที่ผิดปกติจากภาวะเบาหวานดีขึ้น การศึกษานี้จึงชี้ให้เห็นว่าน้ำมันงาอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการควบคุมระดับน้ำตาลและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้
J Med Food 2017;20(5):448-57ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
การศึกษาความความเป็นพิษของว่านหางจระเข้
การศึกษาความความเป็นพิษของว่านหางจระเข้การศึกษาความเป็นพิษของสาร anthraquinone ซึ่งพบในยางเหลืองของว่านหางจระเข้ โดยแบ่งให้หนูแรทกินน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำคั้นจากใบว่านหางจระเข้ที่กำจัดยางเหลืองออกแล้ว (พบสาร anthraquinone น้อยกว่า 0.1 ส่วนในล้านส่วน) ความเข้มข้น 0.5%, 1% และ 2% ติดต่อกันนาน 3 เดือน ไม่พบความผิดปกติใดๆ และพบว่าขนาดสูงสุดที่ไม่ก่อเกิดความเป็นพิษ (no-observed-adverse-effect level: NOAEL) คือ >2% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร หรือมากกว่าวันละ 1,845 มก./กก.น้ำหนักตัว สำหรับเพศชาย และมากกว่า 2,...
พิษวิทยาของสารสกัดเมล็ดลูกซัดในหนูเม้าส์
พิษวิทยาของสารสกัดเมล็ดลูกซัดในหนูเม้าส์การศึกษาความเป็นพิษของสารสก้ดน้ำที่ทำให้แห้งด้วยความเย็นของเมล็ดลูกซัดในหนูเม้าส์เพศเมียที่ตั้งครรภ์ โดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้ป้อนน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 และ 3 ป้อนสารสก้ดน้ำที่ทำให้แห้งด้วยความเย็นของเมล็ดลูกซัด ขนาด 500 และ 1,000 มก./กก.วัน ตามลำดับ วันละ 1 ครั้ง จนกว่าหนูจะคลอด พบว่าในหนูเพศเมียที่ตั้งครรภ์ไม่พบความผิดปกติ หรือความเป็นพิษใดๆ แต่สารสก้ดน้ำที่ทำให้แห้งด้วยความเย็นของเมล็ดลูกซัด ทั้งขนาด 500 และ 1,0...
ฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดอย่างแรงของสาร
ฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดอย่างแรงของสาร Corilagin สาร Tannin ที่แยกได้จากต้นลูกใต้ใบสาร Corilagin (β-1-0-galloyl-3,6-(R)-hexahydroxydiphenoyl-D-glucose) เป็นสารTannin ที่แยกได้จากต้นลูกใต้ใบซึ่งเป็นพืชที่รู้จักกันดีและนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆในแถบประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน วัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้เพื่อที่จะประเมินฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดอย่างแรงของสาร Carilagin ในหนูทดลองที่เกิดความเจ็บปวดจากสารเคมีและความร้อน โดยแยกสาร Corilagin จากต้นลูกใต้ใบด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟฟี ทำการทดสอบฤทธิ์ต้...
ผลของการบริโภคน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ต่อความดันและไขมันในเลือดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่
ผลของการบริโภคน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ต่อความดันและไขมันในเลือดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2การทดลองในผู้สูงอายุ 40 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 17 คน (ชาย 3 คน หญิง 14 คน อายุเฉลี่ย 81.8 ± 6.9 ปี) และผู้สูงอายุสุขภาพดี 23 คน (ชาย 6 คน หญิง 17 คน อายุเฉลี่ย 83.7 ± 7.1 ปี) ให้รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าทั้งสองกลุ่มมีความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (Systolic blood pressure) ลดลงโดยไม่มีผลต่อค่าชีวเคมีอื่นๆ ในเล...
