Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

การบริโภคสตรอว์เบอร์รีต้านกระบวนการแก่ชราผ่านการทำงานของไมโตคอนเดรียและการต้านออกซิเดชัน

การประเมินตัวชี้วัดทางชีวภาพของความเสียหายที่เกิดจากกระบวนการออกซิเดชัน (biomarkers of oxidative damage) รวมถึงการลดลงของการสร้างและการทำงานของไมโตครอนเดรีย อันเนื่องมาจากความแก่ชรา ของการบริโภคสตรอว์เบอร์รี (Fragaria ananassa สายพันธุ์ Alba) โดยทำการทดสอบในหนูแรทชราเพศผู้ อายุ 19 - 21 เดือน จำนวน 16 ตัว โดยแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 ให้กินอาหารมาตรฐาน และกลุ่มที่ 2 ให้กินอาหารมาตรฐานที่มีส่วนผสมของผงผลสตรอว์เบอร์รีที่ทำแห้งด้วยวิธี lyophilization ที่มีการควบคุมปริมาณฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวม วิตามินซี รูปแบบของแอนโธไซยานินที่เป็นองค์ประกอบ และการต้านออกซิเดชันโดยรวม ทดแทนในปริมาณร้อยละ 15 ของพลังงานทั้งหมด (แคลอรี) ที่ได้จากอาหาร โดยควบคุมให้สารอาหารทั้งหมดที่ได้รับของหนูทั้งสองกลุ่มนั้นเท่ากัน ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าการเสริมอาหารด้วยผงผลสตรอว์เบอร์รี เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ เช่น catalase, superoxide dismutase, glutathione peroxidase, glutathione reductase, และ glutathione transferase เพิ่มปริมาณและการทำงานของไมโตครอนเดรีย และลดระดับของ reactive oxygen species ภายในเซลล์ รวมทั้งลดตัวชี้วัดทางชีวภาพของความเสียหายของโปรตีน ไขมัน และ DNA อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การบริโภคสตรอว์เบอร์รียังเพิ่มการแสดงออกของ AMP-activated protein kinase (AMPK) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างและการทำงานของไมโตครอนเดรีย รวมทั้งการต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย นอกจากนี้การทดสอบในหลอดทดลองของเซลล์มะเร็งตับ (HepG2) ยืนยันว่าการได้รับสตรอเบอร์รีมีผลดีในการต้านการเกิดกระบวนการแก่ชรา โดยผลนั้นมาจากการเพิ่มการแสดงออกและกระตุ้นการทำงานของ AMPK



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1112

ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของทับทิมและคาโมมายล์
ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของทับทิมและคาโมมายล์การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและปกปิดสองทางในผู้ป่วยโรคปริทันต์ ที่มีภาวะเหงือกอักเสบหรือเยื่อหุ้มฟันอักเสบแบบเรื้อรัง ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 18 - 56 ปี จำนวน 55 คน โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 18 คน ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสะลายคลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) 0.12% (เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ในผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปาก) กลุ่มที่ 2 จำนวน 19 คน ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัด 96% เอทานอลของดอกคาโมมายล์ (Matricaria recutita ...

1161

ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของตำรับยาว่านชักมดลูก
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของตำรับยาว่านชักมดลูกการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของตำรับยาว่านชักมดลูกซึ่งประกอบด้วย ว่านชักมดลูก (Curcuma comosa ) ว่านนางคำ (Curcuma aromatica ) และไพล (Zingiber montanum ) (อัตราส่วน 1:1:1) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยแอสไพริน กรดเกลือ (hydrochloric acid) และการแช่น้ำเย็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเครียด โดยป้อนยาขนาด 0.25, 0.5, 1 และ 2 ก./กก. เพียงครั้งเดียว เป็นเวลา 30 นาทีก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิดแผล หรือป้อนยาในขนาด ...

750

ผลของสาร
ผลของสาร ginkgolide B จากใบแป๊ะก๊วย ต่อภาวะเส้นเลือดอุดตันในสมองการศึกษาผลของสาร ginkolide B ที่สกัดได้จากใบแป๊ะก๊วยต่อการหลั่งสารสื่อประสาทจำพวกกรดอะมิโนของสมอง ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองส่วนกลาง โดยการสอดไหมเย็บแผลชนิดไนลอนเข้าไปอุดหลอดเลือดเป็นเวลา 60 นาทีแล้วเอาออก หนูแรทจะได้รับการฉีดสาร ginkolide B ขนาด 10 มก./กก./วัน, 20 มก./กก./วัน หรือ น้ำเกลือ (กลุ่มควบคุม) เข้าทางช่องท้องเป็นเวลา 3 วัน ก่อนทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงในสมอง ผลการศึกษาพบว...

