-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของข้าวสาลี
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของข้าวสาลี
ศึกษาฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของข้าวสาลีในสตรีชาวเอเชียใต้วัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจำนวน 59 คน โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง (จำนวน 29 คน) ให้รับประทานแคปซูลผงข้าวสาลีวันละ 3.5 กรัม นานติดต่อกัน 10 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุม (30 คน) ไม่ได้รับยาใดๆ ทำการเก็บตัวอย่างเลือดอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มเพื่อตรวจวิเคราะห์ค่าไขมันในเลือดทั้งช่วงก่อนและหลังการทดลอง ผลจากการศึกษาพบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับแคปซูลผงข้าวสาลีมีค่าโคเลสเอตรอลรวม ลดลง 5.4%, LDL ลดลง 4.4%, ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 9.5% , และ HDL ลดลง 6% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการทดลอง และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า ระดับไตรกลีเซอไรด์, ไตรเอซิลกลีเซอรอล และ Apolipoprotein B (Apo-B) ของกลุ่มที่ได้รับแคปซูลผงข้าวสาลีมีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.043, 0.045, and 0.016 ตามลำดับ). และยังพบว่า การรับประทานแคปซูลผงข้าวสาลีมีผลลดอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน (menopausal symptoms) ลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (vasomotor 42%, somatic 33%, psychological 50% ในขณะที่ urogenital symptoms ไม่มีการเปลี่ยนแปลง) ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การรับประทานแคปซูลผงข้าวสาลีเป็นอาหารเสริมในขนาดและระยะเวลาดังกล่าว มีผลช่วยลดค่าไขมันในเลือดในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงได้
J Diet Suppl. 2017; 14(5): 503-13.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของกานพลูในการปกป้องหัวใจ
ผลของกานพลูในการปกป้องหัวใจ ตับ เลนส์ตา ในหนูแรทที่เป็นเบาหวานการศึกษาในหนูแรท 40 ตัว แบ่งเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมเป็นหนูปกติให้กินอาหารมาตรฐาน กลุ่มที่ 2 เป็นหนูปกติให้กินอาหารมาตรฐานร่วมกับสารสกัดกานพลูที่มีสารยูจีนอล : สารยูจีนิล ซิเตด (12:1) ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว กลุ่มที่ 3 เป็นหนูที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยstreptozotocin ให้กินอาหารมาตราฐาน กลุ่มที่ 4 เป็นหนูที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานให้กินอาหารมาตราฐานร่วมกับสารสกัดกานพลูที่มีสารยูจีนอล : สารยูจีนิล ซิเ...
การศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดใบสะเดาต่อยาต้านมาลาเรีย
การศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดใบสะเดาต่อยาต้านมาลาเรีย artesunateการศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดน้ำจากใบสะเดา (Azadirachta indica A.Juss.) ก่อนการได้รับยาต้านมาลาเรีย artesunate โดยป้อนด้วยสารสกัดน้ำจากใบสะเดา ขนาด 100 และ 200 มก./กก. ตามลำดับ ให้แก่หนูเม้าส์เพศผู้ ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นป้อนด้วยยา artesunate ขนาด 10 มก./กก. ต่ออีก 5 วัน ผลการศึกษาพบว่าระดับค่าชีวเคมีในเลือดที่บ่งถึงความผิดปกติของตับและไต ได้แก่ alanine aminotransferase, gamma glutamyltransferase, urea, creatinine, in...
Mangiferin
Mangiferin จากมะม่วงช่วยป้องกันการเกิดภาวะไตผิดปกติจากโรคเบาหวานการศึกษาในหนูแรทที่มีอาการไตผิดปกติที่เกิดจากโรคเบาหวาน พบว่าเมื่อป้อนหนูแรทด้วย Mangiferin ขนาด 15-45 มก./กก. นาน 12 สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณน้ำตาลสะสม (Advance-glycation end-product) ปริมาณ malodialdehyde ความเข้มข้นของซอบิทอลบนเซลล์เม็ดเลือดแดง และอัตราการขับทิ้งอัลบูมินอย่างมีนัยสำคัญ ร่วมกับการเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase และ glutathione peroxidase อีกทั้งเพิ่มอัตราการกำจัดครีตินิน (creatinine clearance) โดยไม่มีผ...
ฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ประสาทของสารสกัดจากผักชีล้อม
ฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ประสาทของสารสกัดจากผักชีล้อมการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดบิวทานอลจากลำต้นและใบของผักชีล้อมซึ่งมีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์ประสาทของหนูแรทที่ถูกทำลายด้วยสาร glutamate พบว่าประกอบด้วยสารสำคัญ 4 ชนิด คือ isorhamnetin, afzelin, hyperoside และ persicarin เมื่อนำสารที่แยกได้ทั้ง 4 ชนิด ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10 ไมโครโมลาร์ มาทดสอบฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์ประสาท พบว่าpersicarin มีฤทธิ์ดีที่สุด โดยที่ขนาดความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์ จะให้ผลป้องกันเซลล์ประสาทได้ 74.5% กลไกในการออกฤทธิ์ข...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทย
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทยการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาที่ทำจากสมุนไพรไทย 15 ชนิด ได้แก่ หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ กระเจี๊ยบแดง มะขามแขก หม่อน คำฝอย ดายขัด ช้าพลู ชุมเห็ดเทศ ย่านาง ชะเอมเทศ มะรุม หญ้าหวาน ฝาง และแป๊ะตำปึง เปรียบเทียบกับชา (Camellia sinensis ) 3 ชนิด คือ ชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง พบว่าชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาสมุนไพร เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และ FRAP assays ยกเว้นชาหญ้าหวานซึ่งจะมีฤทธิ์ดีกว่าชาดำและชาอ...
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ arginase ของสารฟลาโวนอยด์จากใบหม่อนเอนไซม์ arginase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยน L-arginine เป็น L-ornithine และยูเรียในกระบวนการทําลายพิษที่เกิดจากแอมโมเนียของร่างกาย (ammonia detoxification) นอกจากนี้ L-arginine ยังเป็นสารตั้งต้นเพื่อให้เอนไซม์ nitric oxide synthase (iNOS) เปลี่ยนให้เป็น ciltrulline และ nitric oxide (NO) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งหากร่างกายมีปริมาณ arginase สูงเกินไปจะมีผลแย่งกับ iNOS ในการจับกับ L-arginine ทำให้การสร้าง NO ลดลง และ...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสำคัญจากหล่อฮั่งก๊วย
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสำคัญจากหล่อฮั่งก๊วยการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านเบาหวานของสาร cucurbitane glycosides ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม mogrosides ที่แยกได้จากผลหล่อฮั่งก๊วย (Siraitia grosvenori) จำนวน 18 ชนิด ในหลอดทดลอง โดยใช้เซลล์มะเร็งตับของมนุษย์ (HepG2 cells) และเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน metformin พบว่าสารทุกตัวมีฤทธิ์ทำให้การเก็บกลูโคสเข้าสู่เซลล์ (glucose uptake) เพิ่มขึ้น โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ความเข้มข้น 1 μmol/L ซึ่งผลดังกล่าวเทียบเท่าหรือดีกว่ายา metformin ที่ความเข้มข้นเดียวกัน แสดงให้เห็...
ฤทธิ์บำรุงสมองของเมล็ดเทียนดำ
ฤทธิ์บำรุงสมองของเมล็ดเทียนดำการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานยาแคปซูลที่บรรจุเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa L.) ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง และกลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอกในขนาดเดียวกัน ใช้เวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่รับประทานเทียนดำจะมีความจำและการทำงานของสมองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก และที่ขนาดดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออวัยวะภายใน แสดงให้เห็นว่าเทียนดำมีฤทธิ์เพิ่มความจำให้กับผู้สูงอายุและน่าจะนำมาพัฒนาเ...
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของใบมะตูม
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของใบมะตูมศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากใบมะตูม (Aegle marmelosInt J of Res in Pharmacology & Pharmacotherapeutics. 2019;8(1):16-22. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...