Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

สารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ช่วยฟื้นฟูความไวของเซลล์ต่ออินซูลินในผู้ที่มีน้ำหนักเกินที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานแต่มีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย

การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย และคู่ขนาน (parallel, double-blind, controlled and randomized clinical trial) ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index; BMI) ≥ 25 กก./ตรม. ทั้งชายและหญิงจำนวน 41 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 57 ปี ให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ ในขนาด 333 มก./วัน กลุ่มที่ 2 จำนวน 21 คน อายุเฉลี่ย 60 ปี เป็นกลุ่มควบคุมได้รับเครื่องดื่มที่ไม่มีสารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ ในปริมาตรที่เท่ากัน นานเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่มีความไวของเซลล์ต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้น และสามารถลดการหลั่งอินซูลินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม สารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ไม่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด รวมถึงไม่มีผลต่อระดับของตัวชี้วัดของการอักเสบ (inflammatory marker) ในเลือดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า การรับประทานสารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ ในขนาด 333 มก./วัน มีผลทำให้ความไวของเซลล์ต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้น และทำให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินดีขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วน แต่สารดังกล่าวไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือ



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

787

แก่นฝางช่วยรักษาข้ออักเสบ
แก่นฝางช่วยรักษาข้ออักเสบการทดลองป้อนสารสกัดเอทานอลจากแก่นฝางขนาด 1.2, 2.4 และ 3.6 ก/กก.น้ำหนักตัว หรือน้ำมันมะกอก 10 มล. (vehicle control)เป็นเวลา 10 วันติดต่อกัน ให้หนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เกิดอาการข้ออักเสบด้วยการฉีด collagen-II พบว่าอาการของโรคข้ออักเสบลดลงในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากแก่นฝาง โดยลดค่าดัชนีการอักเสบของข้อ (arthritis index)อาการบวม และลดสารก่อการอักเสบ ได้แก่ interleukin-1-β (IL-1β), IL-6, tumor necrosis factor-αและ prostaglandin E2 ในเลือดลง รวมทั้งลดการหลั่งcycloox...

1200

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเห็ดหลินจือ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเห็ดหลินจือการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำจากเห็ดหลินจือที่เพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อซึ่งมีส่วนผสมของข้าวกล้องงอกเมื่อทดสอบในเซลล์ macrophage RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยไลโปโพลีแซคคาไรด์พบว่าสารสกัด ความเข้มข้น 0.25-1 มก./มล. มีฤทธิ์ลดการสร้างและการแสดงออกของยีนของสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ได้แก่ ไนตริกออกไซด์พรอสตาแกลนดิน E2,cyclooxygenase (COX)-2, inducible nitric oxide synthase (iNOS), tumor necrosis factor (TNF)-α, interl...

401

ฤทธิ์ยับยับยั้งการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในเซลล์ของสารโพลีฟีนอลจากชาผู่เอ๋อ
ฤทธิ์ยับยับยั้งการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในเซลล์ของสารโพลีฟีนอลจากชาผู่เอ๋อสารสกัดด้วยน้ำร้อนจากชาผู่เอ๋อ (1:50 w/v) นาน 5 นาที เมื่อนำมาทำให้แห้งแข็งด้วยความเย็น ผสมลงในส่วนประกอบของอาหารเลี้ยงเซลล์ พบว่า สามารถยับยั้งการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในเซลล์เพาะเลี้ยง Hep G2Food Chemistry 2008;111:67-71 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

304

ผลลดคอเลสเตอรอลของสาร
ผลลดคอเลสเตอรอลของสาร phenolic และ hydroxytyrosol ที่แยกได้จากน้ำทิ้งของกระบวนการสกัดน้ำมันมะกอกน้ำทิ้งจากกระบวนการสกัดน้ำมันมะกอก ซึ่งมีสารกลุ่ม phenolic เป็นองค์ประกอบหลัก และ hydroxytyrosol ที่แยกได้จากน้ำทิ้งนี้ มีผลลดระดับคอเลสเตอรอลในหนูขาวที่กินอาหารซึ่งมีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงได้ โดยพบว่าหนูที่กินอาหารซึ่งผสมน้ำทิ้งจากกระบวนการสกัดน้ำมันมะกอก ขนาด 10 มก./กก. และอาหารผสม hydroxytyrosol ขนาด 2.5 มก./กก. เป็นเวลา 16 สัปดาห์ จะมีระดับของคอเลสเตอรอล และ LDL ลดลง แต่มีระดับของ HDL สูงขึ้น น...