ฤทธิ์ต้านเชื้อราและสารก่อมะเร็งของน้ำมันจากใบขมิ้น
ฤทธิ์ต้านเชื้อราและสารก่อมะเร็งของน้ำมันจากใบขมิ้นการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อราและสาร aflatoxin ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) โดยใช้ความเข้มข้นของน้ำมัน 0.01 - 1.5% (v/v) ในอาหารเลี้ยงเชื้อ Yeast Extract Sucrose (YES) บ่มร่วมกับสปอร์ของเชื้อรา Aspergillus flavusFood and Chemical Toxicology 2011;49:1188 - 92 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
อันตรกิริยาระหว่างส้มเกลี้ยงกับยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
อันตรกิริยาระหว่างส้มเกลี้ยงกับยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ amiodaroneการศึกษาผลของสารสกัดมาตรฐานของส้มเกลี้ยงซึ่งเป็นอาหารเสริมที่นิยมใช้ในการควบคุมน้ำหนักและเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกาย ต่อค่าเภสัชจลนศาสตร์ของยา amiodarone (ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ) การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพื่อเปรียบเทียบการรับประทานแบบครั้งเดียวพร้อมกับการให้ยา และการรับประทานแบบต่อเนื่องก่อนการได้รับยา โดยในการทดลองที่ 1 ทำการป้อนหนูแรทด้วยสารสกัดมาตรฐานของส้มเกลี้ยง ขนาด 164 มก./กก.น้ำหนักตัว พร้อมกับการป้อนยา ami...
ฤทธิ์ยับยั้งความเสียหายของระบบรักษาสมดุลการทรงตัวในหูและการสูญเสียการได้ยินของโสมแดงเกาหลี
ฤทธิ์ยับยั้งความเสียหายของระบบรักษาสมดุลการทรงตัวในหูและการสูญเสียการได้ยินของโสมแดงเกาหลีศึกษาฤทธิ์ยับยั้งความเสียหายของระบบรักษาสมดุลการทรงตัวในหู (vestibular) และการสูญเสียการได้ยินของโสมแดง (Korean Red Ginseng, Panax ginseng ) ด้วยการป้อนผงสารสกัดโสมแดงซึ่งมีสารสำคัญ ginsenosides อยู่ 100% ให้กับหนูเม้าส์อายุ 3 เดือน โดยผสมลงในน้ำดื่มขนาดวันละ 150 และ 500 มก./กก. น้ำหนักตัว (ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์) นาน 9 เดือน หรือเมื่อหนูมีอายุครบ 12 เดือน พบว่า จากการทดสอบการทรงตัวของหนูด้วยวิธี tail-hangin...
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคของหางนกยูงไทย
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคของหางนกยูงไทยเมื่อนำสารสกัดของหางนกยูงไทยด้วยไดคลอโรมีเทน มาแยกจนได้สารออก ฤทธิ์คือ furanoditerpenoid,6beta-benzoyl-7beta-hydroxyvouacapen-5alpha-ol (1) และ 6beta -cinnamoyl-7beta-hydroxyvouacapen-5alpha-ol (2) ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่เป็นสาเหตุของการเกิดวัณโรค พบว่าสาร (1) ออกฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อได้ดี ความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 6.25 มคก./มล. ส่วนสาร (2) ออกฤทธิ์ต่ำ แต่อย่างไรก็ตามสารทั้งสองให...
ฤทธิ์ของสาร
ฤทธิ์ของสาร Isoflavanquinone จากมะกล่ำตาหนู สาร Isoflavanquinone ที่แยกได้จากสารสกัดส่วนเหนือดินของมะกล่ำตาหนูด้วยคลอโรฟอร์มคือ abruquinone B และ abruquinone G สาร abruquinone B มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่เป็นสาเหตุของวัณโรค ด้วยความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ = 12.5 มคก./มล. ต้านเชื้อ Plasmodium fulciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรียด้วย IC50 = 1.5 มคก./มล. และเป็นพิษต่อเซลล์ KB และ BC cell lines ส่วนสาร abruquinone G มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Herpes simpl...