Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของสารสกัดเมล็ดแตงกวาต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง

การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและปกปิดสองฝ่ายที่มีกลุ่มควบคุม (randomized double - blind placebo controlled clinical trial) ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงจำนวน 47 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 24 คน ได้รับสารสกัดเมล็ดแตงกวาแห้ง ขนาด 500 มก. จำนวน 1 แคปซูล โดยรับประทานพร้อมอาหาร วันละ 1 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 2 จำนวน 23 คน ให้รับประทานยาหลอก (placebo) พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมล็ดแตงกวาแห้ง มีระดับคอเลสเตอรอลรวม (total cholesterol) ระดับ low density lipoprotein cholesterol (LDL-C) และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง รวมถึงมีดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลงจากเดิม ส่วนระดับ high density lipoprotein cholesterol (HDL-C) ในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการรับประทานสารสกัดเมล็ดแตงกวาแห้งในขนาด 500 มก. วันละ 1 ครั้ง สามารถลดระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีที่จะบริโภคสารสกัดเมล็ดแตงกวาเป็นอาหารเสริมสำหรับรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

J Food Sci 2017;82(1):214-8.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1626

ฤทธิ์แก้ปวดและต้านอักเสบของใบตะลิงปลิง
ฤทธิ์แก้ปวดและต้านอักเสบของใบตะลิงปลิงศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของสารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิง (Averrhoa bilimbi L.) โดยทำการป้อนสารสกัดดังกล่าวให้แก่หนูเม้าส์ขนาด 200 และ 400 มก./กก. 30 นาที ก่อนฉีดกรดอะซิติกเข้าช่องท้องเพื่อให้เกิดอาการเจ็บปวดและสังเกตการหดตัวของช่องท้อง เปรียบเทียบกับการป้อนยาแก้ปวด diclofenac sodium (ขนาด 10 มก./กก.) และทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิงให้แก่หนูเม้าส์ขนาด 200 และ 400 มก./กก. 1 ชั่วโมง ก่อนเหนี่ยวนำให้หนูให้เกิดภาวะอักเสบและบวมที่อุ้งเท้าด...

1505

ผลของการรับประทานแตงโมต่อการตอบสนองความอิ่มและปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน
ผลของการรับประทานแตงโมต่อการตอบสนองความอิ่มและปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครผู้ใหญ่ภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนทั้งหญิงและชาย มีดัชนีมวลกายอยู่ที่ 25-40 กก./ม.2 จำนวน 33 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดสอบที่ให้รับประทานแตงโม 2 ถ้วย ปริมาณ 92 กิโลแคลอรี่/วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้รับประทานคุกกี้ไขมันต่ำ (Nabisco vanilla wafer cookies) ซึ่งมีปริมาณแคลลอรี่เท่ากับกลุ่มทดสอบ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ แล้วสลับการรักษา โดยมีระยะพัก (washout) 2-4...

1416

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารในกลุ่ม
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารในกลุ่ม polymethoxyflavones จากเปลือกส้มจีนการวิเคราะห์โครงสร้างสารในกลุ่ม polymethoxyflavones (Citrus polymethoxyflavones; PMFs) ที่แยกได้จากเปลือกส้มจีน (Citrus reticulata ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

9

ฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อเซลของพืชผัก
ฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อเซลของพืชผัก เมื่อทดสอบผลการยับยั้งความเป็นพิษต่อเซล cytotoxicity ของสาร N- nitriso-amines โดยใช้สารสกัดจากผักชนิดต่างๆ คือ บร็อคโคลี แครอท หัวหอม และชะเอม พบว่าสารสกัดเอธานอลของบร็อคโคลีให้ผลดีที่สุด นอกจากนั้นยังมีผลกระตุ้นให้เพิ่มการแบ่งตัวของเซลด้วยJ Agric Food Chem 1998; 46(2); 585-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ...

1040

ฤทธิ์ต้านเบาหวานและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากใบทุเรียนเทศ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากใบทุเรียนเทศการทดสอบฤทธิ์ต้านเบาหวานและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากใบทุเรียนเทศ (Annona muricata ) ในหนูแรท ทั้งหนูปกติและหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสาร streptozotocin โดยแบ่งเป็นการทดสอบในระยะยาว คือหลังจากที่หนูถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน 2 สัปดาห์ หนูจะถูกป้อนด้วยสารสกัดขนาด 100 หรือ 200 มก./กก./วัน เป็นเวลา 28 วัน และการทดสอบฤทธิ์ในการป้องกัน โดยหนูจะถูกป้อนด้วยสารสกัดก่อนการเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน เป็นเวลา 3 วัน แล้วสัง...

1120

สีผสมอาหารธรรมชาติจากดอกคำฝอย
สีผสมอาหารธรรมชาติจากดอกคำฝอยการศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้สารไนไตรท์ (Nitrite) ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ทำให้เกิดสีแดงอมชมพูในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ กับการใช้ใยอาหารจากข้าวสาลีที่ถูกย้อมด้วยสารคาร์ธามิน (carthamin) ซึ่งเป็นสารสีแดงที่ได้จากดอกคำฝอย (Carthamus tinctorius L.) ในไส้กรอก โดยดูลักษณะของสีและการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน (lipid oxidation) ที่เกิดขึ้น ซึ่งไส้กรอกจะถูกเตรียมโดยการใช้สารไนไตรท์ 2 ความเข้มข้นคือ 0 และ 120 ส่วนในล้านส่วน จากนั้นทั้ง 2 กลุ่มจะถูกผสมด้วยใยอาหารจากข้าวสาลี 3 คว...

144

สารลดการอักเสบจากเทียนบ้าน
สารลดการอักเสบจากเทียนบ้าน การศึกษาพบว่า 1,4-naphthoquinoue จากดอกเทียนบ้านสีขาวมีฤทธิ์ยับยั้ง cyclooxygenase-2 (COX-2) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ แสดงให้เห็นว่าผลของดอกเทียนบ้านในการลดปวด และบวม น่าจะเนื่องมาจากฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น Biol Pharm Bull 2002;25(5):658-60 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1252

ประสิทธิผลของยาสหัศธาราในการลดอาการปวดเข่าของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
ประสิทธิผลของยาสหัศธาราในการลดอาการปวดเข่าของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นข้อเข่าเสื่อม จำนวน 144 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกได้รับการรักษาด้วยยาไดโคลฟีแนค กลุ่มที่สองได้รับการรักษาโดยยาสหัศธารา เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม และประเมินผลด้านอาการปวดข้อ อาการข้อฝืด ข้อตึงและการใช้งานข้อ รวมทั้งติดตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น อาการปวดท้อง เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต...

1458

ฤทธิ์ต้านอักเสบของสาร
ฤทธิ์ต้านอักเสบของสาร triterpenoids และ glycosides จากเปลือกทุเรียนการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสาร triterpenoids และสาร glycoside ซึ่งแยกได้จากเปลือกทุเรียนสุก (Durio zibethinus) ในเซลล์ RAW 264.7 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างสารก่อการอักเสบ nitric oxide (NO) ด้วยสาร lipopolysaccharides พบว่าสารในกลุ่ม triterpenoids เช่น 2α-trans-p-coumaroyloxy-2α,3β,23α-trihydroxy-olean-12-en-28-oic acid, oleanolic acid, 2α-hydroxyursolic acid และ ursolic acid และสารในกลุ่ม glycosi...