1093

ฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของตัวรับบนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลของเมล็ดหมากแก่
ฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของตัวรับบนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลของเมล็ดหมากแก่จากรายงานการวิจัยที่ระบุว่า พฤติกรรมการเคี้ยวหมากทำให้เกิดโรคภายในช่องปากได้มากขึ้น และสารสกัดของเมล็ดหมาก (Areca catechu L.) มีฤทธิ์ยับยั้งกลไกการป้องกันตัวของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้แก่ กระบวนการฟาโกไซโทซีส (phagocytosis) ของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (neutrophils) จึงมีการนำสารสกัดน้ำจากเมล็ดหมากแก่แห้ง (Areca Nut Extract; ANE) มาศึกษาถึงกลไกการออกฤทธิ์และผลต่อตัวรับคอมพลีเมนต์ (complement receptors) และตัวรับเอฟซี ...

1412

ผลของการสูดดมน้ำมันหอมระเหยตะไคร้ต่อการรู้คิดและภาวะอารมณ์ในอาสาสมัครหญิงสุขภาพดี
ผลของการสูดดมน้ำมันหอมระเหยตะไคร้ต่อการรู้คิดและภาวะอารมณ์ในอาสาสมัครหญิงสุขภาพดีการศึกษาในอาสามัครหญิงสุขภาพดี อายุ 20-22 ปี จำนวน 60 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ให้สูดดมน้ำมันหอมระเหยตะไคร้ จำนวน 30 คน และกลุ่มที่สูดดมน้ำมันหลอก (inactive control oil) จำนวน 30 คน เป็นเวลา 5 นาที ทำการประเมินผลการรู้คิดโดยใช้ชุดแบบทดสอบทางคอมพิวเตอร์ (Cognitive compu-terized battery of tests) และภาวะอารมณ์โดยใช้แบบประเมินให้คะแนนด้วยตนเอง (Mood visual analogue scale) รวมทั้งวัดความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจทั...

785

สารสกัดจากกระชายดำปกป้องหัวใจ
สารสกัดจากกระชายดำปกป้องหัวใจการศึกษาผลของสารสกัดจากกระชายดำที่สกัดด้วยเอทานอลต่อการทำงานของหลอดเลือดแดงใหญ่และหัวใจหนูแรทที่แยกจากตัวสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดจากกระชายดำ ขนาด 10-6-10-3 มคก./มล. ทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ขยายตัว โดยการคลายตัวของหลอดเลือดเปลี่ยนแปลงตามความเข้มข้นของสารสกัดที่เพิ่มขึ้น การศึกษากลไกของสารสกัดจากกระชายดำต่อการขยายตัวของหลอดเลือดแดง พบว่าสารสกัดจากกระชายดำออกฤทธิ์ต่อเซลล์เอนโดทีเลียม (endothelium) โดยกระตุ้นการทำงานของ guanylate cyclase และ nitric oxide syntase (NOS) แต่ไม่...

1503

การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชค
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชคการศึกษาความเป็นพิษของใบอาร์ติโชค (Cynara scolymus L.) ต่อตัวอ่อนในครรภ์ของหนูแรท ด้วยการป้อนผงแห้งของสารสกัดน้ำจากใบอาร์ติโชค ขนาด 1, 2 และ 4 ก./น้ำหนักตัว 1 กก. ให้แก่หนูแรทเพศเมียตั้งแต่มีอายุครรภ์ 6 วันต่อเนื่องถึงอายุครรภ์ 19 วัน ซึ่งพบว่าสารสกัดน้ำจากอาร์ติโช๊คไม่มีผลต่ออัตราการกินอาหาร เปอร์เซนต์การสูญเสียศักยภาพในการฝังตัวของตัวอ่อนทั้งก่อนและหลังกระบวนการฝังตัว (preimplantation loss and postimplantation loss) น้ำหนักรก และค่าชีวเคมีอื่นๆ...

1369

ฤทธิ์ต้านความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ
ฤทธิ์ต้านความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) จากสารสำคัญของเป่ยเช่าการศึกษาฤทธิ์ต้านความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (Posttraumatic stress disorder; PTSD) จากสาร albiflorin ซึ่งแยกได้จากส่วนรากของเป่ยเช่าหรือโบตั๋นจีน (Paeonia lactiflora Pall) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ PTSD ด้วยโมเดล single prolonged stress (SPS) โดยกรอกสาร albiflorin เข้าทางกระเพาะอาหารของหนูวันละครั้ง ในขนาด 3.5, 7 และ 14.0 มก./กก. หลังจากการทำให้เกิดภาวะเครียดด้วย SPS เป็นเวลานาน 12 วัน (ว...