274

สารสำคัญในทองพันชั่งยับยั้งเซลล์มะเร็ง
สารสำคัญในทองพันชั่งยับยั้งเซลล์มะเร็งสาร Rhinacanthins-C, -N และ -Q ซึ่งเป็นสารหลักในกลุ่ม naphtoquinone esters แยกได้จากรากทองพันชั่ง มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ความเข้มข้นของสารที่ออกฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งปากมดลูก (HeLaS3 cells) ได้ 50% เท่ากับ 80, 65, 73 ไมโครโมล, 55, 45, 35 ไมโครโมล และ 1.5, 1.5 และ 5.0 ไมโครโมล ในระยะเวลาที่เซลล์สัมผัสกับสารนาน 24, 48 และ 72 ชม. ตามลำดับ มีกลไกการออกฤทธิ์ไปทำให้เซลล์ตาย (apoptosis) เกิด nuclear fragmentation, DNA ladder, ยับยั้ง cell cycle ระดั...

725

ฤทธิ์ของสารสกัดจากใบมะรุมต่อการยับยั้งการแพร่กระจายและเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ
ฤทธิ์ของสารสกัดจากใบมะรุมต่อการยับยั้งการแพร่กระจายและเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ apoptosis ของเซลล์มะเร็งสารสกัดน้ำ ความเข้มข้น 25 - 200 มคก./มล. จากใบมะรุมมีฤทธิ์ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง KB ได้ โดยการยับยั้งเพิ่มขึ้นตามขนาดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น สารสกัดมีผลเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งแบบ apoptosis โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเซลล์ ได้แก่ เซลล์หดตัวเล็กลง หลุดออกจากพื้นผิวง่าย ผนังเซลล์เป็นตุ่ม ดีเอ็นเอหนาแน่น เกิดการแตกของดีเอ็นเอ และเพิ่มการสร้างอนุมูลอิสระ (reactiv...

391

ประโยชน์ของถั่วเหลืองและชาเขียวในผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ประโยชน์ของถั่วเหลืองและชาเขียวในผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงผู้ป่วยที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ≥ 220 มก./ดล. จำนวน 100 คน ชาย 39 คน และหญิง 61 คน อายุเฉลี่ย 52.2 ± 12.2 ปี ไม่เป็นโรคเบาหวาน หรือการทำงานของธัยรอยด์ผิดปกติ ไม่เคยได้รับยาฮอร์โมน ยาลดไขมัน isoflavones ถั่วเหลือง หรือชาเขียว มานานกว่าหรือเท่ากับ 40 วันก่อนทดลอง ทุกคนจะถูกสุ่มแบบอิสระแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ได้รับอาหารคอเลสเตอรอลต่ำ (มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลต่ำ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ...

998

ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิม
ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิมศึกษาฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบทั้งในภาวะเฉียบพลันและเรื้อรังของสาร ellagic acid จากทับทิม ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบด้วยการป้อน dextran sulphate sodium (DSS) ทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยการศึกษาในระยะเฉียบพลัน ใช้หนูเม้าส์สายพันธุ์ Balb/C 3 กลุ่ม (กลุ่มละ 7 - 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยอาหารปกติและน้ำที่มี DSS ผสมอยู่ 5% กลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารที่มีสาร ellagic acid ผสมอยู่ 2% โดยน้ำหน...

1571

การศึกษาทางคลินิกผลของการรับประทานอัลมอนต์กับการสร้างน้ำมันบริเวณผิวหนังและริ้วรอยบนใบหน้า
การศึกษาทางคลินิกผลของการรับประทานอัลมอนต์กับการสร้างน้ำมันบริเวณผิวหนังและริ้วรอยบนใบหน้าการศึกษาทางคลินิก (prospective, investigator-blinded, randomized controlled trial) ผลของการรับประทานอัลมอนต์ (Prunus dulcis; almond) กับการสร้างน้ำมันบริเวณผิวหนังและริ้วรอยบนใบหน้าในอาสาสมัครเพศหญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่มีสีผิวประเภท Fitzpatrick skin types 1 และ 2 ที่มีคุณสมบัติผ่านการทดสอบ 28 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่จะได้รับประทานอัลมอนด์เป็น 20% ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่จะได้...

404

ผลของ
ผลของ isoflavones จากถั่วเหลืองในการเพิ่มการหลั่งอินซูลินและป้องกันการเกิดต้อกระจกในหนูที่เป็นเบาหวานเมื่อให้หนูขาวซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin กินอาหารที่เสริมด้วยโปรตีนจากถั่วเหลืองซึ่งมี isoflavones ต่ำและสูง เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่กินอาหารเสริมด้วย casein พบว่าหนูกลุ่มที่กินอาหารที่เสริมด้วยโปรตีนจากถั่วเหลืองซึ่งมี isoflavones สูง จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ระดับอินซูลิน glutathione และ HDL-cholesterol ในเลือดเพิ่มขึ้น แต่ระดับของ glucose และ methylglyoxal ในเลือดจะล...